สหกิจศึกษาทางวิศวกรรมไฟฟ้า

Co-operative Education in Electrical Engineering

สหกิจศึกษาจะทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริงในการทำงาน  และสามารถบูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษามาใช้ในการแก้ปัญหาในการทำงาน  ฝึกให้นักศึกษาทำงานเป็นทีม  และเป็นการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาให้สามารถทำงานได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา
1 เพื่อให้นักศึกษาได้เชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีให้เกิดผลในทางปฏิบัติในการทำงาน      
2 เพื่อให้นักศึกษาได้นำความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงาน      
3 เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้และฝึกประสบการณ์ในสภาพแวดล้อมทำงานจริง      
4 เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงาน และการแก้ไขปัญหาในการทำงานร่วมกับผู้อื่น      
5 เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อมจริง      
6 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจชีวิตการทำงานและวัฒนธรรมในองค์กร
 
ฝึกงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้า และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องตามลักษณะสาขางานเฉพาะที่เรียนมา
1 ชั่วโมง
1 มีภาวะความเป็นผู้นำ
2 ตระหนักในคุณธรรม จริยธรรม เสียสละต่อองค์กร
3 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กร
4 มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
 
 
1 ปฐมนิเทศนักศึกษาถึงระเบียบ วินัย คุณธรรม ที่พึงปฏิบัติ ก่อนฝึกประสบการณ์ภาคสนาม      
2 กำหนดตารางเวลาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม กำหนดขอบเขตของงาน และกำหนดวิธีการประเมินผลงาน      
3มอบหมายงาน กำหนดระยะเวลาปฏิบัติงาน ตรวจติดตาม และควบคุมให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎ ข้อบังคับของสถานประกอบการเช่นเดียวกับพนักงานขององค์กร พร้อมมีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
1 ประเมินโดยพนักงานที่ปรึกษาที่ควบคุมการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม จากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างฝึกภาคสนาม      
2 ประเมินโดยอาจารย์ที่ปรึกษา จากการพูดซักถามนักศึกษา และซักถามจากพนักงานที่ปรึกษาที่ควบคุมนักศึกษาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม พร้อมดูสมุดบันทึกการฝึกปฏิบัติการภาคสนาม
1 สามารถวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และทักษะพื้นฐานทางวิศวกรรม รวมถึงเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา      
2  มีความรู้ ความเข้าใจทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติ ในเรื่องที่ศึกษา      
3  เข้าใจและพัฒนาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดความชำนาญ อย่างต่อเนื่อง
1 สถานประกอบการจัดพนักงานที่ปรึกษาเพื่อ แนะนำ และถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาที่ออก ปฏิบัติการภาคสนาม       
2 ใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อการปฏิบัติงานจริงในองค์กร ภายใต้การดูแลของพนักงานที่ปรึกษา
1 ประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยผู้เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานที่ปรึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา       
2 ประเมินผลจากความสมบูรณ์ของผลงาน ที่ได้รับมอบหมาย
1  คิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดอย่างมีระบบ      
2 สามารถ รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุป ประเด็นปัญหาได้      
3 สามารถ ค้นหาแหล่งความรู้ และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
1 มอบหมายโจทย์ปัญหาให้นักศึกษาช่วยออกความคิดเห็น คิดวิเคราะห์ และสามารถสรุปแนวทางการแก้ปัญหา      
2 มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำรายงานผลการปฏิบัติภาคสนาม      
3 ประชุมร่วมกันระหว่าง พนักงานที่ปรึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา และนักศึกษา อย่างสม่ำเสมอ
ประเมินผลจากแนวความคิดในการแก้ไขปัญหา การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ของนักศึกษาเมื่อนักศึกษานำเสนอผลงาน
1 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม      
2 รู้จักบทบาท หน้าที่ มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย รวมถึงมีจิตสำนึกรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
1 ประชุมร่วมกัน เพื่อมอบหมายงาน ติดตามงานและประเมินผล      
2 มอบหมายงานให้ปฏิบัติเป็นทีม
1 ประเมินจากการสัมภาษณ์ผู้ร่วมงาน และจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา       
2 ประเมินจากข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์นักศึกษา และการสังเกตพฤติกรรม
1 มีทักษะการใช้เทคโนโลยี เครื่องคำนวณ และเครื่องมือทางวิศวกรรม ในงานที่เกี่ยวข้องได้      
2 มีการสื่อสาร ด้วยวจนะภาษา อวจนะภาษา และเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1  มอบหมายงานที่ต้องมีประมวลผลโดยใช้เทคโนโลยี เครื่องคำนวณ การใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมในการแก้ไขปัญหา หรือนำเสนอผลงาน      
2 มอบหมายงานที่ต้องใช้คณิตศาสตร์ ทักษะการคำนวณ หรือใช้สถิติ เพื่อนำเสนอข้อมูล
1 ประเมินจาก เอกสาร และการนำเสนอผลงานของนักศึกษา โดยใช้ทักษะการสื่อสารทางเทคโนโลยี และทักษะการคำนวณ       
2 ประเมินจากผลการแก้ปัญหาโดยเน้นความถูกต้องและเหมาะสม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การปฏิบัติงานในสถานประกอบการ 4 50
2 การนิเทศงานสหกิจศึกษา การนิเทศงานสหกิจศึกษา 4 20
3 รายงานผลการปฏิบัติงาน รายงานผลการปฏิบัติงาน 17 15
4 การนำเสนอผลงานของนักศึกษา การนำเสนอผลงานของนักศึกษา 17 15
1 เข้าร่วมปฐมนิเทศนักศึกก่อนฝึกประสบการณ์ภาคสนาม พร้อมแจกคู่มือฝึกประสบการณ์ภาคสนาม
2 รับฟังปัญหาและช่วยแก้ปัญหาให้กับนักศึกษาหลายช่องทาง ได้แก่ ทางโทรศัพท์ ทางอีเมล์ ทาง face book เป็นต้น
1 มีพนักงานที่ปรึกษาที่คอยให้คำแนะนำ      
2 มีสวัสดิการเบี้ยเลี้ยงในการทำงาน (ขึ้นอยู่กับนโยบายของสถานประกอบการ)      
3 มีสวัสดิการค่าอาหาร (ขึ้นอยู่กับนโยบายของสถานประกอบการ)       
4 มีสวัสดิการที่พัก (ขึ้นอยู่กับนโยบายของสถานประกอบการ)       
5 มีสวัสดิภาพในการฝึกประสบการณ์
1 ให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม      
2 พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ        พนักงานที่ปรึกษา บันทึกงานที่มอบหมาย ผลสัมฤทธิ์ของผลงานและตอบแบบสอบถามและแบบประเมินผลการฝึกสหกิจศึกษา                3 อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม        อาจารย์ที่ปรึกษา บันทึกการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา รวมถึงบันทึกผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาหลังจากได้รับคำแนะนำและตอบแบบสอบถาม       
4 บัณฑิตใหม่       ติดตามความก้าวหน้าในการทำงานของบัณฑิตที่ผ่านโครงการฝึกสหกิจศึกษา  ที่จบในสาขานั้นๆ โดยการสำรวจแบบสอบถาม
ประเมินผลนักศึกษาในระหว่างและเสร็จสิ้นการฝึกประสบการณ์ภาคสนามของนักศึกษา โดยพิจารณาจากบันทึกผลการนิเทศ รายงานผลการฝึกฯของพนักงานที่ปรึกษา และการนำเสนอ
หากผลประเมินของพนักงานที่ปรึกษาเป็นไปในทางที่แตกต่างจากการประเมินของอาจารย์ที่ปรึกษา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการประชุมร่วมกันเพื่อหาข้อสรุป
อาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม นำข้อเสนอแนะจาก นักศึกษา พนักงานที่ปรึกษา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชา เพื่อทำการวางแผนปรับปรุงต่อไป