ฟิสิกส์พื้นฐาน 1

Fundamental Physics 1

1.1 เพื่อให้ทราบและเข้าใจเรื่องเวกเตอร์ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน งานและพลังงาน โมเมนตัมและการชน การเคลื่อนที่ของระบบอนุภาค จุดศูนย์กลางมวล การเคลื่อนที่ของวัตถุแข็งเกร็ง การเคลื่อนที่แบบออสซิเลส กลสาสตร์ของไหล ความร้อนและอุณหพลศาสตร์เบื้องต้น และคลื่นกล
1.2 มีทักษะในการแก้ปัญหาโจทย์ทางวิทยาศาสตร์ ประยุกต์วิชาฟิสิกส์พื้นฐาน 1 กับชีวิตประจำวัน วิชาชีพ หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้
1.3 มีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์โดยใช้ความรู้ทางฟิสิกส์
2.1 ปลูกฝังการคิดอย่างมีระบบและมีเหตุผล
2.2 ส่งเสริมความให้มีความรู้ไปใช้ในวิชาชีพและเป็นพื้นฐานในการศึกษาระดับสูงต่อไป
2.3 สามารถนำความรู้ไปใช้ในวิชาชีพและเป็นพื้นฐานในการศึกษาระดับสูงต่อไป
2.4 สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในชีวิตประจำวัน
ศึกษาเกี่ยวกับเวกเตอร์ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน งานและพลังงาน โมเมนตัมและการชน ระบบอนุภาค จุดศูนย์กลางมวล การเคลื่อนที่ของวัตถุแข็งเกร็ง การเคลื่อนที่แบบออสซิเลต กลศาสตร์ของไหล ความร้อนและอุณหพลศาสตร์เบื้องต้น คลื่นกล

Study of vectors, Newton’s law of motion, work and energy, momentum and collision, systems of particles, center of mass, rigid body motion, oscillatory motion, fluid mechanics, heat and fundamentals of thermodynamics, mechanical waves.
1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
4 เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานในเวลาที่กำหนด
2. นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม ภายใต้การจัดการแบบมีส่วนร่วมของสมาชิก
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2. ประเมินผลจากการทำงานเป็นกลุ่ม ความสัมพันธ์ในกลุ่ม
3. ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา  
2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษาจากแหล่งความรู้ทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ
3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
4 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. บรรยายครอบคลุมเนื้อหาตามคำอธิบายรายวิชา เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับวิชาการ
2. มอบหมายให้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือศึกษาด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ในหลากหลายด้าน
3.กำหนดหัวข้อทางวิชาการให้กับนักศึกษาในการค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ
1. ประเมินผลจากการสอบกลางภาค สอบปลายภาค และสอบย่อย ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี
2. ประเมินจากการทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียนและการบ้าน
3. ประเมินจากงานเดี่ยวที่เป็นการค้นคว้าเกี่ยวกับเทคโนโลยีร่วมสมัยภายใต้กรอบเนื้อหาวิชา ฟิสิกส์พื้นฐาน 1 ที่นักศึกษาไปค้นคว้าและนำเสนอ
1 มีทักษะในการค้นคว้าความรู้มาคิดและใช้อย่างมีหลักการ
2 มีทักษะปฏิบัติในวิเคราะห์ความรู้ที่ได้ค้นคว้ามาเพื่อการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
1. ฝึกทักษะ ตามหัวข้อทางวิชาการให้นักศึกษาได้ปฏิบัติ
2. อธิบายความเชื่อมโยงของความรู้ในวิชาที่ศึกษากับศาสตร์อื่นๆหรือตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยระดมความคิดของนักศึกษาในชั้นเรียน
3. มอบหมายงานให้นักศึกษา ทำแบบฝึกหัด และนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
1. แบบฝึกหัดและการทดสอบย่อย
2. วัดผลจากการประเมินผลงานและการนำเสนอ
1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. มอบหมายงานรายกลุ่ม หรือแบบฝึกหัดให้ทำเป็นกลุ่มภายใต้หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์รอบตัว
2. ให้นำเสนองาน แบบฝึกหัด โดยกำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคน
1. ประเมินจากความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม
2. ประเมินจากการนำเสนองาน
1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 
 
1. มอบหมายงานกลุ่มและนำเสนอ
1. ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่สร้างความน่าสนใจในการนำเสนองาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 5 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 FUNSC105 ฟิสิกส์พื้นฐาน 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.2, 2.4, 3.1 การสอบกลางภาค ปลายภาค 1-15 30%
2 2.2, 2.4, 3.1 การทดสอบย่อย หรือ ทดสอบในชั้นเรียน 1-15 30%
3 3.2, 4.2, 4.3, 5.1, 5.3 งานที่มอบหมาย และ/หรือ แบบฝึกหัดประจำบท 1-15 30%
4 1.2 , 1.3 การประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม 1-15 5%
5 1.2 , 1.3 การประเมินพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ 1-15 5%
1. ยัง, เอช ดี. และ ฟรีดแมน, อาร์ เอ. (2547). ฟิสิกส์ระดับอุดมศึกษา 1 [University Physics with Modern Physics] (ปิยพงษ์ สิทธิคง, ผู้แปลและเรียบเรียง) (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด.
2. เซอร์เวย์, อาร์ เอ. และ เจเวตต์, เจ ดับบิว. (2558). ฟิสิกส์ 1 [Physic for Scientists and Engineers with Modern Physics] (ประธาน บุรณศิริ และคณะ, ผู้แปล; กีรยุทธ์ ศรีนวลจันทร์, ผู้เรียบเรียง). กรุงเทพฯ: เซนเกจ เลินนิ่ง อินโด - ไชน่า จำกัด.
1. Halliday, D., Walker, J., & Resnick, R. (2014). Fundamentals of Physics, Extended (10th ed.). United States of America: John Wiley & Sons.
2. Kamal, A. A. (2011). 1000 Solved Problems in Classical Physics. Berlin, Heidelberg: Springer.
3. Taylor, J. R. (1997). An Introduction to Error Analysis: The Study of Uncertainties in Physical Measurements. (2nd ed.). Sausalito, California: University Science Books.
4. Serway, R. A., & Jewett, J. W. (2014). Physic for Scientists and Engineers with Modern Physics (9th ed.). United States of America: Brooks/Cole.
5. Young, H. D., & Freedman, R. A. (2012). University Physics with Modern Physics (13th ed.). United States of America: Addison-Wesley.
Filter - PhET Simulations (colorado.edu)
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 ผลการประเมินผู้สอนออนไลน์
1.2 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 ติดตามงานที่มอบหมาย
2.3 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
แผนกวิชา ฯ กำหนดให้ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน ดำเนินการดังนี้
3.1 ปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอน ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินผลการสอน
3.2 ประชุมอาจารย์ผู้สอนเพื่อกำหนดแนวทางและวิธีการวัดและประเมินผล
3.3 ประชุมอาจารย์ผู้สอนเพื่อจัดทำและพัฒนาเอกสารประกอบการสอน
แผนกวิชามีระบบทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา โดยการพิจารณาจาก
4.1 มีการให้ข้อมูลผลการเรียนย้อนกลับแก่นักศึกษา เพื่อนำไปพัฒนาการเรียนรู้
4.2 การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน
5.1 ประชุมอาจารย์ผู้สอนเพื่อทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และวางแผนการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชาสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป