การปรับปรุงพันธุ์พืช

Plant Breeding

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. จำแนก อธิบาย สรุป กำหนดนิยามความรู้หลักการในรายวิชา 2. นำความรู้ ทักษะในรายวิชาไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง และการใช้ชีวิต 3. วิเคราะห์ และจัดระบบความรู้ 4. จำแนก วิเคราะห์ข้อมูล พิสูจน์ เปรียบเทียบ บอกความเปลี่ยนแปลง ตรวจสอบ จำแนกความแตกต่าง
1. ปรับปรุงเนื้อหาเกี่ยวกับรายวิชาโดยเพิ่มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ wed based การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาวิชาซึ่งมีผลจากงานวิจัยใหม่ๆในรายวิชา
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการสืบพันธุ์ของพืช การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แหล่งกำเนิดพืช ขั้นตอนในการปรับปรุงพันธุ์พืช พันธุศาสตร์ที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชผสมตัวเอง วิธีการปรับปรุงพันธุ์พืชผสมตัวเอง พันธุ์ศาสตร์ที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชผสมข้าม วิธีการปรับปรุงพันธุ์พืชผสมข้าม การปรับปรุงพันธุ์ต้านทานโรคเเละแมลง เทคโนโลยีชีวภาพกับการปรับปรุงพันธุ์พืชและการรับรองพันธุ์
1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 4. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม ในชั้นเรียนในโอกาสต่าง ๆ 2. ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ 3. อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง  ให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ  การมีวินัยเรื่องเวลา การเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดง
1. ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน และในโอกาสที่สาขา/คณะจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม การมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโส และอาจารย์    2. การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน และ การส่งรายงาน 3. ประเมินการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยนักศีกษาอื่น ๆ ในรายวิชา 4. นักศึกษาประเมินตนเอง
1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
1. ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยาย ร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม  การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต  เป็นต้น 2. เพิ่มการสอนนอกห้องเรียน โดยศึกษาจากประสบการณ์จริงในเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจ
1. การสอบกลางภาค และสอบปลายภาค 2. ทำรายงานรายบุคคล
1. มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1. การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) 2. ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียน และการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไข
1. ประเมินจากการตอบปัญหาและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ทั้งรายบุคคลและกลุ่ม 2. รายงานกลุ่ม 3. การสอบข้อเขียนกลางภาค และปลายภาค
1.  มีมนุษสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 2.  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. จัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียนที่นักศึกษามีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาอื่นและบุคคลภายนอก 2. มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
1. ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 2. ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานของนักศึกษา 3. ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านความรับผิดชอบ 4. ให้นักศึกษาประเมินนักศึกษาอื่น ๆ ในรายวิชา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง เหมาะสม
1. มีการนำเสนอข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต 2. การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล 3. การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ประเมินทักษะการใช้ภาษาเขียนจากเอกสารรายงาน 2. ประเมินทักษะการใช้สื่อและการใช้ภาษาพูดจากการตอบในชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2 1
1 BSCAG107 การปรับปรุงพันธุ์พืช
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3, 3.1, 5.3 การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 30%
2 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2, 3.5 การสอบกลางภาค 8 20%
3 1.3, 2.1,2.2, 3.1, 3.2, 4.1, 4.3, 5.1, 5.2, 5.3 การสอบปลายภาค 17 20%
4 1.3, 2.3, 3.1, 3.2, 4.3, 5.3, 6.1 บทปฏิบัติการและโครงการปรับปรุงพันธุ์ ตลอดภาคการศึกษา 30%
- กฤษฎา สัมพันธารักษ์. 2544. ปรับปรุงพันธุ์พืช : ความหลากหลายของแนวคิด. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 272 น. - กฤษฎา สัมพันธารักษ์. 2546. ปรับปรุงพันธุ์พืช : พื้นฐาน วิธีการ และแนวคิด. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 237 น. - ศิริพร พงศ์ศุภสมิทธิ์. 2547. การปรับปรุงพันธุ์พืช. นพบุรีการพิมพ์, เชียงใหม่. 253 น. - อรุณี วงศ์ปิยะสถิต. 2550. การกลายพันธุ์ : เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 230 น. - นพพร คล้ายพงษ์พันธุ์. 2551. การปรับปรุงพันธุ์พืชต้านทานแมลง. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 217 น. - วราพงษ์ ชมาฤกษ์. 2559. การปรับปรุงพันธุ์ข้าวด้วยอณูวิธี. กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. กรุงเทพฯ. 234 น. - ชูศักดิ์ จอมพุก. 2562. วิธีวิเคราะห์ทางพันธุศาสตร์ปริมาณในการปรับปรุงพันธุ์พืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 420 น. - ปัทมา หาญนอก. 2562. ไฟล์เอกสารประกอบการสอนวิชา พร410 การปรับปรุงพันธุ์พืชไร่. คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้. แหล่งค้นหา https://sites.google.com/view/pattamahannok - ชเนษฎ์ ม้าลำพอง. 2562. หลักการปรับปรุงพันธุ์พืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 352 น. - สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช. 2563. คู่มือและคำแนะนำ การจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 และ การออกหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน และพันธุ์พืชรับรองตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ. 45 น. - ทวีศักดิ์ ภู่หลำ. 2564. บริหารการปรับปรุงพันธุ์พืช. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 127 น. - พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ และประเสริฐ ฉัตรวชิระวงษ์. 2564. พันธุศาสตร์เชิงปริมาณที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 340 น.
- คณาจารย์ภาควิชาพืชไร่นา. 2547. พืชเศรษฐกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. - คณาจารย์ภาควิชาพืชไร่นา. 2542. พฤกษศาสตร์พืชเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. - ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย. 2559. สรีรวิทยาพืชไร่. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. - พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2553. โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. - ดวงพร สุวรรณกุล และรังสิต สุวรรณเขตนิคม. 2544. วัชพืชในประเทศไทย. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. - สมศิริ แสงโชติ และชลิดา เล็กสมบูรณ์. 2552. คู่มือการวินิจฉัยโรคพืช: โรคพืชที่พบบ่อย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร. - จวงจันทร์ ดวงพัตรา. 2529. การตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดพันธุ์. กรุงเทพฯ : ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. - วันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2542. เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์พืชไร่. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. - สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ https://www.oae.go.th  - สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ https://www.doa.go.th/fcri   - กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ https://www.ricethailand.go.th - สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม http://www.ocsb.go.th - กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ https://www.dft.go.th - กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์  https://www.ditp.go.th - องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก) http://www.mof.or.th   - การยางแห่งประเทศไทย https://www.raot.co.th  - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) https://www.hrdi.or.th - สมาคมพ่อค้าข้าวโพดและพืชพันธุ์ไทย http://www.thaimaizeandproduce.org - สมาคมโรงสีข้าวไทย http://www.thairicemillers.org - สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย http://www.thairiceexporters.or.th   - มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย https://tapiocathai.org - สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย http://thaitapioca.org  - ตลาดไท https://talaadthai.com
ให้นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง
ประเมินโดยสาขาวิชาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน หรือจากการสังเกตการสอนโดยอาจารย์ในสาขาวิชา
สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน นอกจากนี้ควรกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียน-การสอนควรมีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน โดยการสุ่มรายวิชา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินของสาขาวิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอนหลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนา ในรายงานรายวิชา เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุง พร้อมนำเสนอสาขาวิชา / คณะ เพื่อใช้ในการสอนครั้งต่อไป