การควบคุมคุณภาพ

Quality Control

เพื่อที่ต้องการให้ผู้ที่ศึกษาวิชานี้ได้เรียนรู้ถึงหลักการศึกษาควบคุมคุณภาพในระบบการผลิต การบริการสามารถ เลือกใช้เครื่องมือในการควบคุมคุณภาพทั้ง 7 อย่างได้อย่างเหมาะสม เช่น แผนภูมิพาเรโต แผนภูมิก้างปลา แผนการควบคุมคุณภาพ ฯลฯ ศึกษาการสร้างแผนการควบคุมคุณภาพ กำหนดแผนการสุ่มตัวอย่าง เพื่อสร้างมาตรฐานคุณภาพให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เทคนิคในการะดมสมอง และการดำเนินกิจกรรมกลุ่มสร้างคุณภาพ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการมีระบบคุณภาพ ความเชื่อถือได้และการประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังปลูกฝังให้นักศึกษามีเจตนคติที่ดีแก่วิชาการควบคุมคุณภาพ
เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ ที่เป็นวิชาพื้นฐานเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับรายวิชาต่าง ๆ ที่ต้องใช้การควบคุมคุณภาพในการนำไปใช้งาน จึงจำเป็นต้องปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น
      ศึกษาเกี่ยวกับหลักในการควบคุมคุณภาพในระบบการผลิต การบริการสามารถ เลือกใช้เครื่องมือในการควบคุมคุณภาพทั้ง 7 อย่างได้อย่างเหมาะสม เช่น แผนภูมิพาเรโต แผนภูมิก้างปลา แผนการควบคุมคุณภาพ ฯลฯ ศึกษาการสร้างแผนการควบคุมคุณภาพ กำหนดแผนการสุ่มตัวอย่าง เพื่อสร้างมาตรฐานคุณภาพให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เทคนิคในการะดมสมอง และการดำเนินกิจกรรมกลุ่มสร้างคุณภาพ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการมีระบบคุณภาพ ความเชื่อถือได้และการประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาโดยการติดป้ายประกาศ
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนาส่งเสริมให้นักศึกษามีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม ส่งเสริมให้นักศึกษามีการพพัฒนาจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพโดยการสอดแทรกจรรยาบรรณวิชาชีพตลอดระยะเวลาในการเรียนการสอน
          กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย สอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมตลอดระเวลาที่ดำเนินการสอน ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการบริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
1. ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา การทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3. ประเมินจากงานที่มอบหมายให้นักศึกษา เช่น การทำรายงาน การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล ไม่ลอกงานเพื่อน
4. ประเมินผลพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน    และการสอบ เช่น การแต่งกายที่ถูกระเบียบ  การมีสัมมนาคารวะต่อผู้ใหญ่  การทุจริตในการสอบ
5. ประเมินจากการรับฟังคิดเห็นร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน
6. ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรม
1. แบบประเมินพฤติกรรม
2. แบบประเมินความพึงพอใจ   ในการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้
3. แบบประเมินการนำเสนอ
4. แบบบันทึกสะท้อนคิดของนักศึกษา
5. แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม
6. แบบประเมินผลงานที่มอบหมาย
ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ที่นักศึกษาต้องได้รับในรายวิชาการควบคุมคุณภาพ ครอบคลุมตามจุดมุ่งหมายรายวิชา ประกอบไปด้วยความรู้และความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการแผนภูมิพาเรโต แผนภูมิก้างปลา แผนการควบคุมคุณภาพ ฯลฯ ศึกษาการสร้างแผนการควบคุมคุณภาพ กำหนดแผนการสุ่มตัวอย่าง เพื่อสร้างมาตรฐานคุณภาพให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เทคนิคในการะดมสมอง และการดำเนินกิจกรรมกลุ่มสร้างคุณภาพ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการมีระบบคุณภาพ ความเชื่อถือได้และการประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
          กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้ ประกอบด้วยการบรรยาย  การอภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้การเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research - Based Learning) ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. ประเมินจากการตอบข้อซักถามการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2. ประเมินจากการทำแบบฝึกหัด
3. ประเมินจากรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
4. ประเมินความรู้จากการสอบกลางภาค สอบปลายภาค และการทดสอบหลังเรียน
5. ประเมินจากผลของการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research - Based Learning)
1. แบบทดสอบหลังเรียน
2. แบบทดสอบกลางภาค
3. แบบทดสอบปลายภาค
4. แบบบันทึกสะท้อนคิดของนักศึกษา
5. แบบทดสอบเป็นคำถามปลายเปิดเพื่อทดสอบความรู้
6. แบบประเมินการนำเสนอ
7. แบบประเมินผลการคิดที่เป็นระบบที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน
8. แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้เมื่อจบการศึกษา โดยเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเองเป็นสำคัญ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือองค์ความรู้ต่อยอดจากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
          กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา ประกอบด้วยการทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้การเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research - Based Learning) ในหัวข้อ "การออกแบบการทดลองและการควบคุมคุณภาพ"
1. ประเมินจากการตอบข้อซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2. ประเมินจากแบบฝึกหัด รายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3. ประเมินจากการสอบกลางภาค สอบปลายภาค และการทดสอบหลังเรียน
4. ประเมินจากผลของการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research - Based Learning)
1. ประเมินจากการตอบข้อซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2. ประเมินจากแบบฝึกหัด รายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3. ประเมินจากการสอบกลางภาค สอบปลายภาค และการทดสอบหลังเรียน
4. ประเมินจากผลของการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research - Based Learning)
ผลการเรียนรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบส่งเสริมให้นักศึกษา ได้รับการฝึกประสบการณ์ในการปรับตัวให้เข้ากับบุคคลและกลุ่มบุคคลต่าง ๆ เช่น การวางตัว มารยาทในการเข้าสังคม สภาวะผู้นำและผู้ตาม การทำงานเป็นทีม
 

7

          กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ประกอบด้วยการมอบหมายงานในการทำงานเป็นทีม  การนำเสนอรายงาน การทีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน การศึกษาโดยใช้การเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research - Based Learning) และการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem - Based Learning)
 
1. ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
2. ประเมินจากการนำเสนอและอภิปรายกลุ่ม การตอบข้อซักถาม
 
3. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
4. ประเมินความรับผิดชอบงานกลุ่ม การส่งงานตามเวลา
การช่วยเหลือในการทำงาน
5. ประเมินตนเอง และเพื่อน
6. ประเมินจากผลการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem -
Based Learning)
7. ประเมินจากการจัดสัมมนา 2 ครั้ง ในสัปดาห์ที่ 8 และสัปดาห์ที่ 16 ตามหัวข้องานวิจัยจากการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
โดยให้นักศึกษาร่วมกันดำเนินการจัดสัมมนาด้วยตนเอง
1. แบบประเมินรายงานการวิเคราะห์สถานการณ์
2. แบบประเมินการนำเสนอ
 
 

7

3. แบบบันทึกสะท้อนคิดของนักศึกษา
4. แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม
5. แบบประเมินการมีส่วนร่วมกิจกรรมการเรียนรู้
6. แบบประเมินตนเอง และเพื่อน
7. แบบประเมินผลการประชุมสัมมนา
 
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้และทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
 
          กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยการกำหนดกิจกรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล การวิเคราะห์เชิงตัวเลข และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเทคนิคเฉพาะทางช่างอุตสาหกรรม และการจัดสัมมนา
1. ประเมินจากแบบฝึกหัด
2. ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3. ประเมินทักษะการใช้ภาษาจาก
เอกสาร การรายงานและงาน
มอบหมาย
4. ประเมินทักษะการใช้สื่อ การใช้ภาษา จากการแสดงความ
คิดเห็น
5. ประเมินจากคุณภาพของข้อมูลที่ใช้ประกอบในรายงาน
6. ประเมินจากงานวิจัยภาษาอังกฤษที่มอบหมายให้สืบค้น โดย
การอ่าน (Reading) แล้วให้เขียน (Writing) สรุปกลุ่มคำสำคัญทำเป็น Mind Map (เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจศัพท์เทคนิคเฉพาะทาง สามารถจัดกลุ่มความเชื่อมโยงของศัพท์เฉพาะทางได้)
1. แบบประเมินรายงานการวิเคราะห์สถานการณ์
2. แบบประเมินการนำเสนอ
3. แบบบันทึกสะท้อนคิดของ
นักศึกษา
4. แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม
5. แบบประเมินการใช้ภาษาอังกฤษเทคนิค
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4.ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 3 1 2 3 1 2 3 1 2 4 1 2 3
1 TEDIE907 การควบคุมคุณภาพ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3(หลัก), 1.2 (รอง), 1.1(รอง) ประเมินจาก - การตรงต่อเวลา - ความรับผิดชอบ - การมีวินัย - การเข้าร่วมกิจกรรม - พฤติกรรมที่แสดงออก ทุกสัปดาห์ 10%
2 2.1(หลัก), 2.2(รอง), 2.3 (รอง) 5.1(หลัก), 5.2(หลัก), 5.3(รอง) 1. ประเมินจาก - รายงานและคุณภาพของข้อมูลที่รายงาน - การนำเสนอ - การอภิปราย - การตอบข้อซักถามและทำแบบฝึกหัด - การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน - ทักษะการใช้ภาษา - ทักษะการใช้สื่อและเทคโนโลยี 2. ประเมินจากการทดสอบหลังเรียน 3. ประเมินจากการสอบกลางภาค 4. ประเมินจากการสอบปลายภาค 5. ประเมินจากการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ทุกสัปดาห์ ทุกสัปดาห์ สัปดาห์ที่ 9 สัปดาห์ที่ 17 ทุกสัปดาห์ 5% 10% 30% 30% 5%
3 4.1(รอง), 4.2(รอง) 4.3(รอง), 4.4(รอง) 1. ประเมินจาก - การทำงานเป็นทีม - ตนเองและเพื่อน - ความรับผิดชอบงานกลุ่ม - การจัดสัมมนา 2. ประเมินจากผลการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ทุกสัปดาห์ สัปดาห์ที่ 6-7 และ สัปดาห์ที่ 12-13 5% 5%
สุรพงศ์ บางพาน (2563). การควบคุมคุณภาพ(ฉบับปรับปรุง). เชียงใหม่ : ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ตำราหรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพ เช่น
          Abraham, B. and Ledolter, J. (1983). Statistical Methods for Forecasting, Wiley, New                   York, NY.
          Army Chemical Corps (1953). Master Sampling Plans for Single, Duplicate, Double                and Multiple Sampling, Manual No. 2.
          Bissell, A. F. (1990). "How Reliable is Your Capability Index?", Applied Statistics, 39,             331-340.
          Box, G. E. P., Jenkins, G. M., and Reinsel, G. C. (1994). Time Series Analysis,         Forecasting               and Control, 3rd ed. Prentice Hall, Englewood Clifs, NJ.
          Box, G. E. P. and McGregor, J. F. (1974). "The Analysis of Closed-Loop Dynamic                             Stochastic Systems", Technometrics, Vol. 16-3.
          Brockwell, Peter J. and Davis, Richard A. (1987). Time Series: Theory and Methods,            Springer-Verlag.
          Brockwell, Peter J. and Davis, Richard A. (2002). Introduction to Time Series and                           Forecasting, 2nd. ed., Springer-Verlag.
          Champ, C.W., and Woodall, W.H. (1987). "Exact Results for Shewhart Control Charts                     with Supplementary Runs Rules", Technometrics, 29, 393-399.
          Chatfield, C. (1996). The Analysis of Time Series, 5th ed., Chapman & Hall, New York,                    NY.
          DeLurgio, S. A. (1998). Forecasting Principles and Applications, Irwin McGraw-Hill,                        Boston, MA.
          Duncan, A. J. (1986). Quality Control and Industrial Statistics, 5th ed., Irwin,                        Homewood, IL.
 
 
          Hotelling, H. (1947). Multivariate Quality Control. In C. Eisenhart, M. W. Hastay, and W.                           A. Wallis, eds. Techniques of Statistical Analysis. New York: McGraw-                      Hill.
          Johnson, R. A. and Wichern, D. W. (1998). Applied Multivariate Statistical Analysis,                         Fourth Ed., Prentice Hall, Upper Saddle River, NJ.
          Juran, J. M. (1997). "Early SQC: A Historical Supplement", Quality Progress, 30(9) 73-81.
          Kotz, S. and Johnson, N. L. (1992). Process Capability Indices, Chapman & Hall,                            London.
          Ljung, G. and Box, G. (1978). "On a Measure of Lack of Fit in Time Series Models",                               Biometrika, 65, 297-303.
          Lowry, C. A., Woodall, W. H., Champ, C. W., and Rigdon, S. E. (1992). "A Multivariate                     Exponentially Weighted Moving Average Chart", Technometrics, 34, 46-53.
          Lucas, J. M. and Saccucci, M. S. (1990). "Exponentially weighted moving average                              control schemes: Properties and enhancements", Technometrics 32, 1-29.
          Makradakis, S., Wheelwright, S. C. and McGhee, V. E. (1983). Forecasting: Methods                      and Applications, 2nd ed., Wiley, New York, NY.
          Montgomery, D. C. (2000). Introduction to Statistical Quality Control, 4th ed., Wiley,                     New York, NY.
          Ryan, T.P. (2000). Statistical Methods for Quality Improvement, 2nd ed., Wiley, New                    York, NY.
          Ryan, T. P. and Schwertman, N. C. (1997). "Optimal limits for attributes control charts",                Journal of Quality Technology, 29 (1), 86-98.
          Schilling, E. G. (1982). Acceptance Sampling in Quality Control, Marcel Dekker, New              York, NY.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ