ความปลอดภัยทางวิศวกรรมไฟฟ้า

Electrical Engineering Safety

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานทางด้านคุณสมบัติของมาตรฐานไฟฟ้าและความปลอดภัยเป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญา ในการนาความรู้ ความเข้าใจในหลักการและ ทฤษฎี เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ผู้สอนควรมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงเนื้อหารายวิชา แหล่งค้นคว้าข้อมูล ตัวอย่างผลงานและกรณีศึกษา ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ แนวโน้มด้านเทคโนโลยี และความต้องการของตลาดผู้บริโภคตามยุคสมัย
ศาสตร์และการพัฒนาทางมาตรฐานไฟฟ้าและความปลอดภัยมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงและมีหัวข้อศึกษาที่น่าสนใจที่ทันสมัยเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความรู้ของนักศึกษาบางหัวข้ออาจไม่ถูกจัดในวิชาใดวิชาหนึ่งของหลักสูตรวิชามาตรฐานไฟฟ้าและความปลอดภัย ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเสริมเพิ่มและเติมเต็มความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับมาตรฐานไฟฟ้าและความปลอดภัย ทั้งด้านศาสตร์ทางวิชาการมาตรฐานไฟฟ้าและความปลอดภัยที่กาลังเป็นที่สนใจเพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีความรู้และใส่ใจเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและยังเป็นวิชาที่จะพัฒนาทักษะด้านมาตรฐานไฟฟ้าและความปลอดภัยให้แก่นักศึกษา
ศึกษาเกี่ยวกับ นโยบาย กฎหมายและมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางวิศวกรรมไฟฟ้า อันตรายจากไฟฟ้า สาเหตุและการบาดเจ็บจากไฟฟ้า ไฟฟ้าดูด แรงดันย่างก้าวและแรงดันสัมผัส การปล่อยประจุไฟฟ้าสถิตย์ ประกายไฟจากอาร์ก  การแยกโดดทางไฟฟ้า การต่อลงดิน การต่อเชื่อม มาตรการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าและอุปกรณ์ป้องกันวงจร การทดสอบ การตรวจสอบและบำรุงรักษาด้านความปลอดภัยทางไฟฟ้า ข้อแนะนำในการปฏิบัติงานกับระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำและแรงดันสูงเพื่อความปลอดภัย
1 ชั่วโมง
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดาเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชาต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้ 1.1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.1) 1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2, ·) 1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3) 1.1.4 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ   และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.5)
1.2 วิธีการสอน
1.2.1 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม 1.2.2 สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม 1.2.3 เน้นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และสังคม ทั้งในบทบาทของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม 1.2.4 ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด 1.2.5 เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย 1.2.6 ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม 1.2.7 ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1 ประเมินจากการมีระเบียบวินัย การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3) 1.3.2 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2) 1.3.3 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายทั้งเดี่ยว และกลุ่ม (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3) 1.3.4 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3)
มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.4)
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
นักศึกษาด้องมีความรู้เกี่ยวกับสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า มีคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษานั้นต้องเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้ 2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1) 2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.2, ·) 2.1.3 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.4)
2.2 วิธีการสอน
2.2.1 บรรยาย (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1, 2.2, 3.1, 5.2, 5.3) 2.2.2 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (2.1, 2.2, 3.1, 3.2, 4.1, 4.2, 4.3, 5.1, 5.2, 5.3, 6.1) 2.2.3 มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดของแต่ละบท (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 5.2, 5.3)
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1 ทดสอบย่อยของแต่ละหน่วยเรียน (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 5.2, 5.3) 2.3.2 ประเมินจากการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 4.1, 4.2, 4.3, 5.2, 5.3) 2.3.3 สอบกลางภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยทางวิศวกรรมไฟฟ้า (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 5.2, 5.3) 2.3.4 สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยทางวิศวกรรมไฟฟ้า (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 5.2, 5.3) 2.3.5 ประเมินจากการทำแบบฝึกหัด และการทำรายงาน (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 4.3, 5.2, 5.3) 2.3.6 ประเมินจากการตรวจความถูกต้องของเนื้อหาและขั้นตอนการทดลองของใบงานการทดลอง (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 4.3, 5.2, 5.3, 6.1)
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้ว ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ในการสอนอาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้ 3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.2) 3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ 3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2 วิธีการสอน
3.2.1 มอบหมายการเตรียมตัวในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 3.2.2 การมอบหมายงาน/การบ้านที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ 3.2.3 การมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร/กลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชา 3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1 สอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการเข้าใจหลักการและการคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของหม้อแปลงไฟฟ้า และเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรง บรูณาการองค์ความรู้เนื้อหาของรายวิชาเครื่องจักรกลไฟฟ้า 1 (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1, 3.2) 3.3.2 ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1, 3.2) 3.3.3 ประเมินผลจากการทำงาน การบ้าน รายงาน การนำเสนอผลงาน (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1, 3.2) 3.3.4 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1, 3.2)
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่นๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่างๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างสอน หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ นี้ 4.1.1      สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.1) 4.1.2      สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.2) 4.1.3      รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.4)
4.2 วิธีการสอน
4.2.1 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าเนื้อหาวิชาในส่วนของการวิเคราะห์วงจรด้วยโปรแกรมจำลองการทำงานของเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรงหรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา 4.2.2 มอบหมายให้มีการศึกษา ค้นคว้าเนื้อหาเพื่อร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
4.3 วิธีการประเมินผล
4.3.1 ผลจากการประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.1, 4.2, 4.3) 4.3.2 ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.1, 4.2, 4.3)
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1    มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.1) 5.1.2    มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติ ประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.2) 5.1.3    สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.3)
5.2 วิธีการสอน
ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้ 5.2.1 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร 5.2.2 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล 5.2.3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนาเสนอผลงาน 5.2.4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมแต่ละกลุ่ม
5.3 วิธีการประเมินผล
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้ 5.3.1 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.1, 5.2, 5.3) 5.3.2 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.2) 5.3.3 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.1, 5.2, 5.3) 5.3.4 จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.1, 5.3)
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเองและความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตวิศวกรรมไฟฟ้า ดังนั้น ในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ดังข้อต่อไปนี้ 6.1.1      มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1, ·) 6.1.2      มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
6.2 วิธีการสอน
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชา ต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้ 6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน การประกอบ การวัดและทดสอบวงจรในการปฏิบัติการทดลอง 6.2.2 สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ 6.2.3 สนับสนุนการการทำโครงงานในรายวิชาในรูปแบบของ Term Project ในรูปแบบงานกลุ่ม
6.3 วิธีการประเมินผล
6.3.1 มีการประเมินทักษะด้านต่างๆ ในการปฏิบัติการทดลอง (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1) 6.3.2 มีการประเมินผลการปฏิบัติการในใบงานการทดลอง โดยมีการเตรียมการทดลอง การประกอบวงจร การเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐาน การวัดและทดสอบวงจรและสรุปผลการทดลอง ตามที่ระบุในแต่ละใบงานการทดลอง (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1) 6.3.3 มีการประเมินโครงงานในรายวิชาในรูปแบบของ Term Project ในรูปแบบงานกลุ่ม (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1, 6.2)
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะ การวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGEE143 ความปลอดภัยทางวิศวกรรมไฟฟ้า
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2 เช็คชื่อเข้าเรียน, การส่งงานตรงเวลา ตลอดภาคเรียน 10%
2 2.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 5,9,15,18 40%
3 3.2, 5.5 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 50%
1. มาตรฐานในการบริหารและการจัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พศ.2558
เอกสารประกอบการสอน วิชาความปลอดภัยทางวิศวกรรมไฟฟ้า
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ