อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น

Basic Electronic

เพื่อให้นักศึกษา
1.  เข้าใจคุณสมบัติของอุปกรณ์พาสซีฟ
          2.  รู้ทฤษฏีสารกึ่งตัวนำและเข้าใจคุณสมบัติรวมถึงวงจรการใช้งานของไดโอด
          3.  รู้คุณสมบัติและเข้าใจการจัดไบแอสพร้อมทั้งของวงจรที่มีการจัดไบแอสของทรานซิสเตอร์ชนิดรอยต่อและทรานซิสเตอร์ชนิดสนามไฟฟ้า
          4. รู้คุณสมบัติและเข้าใจวงจรการใช้งานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดพิเศษ
          5.  เข้าใจคุณสมบัติของออปแอมป์
          6.  เข้าใจการใช้โปรแกรมมาช่วยในการวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์
          7.  มีทัศนคติที่ดีต่อรายวิชาอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
        จากการทำงานในกระบวนการต่าง ๆของภาคอุตสาหกรรม ทั้งส่วนกระบวนการผลิตตัวอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และกระบวนการประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่จำเป็นต้องรู้ทักษะและคำศัพท์เทคนิค ตลอดจนพารามิเตอร์ที่สำคัญของตัวอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นจึงได้นำควรรู้ที่ได้รับโดยตรงจากภาคอุตสาหกรรมมามีส่วนในการพัฒนาลักษณะรายวิชานี้ที่ยังคงมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนสามารถนำความรู้ทางด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ดังต่อไปนี้

เพื่อให้มีความชัดเจนในกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ให้เนื้อหาสอดรับกับงานภาคอุตสหกรรมมากขึ้น เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนความทันสมัยของสื่อการเรียนการสอน และสอดคล้องกับผู้เรียน

เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับอุปกรณ์พาสซีฟ ทฤษฏีสารกึ่งตัวนำ  คุณสมบัติและวงจรการใช้งานของไดโอด คุณสมบัติและการจัดไบแอสของทรานซิสเตอร์รอยต่อไบโพลาร์  คุณสมบัติและการจัดไบแอสของทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้า เสถียรภาพของวงจรที่มีการจัดไบแอส คุณสมบัติและวงจรการใช้งานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดพิเศษต่างๆ ออปแอมป์ การอ่านข้อมูลจำเพาะของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากเอกสารข้อมูลของตัวอุปกรณ์ โปรแกรมช่วยในการวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ และการประยุกต์ใช้งาน
 
การศึกษาด้วยตนเอง
ใช้เวลาให้คำปรึกษาในห้องเรียนและนอกห้องเรียนตามโอกาสของนักศึกษา ไม่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนเนื่องจากบริบทของผู้สอนและผู้เรียนมามหาวิทยาลัยและพบเจอกันตลอดในระหว่างมีการเรียนการสอน
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
        พัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรมจริยธรรมโดยอิงจากประสบการณ์ที่พบเห็นจากการวัดผลการทำงานของ Production Process  มาควบคู่กับการจัดการเรียนการสอน ดังนี้
        1.1.1  คุณภาพของงาน : ความถูกต้องในคุณภาพของการบ้าน  งาน  ประสิทธิภาพการเรียน ความรู้ความเข้าใจในหลักและวิธีการปฏิบัติในหน้าที่นักศึกษา
        1.1.2  ปริมาณของงาน : จำนวนผลงานที่ทำได้สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด การคำนึงถึงการใช้จ่ายทรัพยากร อุปกรณ์ในการทำงาน
        1.1.3  การมาเรียน : การมาเรียน การตรงเวลา การขาด  ลา สาย ป่วย และความสม่ำเสมอในการมาเรียน
        1.1.4  ระเบียบวินัย : ปฏิบัติตนตามระเบียบวินัยข้อบังคับ เชื่อฟัง ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์รายวิชา สาขา และมหาวิทยาลัย
        1.1.5  การให้ความร่วมมือ : การประสานงาน ความร่วมมือกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน และผู้เกี่ยวข้อง การเชื่อฟังหัวหน้าห้อง การเรียนรู้ และความสามารถในการควบคุมอารมณ์
 
1.2.1  บรรยายยกตัวอย่างเรื่องเล่าที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมร่วมในการจัดการเรียนการสอน
          1.2.2  สร้างข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องวินัย การตรงต่อเวลา   การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด การแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
          1.2.3   ผู้สอนปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีในด้านคุณธรรม จริยธรรมกับผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
1.3.1   มีการให้คะแนนการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งงาน
          1.3.2   หากมีการกระทำทุจริตในการสอบถูกตัดคะแนน
          1.3.3   มีการให้คะแนนคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษาและการมีจรรยาบรรณในการอ้างอิงที่ไปที่มาของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงาน
มีความรู้และเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับอุปกรณ์พาสซีฟ ทฤษฏีสารกึ่งตัวนำ  คุณสมบัติและวงจรการใช้งานของไดโอด คุณสมบัติและการจัดไบแอสของทรานซิสเตอร์รอยต่อไบโพลาร์  คุณสมบัติและการจัดไบแอสของทรานซิสเตอร์สนามไฟฟ้า เสถียรภาพของวงจรที่มีการจัดไบแอส คุณสมบัติและวงจรการใช้งานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดพิเศษต่างๆ ออปแอมป์ การอ่านข้อมูลจำเพาะของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากเอกสารข้อมูลของตัวอุปกรณ์ โปรแกรมช่วยในการวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ และการประยุกต์ใช้งาน
ในรายวิชานี้การสอนความรู้แบ่งได้ 2 ส่วน คือ
2.2.1  การสอนในชั่วโมงทฤษฎี จำนวน 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ผู้สอนสามารถใช้กลวิธการสอน เทคนิคการสอนที่เห็นว่าเหมาะสมกับเนื้อหาและเรื่องที่จะทำการสอนในแต่ละสัปดาห์รวมถึงพิจารณาจากสภาพผู้เรียน ห้องเรียน สื่อ
        2.2.2 การสอนในชั่วโมงปฏิบัติ จำนวน 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยผู้สอนมีใบงานที่สอดคล้องกับเนื้อหารายวิชาและมอบหมายให้ผู้เรียนต้องเขียนเนื้อหาประกอบใบงานก่อนการลงมือปฏิบัติ ส่วนการทดลองผู้สอนดูแลการปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ
2.3.1   ใช้แบบทดสอบย่อย ข้อสอบลางภาค ข้อสอบปลายภาค
2.3.2   จากคะแนนประเมินจากการทำใบงานและสอบปฏิบัติ
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถคิด วิเคราะห์ และ บูรณาการองค์ความรู้ได้เป็นอย่างดี
3.2.1  ให้ผู้เรียนนำความรู้ชั่วโมงทฤษฎีและข้อมูลจากการค้นคว้าเพิ่มเติมมาใช้ในการเตรียมการของการทำใบงาน
          3.2.2    มีการมอบหมายงานให้ใช้โปรแกรมช่วยในการวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์
3.3.1   สอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการเข้าใจหลักการ และการคำนวณเพื่อการวิเคราะห์ บูรณาการองค์ความรู้ในเนื้อหาของรายวิชาการวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์
3.3.2   ประเมินผลจากการทำงาน/การบ้าน
3.3.3   วัดผลจากการประเมินจากรายงาน  การนำเสนอผลงาน
3.3.4   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาการให้ความร่วมมือในการทำงานทั้งความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าเนื้อหาวิชาในส่วนของการวิเคราะห์วงจรด้วยโปรแกรมจำลองการทำงานของอุปกรณ์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.2.2   การนำเสนอรายงาน
4.3.1   ผลจากการประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในด้านการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ผลของตัวอย่างวงจรที่กำหนดให้
5.1.4   พัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตอย่างเป็นระบบ
5.1.5   พัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้ ข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาตนเองผู้เรียน และการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
5.1.6   พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงานโดยสามารถเลือกรูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
          5.1.7  พัฒนาทักษะในการใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษาได้
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   สังเกตทักษะที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
          6.1.1 แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติงานใน
วิชาชีพเฉพาะ วิชาชีพครู การบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ที่มีรูปแบบ
หลากหลายอย่างบูรณาการและสร้างสรรค์
            6.1.2  แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนรวมถึง
ประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างบูรณาการที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายอย่างมี
นวัตกรรม
6.2.1   สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
6.3.1   ประเมินจากกิจนิสัยในการปฏิบัติงาน
6.3.2   ประเมินผลทักษะในการปฏิบัติงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1