ศึกษาดูงานอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ดิจิทัลและบรรจุภัณฑ์

Technical Visit on Printing and Packaging Industry

เพื่อให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ด้านการออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล ตลอดจนบรรจุภัณฑ์อย่างถูกต้องมากขึ้น โดยศึกษาดูงานในสถานประกอบการ ระดับภูมิภาค และโรงงานอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ในส่วนกลาง 
เสริมสร้างประสบการณ์ด้านการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลของนักศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยศึกษาดูงานในสถานประกอบการและโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ด้านการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง หรือตามที่นักศึกษานัดหมาย โดยจะมีการประกาศให้ทุกคนทราบ และกำหนดวัน เวลา ให้ชัดเจน
1.1.1 ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.2 มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
1.1.3 มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรม ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชาสอนให้มี ระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม
ประเมินจากแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ในทุกวิชา ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
2.1.1 รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
2.1.2 มีความสามารถในการค้นคว้า แก้ปัญหา และพัฒนาด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ
2.1.3 มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม
2.1.4 มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา
ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ  โดยเน้นหลักการประยุกต์ทฤษฎีใช้ในการปฏิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของ รายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดย การเรียนรู้ ศึกษานอกสถานที่ การเข้าอบรมฟังบรรยายแบบออนไลน์ 
2.3.1 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
 
3.1.1 สามารถค้นคว้า รวบรวม และประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ
3.1.2 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.3 สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่น เพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้
3.1.4 มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
ใช้กรณีศึกษาการมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปข้อมูล การนำเสนองาน โดยการอภิปรายเดี่ยว หรือกลุ่มร่วมแสดงความคิดเห็น
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน การปฏิบัติงานของนักศึกษา และการนำเสนองาน
4.1.1 มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
4.1.2 มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง  และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3 สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกัน ทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม การเคารพสิทธิและการยอมรับ ความคิดเห็นของผู้อื่น การประสานงานกับบุคคลภายนอก การแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์ งานของผู้อื่น
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงาน กลุ่มในชั้นเรียน และประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
5.1.1 สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียน ในการสื่อสารโดยทั่วไปตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.2 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.3 มีความสามารถในการประยุกต์ในความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยี สารสนเทศ ให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูลการนำเสนอที่เหมาะสมกับสภาพของผู้สื่อสาร
ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข การเลือกใช้เครื่องมือ ทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม ประเมินจากการอธิบาย การนำเสนอ
6.1.1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
6.1.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
6.1.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
 ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษา สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ุ6 ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BAADP118 ศึกษาดูงานอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ดิจิทัลและบรรจุภัณฑ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 เขียนโครงการศึกษาดูงาน รายงาน และการดำเนินการ 13 50
2 งานปฏิบัติ ผลงาน ตลอดภาคการศึกษา 20
3 ศึกษาดูงาน นำเสนอโครงการ การจัดทำรายงาน และการถ่ายทอดประสบการณ์ 13,14,17 20
4 จิตพิสัย ความรับผิดชอบ เอาใจใส่ การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วม ตลอดภาคการศึกษา 10
การเขียนโครงการศึกษาดูงาน ความรู้ด้านงานประกันคุณภาพการศึกษา  https://www.facebook.com/402042489939913/posts/410955472381948/ การทำงานเป็นทีม  https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190509-team-work/ สมาคมการพิมพ์ไทย  https://www.thaiprint.org/ สมาคมบรรจุภัณฑ์ไทย  https://www.thaipack.or.th/?lang=th รายชื่อโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์สินสาคร เฟส 1   http://thailandindustry.blogspot.com/2012/09/blog-post_132.html
ฐานข้อมูลรายชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรติดต่อ ของสถานประกอบการธุรกิจสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ จากสูจิบัตรสมาคมสิ่งพิมพ์ภาคเหนือ ฐานข้อมูลการประเมินสถานประกอบการ จากคู่มือการนิเทศนักศึกษาฝึกงาน ประจำปีการศึกษา 2564-2566
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1   การปรับเนื้อหาและเทคนิคการสอน
3.2   การกำหนดโจทย์ในการฝึกปฏิบัติ
3.2   การนำเกณฑ์การวัดผลสมรรถนะวิชาชีพมาปรับใช้ในการวัดผลภาคปฏิบัติ
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
4.2   มีการตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรมโดยคณะกรรมการในสาขาวิชา 
5.1   ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน ให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับวัตถุประสงค์รายวิชา
5.2   พิจารณาการนำเกณฑ์การประเมินมาตรฐานวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์ในแต่ละด้านมาใช้ในการวัดผลการสอบทักษะ
5.3   ปรับปรุงรายวิชาทุก  1 ปี หรือตามข้อเสนอแนะ
5.4   ปรับกระบวนการสอบวัดผล เพื่อให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ
5.5  เปลี่ยนอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้มีแนวทางการสอน หรือ สอบ ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับรายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง