พลเมืองดิจิทัล

Digital Citizenship

ศึกษาเกี่ยวกับความหมาย คุณลักษณะของพลเมืองดิจิทัลที่ดี ความรู้ดิจิทัล การสื่อสารในสังคมดิจิทัล อัตลักษณ์และตัวตน ความเป็นส่วนตัวและปลอดภัย การกลั่นแกล้งบนสื่อดิจิทัล มารยาทและวิจารณญาณบนสื่อดิจิทัล สิทธิ กฎหมายและจริยธรรมสำหรับดิจิทัล การรู้เท่าทันสื่อ ทักษะและองค์ประกอบการวิเคราะห์สื่อ เพื่อการรู้เท่าทัน และการเป็นผู้ประกอบการในโลกดิจิทัล
-
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ม่ีจิสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
4. เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังใหันักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบข้อมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ผู้สอนต้องสอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในทุกรายวิชา และส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสารธารณะ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการให้บริการวิขรการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
ประเมินผลจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาและการปฏิบัติตนในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. การตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา ที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
2. ความมีวินัยและความใส่ใจของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
3. ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษา ประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนี้
1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฎิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2. สามารถติดตามความก้าวหน้า ใฝ่รู่้ ทางวิชาการและเทคโนโลยี
3. สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติ ในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้
1. การทดสอบย่อย
2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
3. รายงานที่นักศึกษาจัดทำ
4. งานที่ได้รับมอบหมาย
5. กาานำเสนอรายงานในชั้นเรียน
6. แฟ้มสะสมงาน
นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนี้้น นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญา พร้อมกับุคณธรรม และจริยธรรม โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดลแะวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าว ดังนี้
1. ม่มักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ และมีความคิดริเริ่มสร้า่งสรรค์ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แะการบูรณาการเรียนการสอนกับการทำงาน มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จำลอง และกรณ๊ศึกษา เพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฎิบัติของนักศึกษา เช่น
1. บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
2. การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาในบริบทต่าง ๆ
3. การนำเสนอรายงานในชั้นเรือน
4. การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
ทักษะที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนา มีดังนี้
1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
3. สามารภทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
การวัดและประเมินผลทำได้โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงานกิจกรรมกล่มทั้งในและนอกชั้นเรียน และผลสะท้อนกลับจากการฝึกประสบการณ์ต่าง ๆ 
ดำเนินการสอนโดยการกำหนดกิจกรรมกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น หรือค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในงานอาชีพ โดยมีความคิดหวังในผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความสามารถในตการรับผิดชอบ ดังนี้
1.สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
2.มีคความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
3.สามารรถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรได้เป็นอย่างดี
4.มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
5.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
6.มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของบุคคลที่ติดต่อสื่อสารด้วย และสามารถวางตนได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ ขบนธรรมเนียนและแนวทางปฏิบัติของแต่ละวัฒนธรรม
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น 
1. พฤติกรรมและการแสดงคออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
2. พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ 
ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชา โดยนักศึกษาต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
 1. เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
2. สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
3. ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างปาะเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรม Active learning ที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนองผลงานการค้นคว้า โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
1. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
2. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล
3. ใช้เทโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน
4. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมแต่ละกลุ่ม
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้
 1. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร
2. วามสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
3. วามสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
4. จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
สามารถใช้ทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ในการสร้างสรรค์ผลงาน
ใช้วิธีการสอนด้วยการคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงานการใช้กรณีศึกษา โครงงาน และศิลปนิพนธ์ สาร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทำแบบฝึกหัด ใบงาน และการทำงานเป็นกลุ่ม ตลอดปีการศึกษา 40
2 นำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย สัปดาห์ที่ 15 และ 16 10
3 สอบกลางภาคเรียน สัปดาห์ที่ 8 20
4 สอบปลายภาคเรียน สัปดาห์ที่ 17 20
5 การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย พฤติกรรมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
แบบประเมินผู้สอน จัดทำโดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แบบประเมินศักยภาพผู้เรียนรายบุคคล ข้อเสนอแนะผ่านอินเทอร์เน็ต  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องการสื่อสารกับนักศึกษา 
การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมการสอน ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลักจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2  จึงมีการปรับปรุงการสอน  โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง  และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ สัมมนาการจัดการเรียนการสอน วิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา  มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ  ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา  ได้จาก  การสอบถามนักศึกษา  หรือสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา  รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย  และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา  มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่นหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ  รายงาน  วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน  และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน  และรายละเอียดรายวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ ปรับปรุงรายวิชาทุกภาคการเรียนหรือตามข้อเสนอแนะและผลทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน  เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้