การเขียนโปรแกรมสำหรับวิศวกรคอมพิวเตอร์

Computer Programming for Computer Engineer

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะเกี่ยวกับหลักการเขียนโปรแกรมเชิงลึกเกี่ยวกับ พอยน์เตอร์ และอาเรย์ การจองหน่วยความจำ ไฟล์อินพุต-เอาต์พุต ฟังก์ชันเรียกตัวเอง การเขียนและออกแบบโปรแกรมเชิงวัตถุ การพัฒนาส่วนติดต่อกับผู้ใช้ การทดสอบซอฟต์แวร์ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ระบบควบคุมเวอร์ชัน
เพื่อให้เนื้อหามีความเป็นลำดับที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน รวมทั้งปรับแต่งความละเอียดของเนื้อหาในแต่ละเรื่องให้สอดคล้องกับความยากง่ายของเนื้อหานั้นๆ และให้สอดคล้องกับเวลาที่ใช้ในการเรียนการสอน
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการเขียนโปรแกรมเชิงลึกเกี่ยวกับ พอยน์เตอร์ และอาเรย์ การจองหน่วยความจำ ไฟล์อินพุต-เอาต์พุต ฟังก์ชันเรียกตัวเอง การเขียนและออกแบบโปรแกรมเชิงวัตถุ การซ่อนข้อมูล การสืบทอด การพ้องรูป คลาส นามธรรม การเขียนโปรแกรมแบบหลายเทรด การพัฒนาส่วนติดต่อกับผู้ใช้ การทดสอบซอฟต์แวร์ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ระบบควบคุมเวอร์ชัน
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1. ตระหนักในคุณค่า และคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
2. มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสังคม
3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง และลำดับความสำคัญ
4. เคารพสิทธิ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5. เคารพกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
6. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร  และสังคม
7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
กำหนดให้มีวัฒธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอการบ้านของผู้อื่น
1. ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา
2. ประเมินจากการมีวินัย และพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
3.ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
4. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาการเขียนโปรแกรม สำหรับวิศวกรคอมพิวเตอร์
2. สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางการเขียนโปรแกรม รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
3. สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ และเขียนโปรแกรมให้ตรงตามข้อกำหนด
4.สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ และวิวัฒนาการของการเขียนโปรแกรม รวมทั้งการนำไปประยุกต์
5. รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางการเขียนโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง
6. มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้อง
7. มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
 
บรรยาย อภิปราย โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการปฏิบัติจริง โดยการมอบหมายงานพร้อมทั้งอธิบายงานที่มอบหมายเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ หรือการแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2. ประเมินจากงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย
3.ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
1. คิดอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ
2. สามารถสืบค้น ตีความ และประเมิน โดยใช้สารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
4. สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
1. มอบหมายให้นักศึกษาเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2. มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2. แบบฝึกหัดที่มอบหมาย
1. สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลายหลายอย่างมีประสิทธิภาพ
2. สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
3. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4. มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
5. สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
6. มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ได้อย่างต่อเนื่อง
มอบหมายงานรายกลุ่ม แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1. มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
2. สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
3. สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่า และการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
4. สามารถเลือกใช้สื่อสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
ให้นักศึกษาแก้ปัญหา วิเคราะห์ประสิทธิภาพของวิธีแก้ปัญหา แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1. แบบฝึกหัดที่ได้รับมอบหมาย
2. การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1. มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน โดยให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติตามแบบฝึกปฏิบัติการ
ประเมินจากผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2
1 ENGCE117 การเขียนโปรแกรมสำหรับวิศวกรคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1, 2.1.1-2.1.3, 2.1.7, 3.1.1, 3.1.4 การสอบกลางภาคเรียน, การสอบปลายภาคเรียน 9,17 30%, 30%
2 1.1.2, 2.1.4, 2.1.6, 3.1.2-3.1.3, 4.1.1-4.1.2, 5.1.1-5.1.2, 6.1.1-6.1.2 แบบฝึกหัดและงานที่ได้รับมอบหมาย แบบฝึกปฎิบัติการ ลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1.2, 1.1.3, 4.1.1, 5.1.2-5.1.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
Introduction to Java Programming and Data Structures, 11th Edition, by Y. Daniel Liang, Pearson; (March 11, 2017), ISBN-10: 9780134670942 • ISBN-13: 978-0134670942
http://download.oracle.com/javase/tutorial/java/index.html
1.1 การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียนระหว่างการทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน
1.2 การสอบถามนักศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างเรียน
1.3 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4