วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น

Introduction to Environmental Science and Engineering

1.1 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น โดยเน้นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสภาพสิ่งแวดล้อมและองค์ประกอบของระบบนิเวศทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต
1.2 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในระบบนิเวศในดิน น้ำและอากาศ รวมถึงสาเหตุผลกระทบ วิธีแก้ไขและการป้องกันการเกิดมลพิษทางดิน น้ำและอากาศ
1.3 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในความแตกต่างของพลังงานที่อยู่ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศจากผู้ผลิตอาหารไปสู่ผู้บริโภคลำดับต่างๆ
1.4 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับเสียงและแสง รวมถึงมลภาวะทางเสียงและมลภาวะทางแสง
1.5 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจเบื้องต้นในเทคโนโลยีพื้นฐานและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การผลิตน้ำประปา การบำบัดน้ำเสียและกากตะกอน รวมถึงการจัดการขยะชุมชนและของเสียอันตราย
เพื่อพัฒนาเนื้อหาวิชาให้เหมาะสม ตรงจุดประสงค์และครอบคลุมรายละเอียดทุกเรื่องที่เป็นสาระสำคัญของเนื้อหารายวิชา สามารถเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมและด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย รวมทั้งเพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานและสามารถความรู้ไปใช้ในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศกวรรมสิ่งแวดล้อมขั้นสูงต่อไป และเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์จากกรณีศึกษาที่แตกต่างกันและส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะสภาพสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศที่ประกอบด้วยดิน น้ำ อากาศและพลังงาน รวมถึงการจัดการระบบนิเวศอย่างยั่งยืน แหล่งกำเนิดของมลพิษ ผลกระทบของมลพิษต่อสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์ รวมทั้งวิธีการแก้ไข และป้องกันการเกิดมลพิษ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการให้แก่นักศึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (ในเฉพาะรายที่ต้องการ) โดยนักศึกษาสามารถติดต่อได้ทาง e-mail address ที่ rungnapha@rmutl.ac.th
1) มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
2) เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
3) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1) ในชั่วโมงแรกของการเรียนการสอน ทำการชี้แจงให้นักศึกษาทราบถึงข้อตกลงและบทลงโทษ ในการเข้าเรียนตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด และการใช้เครื่องมือสื่อสารระหว่างการเรียนการสอน
2) ให้นักศึกษาทำงานที่มอบหมายด้วยตัวเองและส่งภายในเวลาที่กำหนด โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ และมีการอ้างอิงแหล่งที่มาโดยไม่มีการคัดลอกหรือแอบอ้างผลงานผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
1) ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
2) ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมของหลักสูตร
3) ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
4) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
5) ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ และความรับผิดชอบของนักศึกษา
1) มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2) สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3) สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
1) บรรยายแบบ Active learning ยกตัวอย่างประกอบและใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยให้นักศึกษาอภิปรายและตอบคำถามในประเด็นที่สำคัญของเนื้อหา
2) การฉายสไลด์ PowerPoint
การสอบกลางภาคเรียนและสอบปลายภาคเรียน
1) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
2) มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3) สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
1) บรรยายแบบ Active learning ยกตัวอย่างประกอบและใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยให้นักศึกษาอภิปรายและตอบคำถามในประเด็นที่สำคัญของเนื้อหา
2) การฉายสไลด์ PowerPoint
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน และประเมินจากการอภิปรายและตอบคำถาม
1) รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมายทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
2) สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
3) สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
1) บรรยายแบบ Active learning ยกตัวอย่างประกอบและใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยให้นักศึกษาอภิปรายและตอบคำถามในประเด็นที่สำคัญของเนื้อหา
2) มอบหมายการทำงานกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา โดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำและเป็นสมาชิกกลุ่ม
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกใน การร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
1) สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
2) มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
3) มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
1) บรรยายแบบ Active learning ยกตัวอย่างประกอบและใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยให้นักศึกษาอภิปรายและตอบคำถามในประเด็นที่สำคัญของเนื้อหา
2) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E-Learning ที่เกี่ยวข้องและทำรายงานโดยเน้นการนำข้อมูลสารสนเทศหรือทางสถิติจากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ
1) ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์ หรือสถิติที่เกี่ยวข้อง
2) ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ รวมถึงการอภิปรายกรณีศึกษาต่างๆ และการนำเสนอต่อชั้นเรียน
1) มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
2) มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1) บรรยายแบบ Active learning ยกตัวอย่างประกอบและใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยให้นักศึกษาอภิปรายและตอบคำถามในประเด็นที่สำคัญของเนื้อหา
2) สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
ประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1) มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 2) เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 3) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1) มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2) สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3) สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ 1) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 2) มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3) สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ 1) รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 2) สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ 3) สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 1) สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้ อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 2) มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 3) มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 1) มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี 2) มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1 ENGEV104 วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านความรู้ คะแนนจากการสอบกลางภาคเรียน และ คะแนนจากการสอบปลายภาคเรียน สัปดาห์ที่ 8 และ สัปดาห์ที่ 17 ร้อยละ 35 และ ร้อยละ 35
2 คุณธรรม จริยธรรม 1) ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม 2) ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมของหลักสูตร 3) ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ 4) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 5) ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ และความรับผิดชอบของนักศึกษา สัปดาห์ที่ 1-1ึ7 ร้อยละ 10
3 1) ทักษะทางปัญญา 2) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 3) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 4) ทักษะพิสัย 1) ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา 2) ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตพฤติกรรมที่แสดง ออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล 3) ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์ หรือสถิติที่เกี่ยวข้อง 4) ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ รวมถึงการอภิปรายกรณี ศึกษาต่างๆ และการนำเสนอต่อชั้นเรียน 5) ประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงาน สัปดาห์ที่ 1-1ึ7 ร้อยละ 20
1. Davis, M. L. and Masten, S. J. Principles of Environmental Engineering and Science. Edition Third ed. McGraw-Hill, USA, 2013.
2. Metcalf and Eddy. Wastewater Engineering: Treatment and Reuse. International Edition Fifth ed. New York: McGraw-Hill Professional Inc, 2013.
3. ปราณี พันธุมสินชัย และศักดิ์ชัย สุริยจันทราทอง. ความรู้พื้นฐานวิชาชีพวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย, 2550.
1. เวปไซต์ http://www.mnre.go.th/ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. เวปไซต์ https://energy.go.th/ กระทรวงพลังงาน
3. เวปไซต์ http://www.pcd.go.th/ กรมควบคุมมลพิษ
4. เวปไซต์ http://www.deqp.go.th/ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
5. เวปไซต์ http://www.dwr.go.th/ กรมทรัพยากรน้ำ
6. เวปไซต์ https://www.rid.go.th/ กรมชลประทาน
7. เวปไซต์ https://www.mwa.co.th/ การประปานครหลวง
8. เวปไซต์ https://www.pwa.co.th/ การประปาส่วนภูมิภาค
9. เวปไซต์ https://anamai.moph.go.th/ กรมอนามัย
1. อุปกรณ์ใช้เพื่อการบรรยาย ได้แก่ คอมพิวเตอร์ เครื่องโปรเจกเตอร์ จอโปรเจกเตอร์ ไมโครโฟนและลำโพง
2. อุปกรณ์ที่ใช้ระหว่างกิจกรรมการเรียน ได้แก่ กระดานไวท์บอร์ด ปากกาเขียนไวท์บอร์ดและแปรงลบกระดานไวท์บอร์ด
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1) การสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มระหว่างผู้สอนและนักศึกษาเป็นรายบุคคลและกลุ่ม
2) นักศึกษากรอกแบบสอบถาม เพื่อประเมินผู้สอนและประเมินรายวิชา
3) ข้อแนะนำผ่านการให้คำปรึกษานอกชั้นเรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ดังนี้
1) จากการสังเกตการณ์พฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนระหว่างการทำกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียนและจากงานที่รับมอบหมาย รวมทั้งความคิดเห็นของผู้เรียน
2) ผลการเรียนและการทำงานของนักศึกษา ทั้งกลางภาคและปลายภาค
3) การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมองและหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
1) ปรับปรุงเนื้อหา รูปแบบการเรียนรู้ และจัดหากิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน
2) การสนับสนุนการวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3) ใช้เทคนิคการเรียนการสอนที่ง่าย และสรุปผลการเรียนรู้ร่วมกันจากกิจกรรมกลุ่มและงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้เกิดการฝึกปฏิบัติทั้งในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษาหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1) การทวนสอบจากคะแนนข้อสอบ โดยการสังเกต สัมภาษณ์ สอบถาม และตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาหรืองานที่ได้รับมอบหมาย
2) การทวนสอบโดยคณะกรรมการทวนสอบ
3) ติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าในการทำงานของนักศึกษาเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
1) ทบทวนเนื้อหาของบทเรียนให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน
2) ปรับปรุงเนื้อหาและรูปแบบกิจกรรมทุกปี เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและให้ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป
3) ปรับปรุงรายวิชาให้สอดคล้องกับสภาวิศวกรในการสอบใบประกอบวิชาชีพวิศวกรสิ่งแวดล้อม