การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน

Internal Audit and Internal Control

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง การกำกับดูแลกิจการที่ดี และบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ
 2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง การตรวจสอบภายใน ได้แก่      
2.1 แนวคิดความหมาย วัตถุประสงค์และความสำคัญของการตรวจสอบภายใน      
2.2 มาตรฐานการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน     
2.3 ประเภทของการตรวจสอบภายใน      
2.4 โครงสร้างองค์กรและการบริหารงานตรวจสอบภายใน      
2.5 การวางแผนและวิธีการจัดทำแนวการตรวจสอบภายใน      
2.6 เทคนิคและวิธีการตรวจสอบ     
2.7 การเสนอรายงานการตรวจสอบภายในและการติดตามผล      
2.8 การประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายใน
3. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง การควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยง ตามแนวคิด COSO 
4. เพื่อเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีในการก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบวิชาชีพผู้ตรวจสอบภายใน
พื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาแนวคิด ความหมาย วัตถุประสงค์และความสำคัญของหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีบทบาทและความรับผิดชอบในการกำกับดูแล การตรวจสอบภายในตามมาตรฐานการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายใน บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ ประเภทการตรวจ วัตถุประสงค์และองค์ประกอบของการควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยงตามแนวคิดของ COSO การกำหนดโครงสร้างและการบริหารงานตรวจสอบภายใน การวางแผนและวิธีการจัดทำแนวการตรวจสอบภายใน เทคนิคและวิธีการตรวจสอบเพื่อประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายใน การเสนอรายงานการตรวจสอบภายในและการติดตาม
เนื่องจากผู้สอนมีภาระงานผู้บริหารในตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานตรวจสอบภายใน มทร.ล้านนา เชียงใหม่ ดังนั้น ภาคเรียนที่ 2/2566 นักศึกษาสามารถขอคำแนะนำได้ทุกช่วงเวลาที่มีการสอน หรือติดต่อได้ทางโทรศัพท์ ทางกลุ่มไลน์ ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และทางห้องเรียน MST ได้ตลอดเวลา
 1) มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพ     
 2) สามารถประยุกต์หลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพในการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
 3) แสดงออกถึงความซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวังรอบครอบในการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม 
1) สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ในเนื้อหาวิชาเรียน
2) ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
3) เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละและการทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน
4) การเรียนรู้จากการสอนกรณีศึกษา
1) ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษา เกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพรียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
2) ประเมินการกระทำการทุจริตในการสอบ
3) ประเมินความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4) สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะการปฏิบัติด้านการบัญชี เพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
2) มีความรู้ ความเข้าใจ ในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
3) มีความรู้และความเข้าใจในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศทางบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
4) มีความสามารถในการประยุกต์หลักคณิตศาสตร์และสถิติในการประกอบวิชาชีพ
1) ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฏี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การยกตัวอย่าง การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน การสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณืจำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา
2) มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหชรือโครงการ
3) การเรียนรู้จากสถานการณืจริง จากการฝึกงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรม
4) การบูรณาการการเรียนการสอนกับริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัย โดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับนักศึกษา
1) ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค     2) รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ    
3) ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง หรือสถานการณ์จริง    
4) ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ    
5) ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา    
6) ประเมินจากการนำเสนอผลงาน    
7) ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า การตอบแชทในห้องออนไลน์  
1) มีทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ การประยุกต์ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม   2) มีความสามารถในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม  3) มีความสามารถในการเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชีและศาสตร์อื่นี่เกี่ยวข้อง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก  4) มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงานทางบัญชีในเรื่องที่ทีความสำคัญต่อองค์กร และสามารถแสดงความคิดเห็นหรือแนวทางการแก้ไขปัญหา
1) ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง    2) จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์ด้านต่างๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา    3) สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้ารายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น 4) การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัย โดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับนักศึกษา
1) ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย  2) ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักาะทางปัญญาและแต่ละรายวิชา 3) ประเมินตากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น    4) การถ่ายทอดบทเรียนผลการเรียนรู้ที่ได้จากการบูรณาการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัยโดยถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการ ผ่านการสะท้อนความคิดของนัศึกษา หรือการเขียนรายงานจากประสบการณ์หรือวิธีการอื่น ๆ
 
1) มีความอดทน ความรับผิดชอบ ทักษะทางสังคม และจิตสาธารณะ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ต่าง ๆ วัฒนธรรมองค์กร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น  2) มีหลักคิดและวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ สามารถทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ  3) มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพนักบัญชี
1) มอบหมายงานให้ทำร่วมกันเป็นทีม เช่น การทำโครงงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา การค้นคว้าอิสระ การทำวิจัย การจัดนิทรรศการ เป็นต้น โดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกทีม การผลัดกันเป้นผู้นำ    2) มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความเห็น 3) ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่าง ๆ    4) การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัย โดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับนักศึกษา
1) ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน     2) ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน 3)  สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน    4) การถ่ายทอดบทเรียนผลการเรียนรู้ที่ได้จากการบูรณาการการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัยโดยถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการ ผ่านการสะท้อนความคิดของนักศึกษา หรือการเขียนรายงานจากประสบการณ์ หรือวิธีการอื่น ๆ    
1) มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมทั้งการใช้ความรู้ความสามารถเชิงเทคนิคในการวางแผน การควบคุม การประเมินผล การรายงานผล ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ 2) มีความสามารในการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจดทัลที่มีในปัจจุบัน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านวิชาชีพบัญชีให้มีประสิทธิภาพ 3) มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน โดยเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับสถานการณ์   
1) มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข    2) มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเมศ 3) ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบรายงาน มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์   4) การบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัย โดยกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังกับนักศึกษา   
1) ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องเชิงสถิติและคณิตศาสตร์   2) ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มอบหมายและนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม 3) ประเมินจากการสอบข้อเขียน  4) ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม 
5) การถ่ายทอดบทเรียนผลการเรียนรู้ที่ได้จากการบูรณาการบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัยโดยถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการ ผ่านการสะท้อนความคิดของนักศึกษา หรือการเรียนรายงานถอดประสบการณ์ หรือวิธีการอื่น ๆ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 สอบกลางภาค และปลายภาค 9 และ 18 40 % และ 30 %
2 1 , 2 , 3 , 4 , 5 กรณีศึกษา ทุกสัปดาห์ 10 %
3 2 , 3 , 4 , 5 การมอบหมายงานให้ทำส่งตามเวลา การนำส่งงาน และการนำเสนอหน้าห้องเรียน 10 %
4 1 , 4 สังเกตพฤติกรรม ทุกสัปดาห์ 10 %
แนวทางการตรวจสอบภายใน ฉบับนักศึกษา.สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย.กรุงเทพฯ: บริษัท ทรงสิทธิวรรณ จำกัด.  
2.1 สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย.มาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายใน
2.2 บทความในวารสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการตรวจสอบและการควบคุมภายใน การกำกับดูแลกิจการ ที่เผยแพร่ในเว๊บไซด์ ขององค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
1. รายงานผลการปฏิบัติประจำปีงานตรวจสอบภายใน
2. รายงานผลการตรวจสอบภายใน
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้  1.การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  
2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้  2.1 การสังเกตการณ์สอนของอาจารย์ในรายวิชาที่เปิดสอน 
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา  
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้  
 
จากการฝึกทำแผนการตรวจสอบภายใน และเพิ่มเติมเกณฑ์การประเมินความเสี่ยง โดยใช้หลักการทางสถิติเข้ามาช่วยในการจัดลำดับความเสี่ยง ให้ข้อมูลเพิ่มเติมกรณีได้รับนโยบายจากผู้บริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ และจากผู้บริหารของหน่วยรับตรวจ
ระหว่างกระบวนการสอน มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จาก      1. การสอบถามนักศึกษา หรือ การสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา      
     2. รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และ      
     3. หลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้              
         - การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ในสาขาการบัญชี
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้     
 - ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4