โครงงานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

Information Technology Project

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ  ดังนี้ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และเข้าใจ  และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ได้
เพื่อปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตปัจจุบันได้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ปฏิบัติการโครงงานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย การค้นหาปัญหาของสถานประกอบการหรือองค์การ การนำเสนอโครงงาน การศึกษาความเป็นไปได้ ทรัพย์สินทางปัญญา ค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ออกแบบ พัฒนาโปรแกรม และทดสอบ รวมทั้งจัดทำรายงานและนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการการประเมินผลสนรายวิชาเป็นระดับคะแนนพอใจ (S) และไม่่พอใจ (U)
Practice with information technology project consisting of identification of problems in enterprise or organization, project proposal presentation, feasibility study, intellectual property, a search of related research works, program design, program deveopment, program testing, report writing and proesentation to mcommittee. Achievement of the course will be either S (Satisfactory) or U (Unsatisfactory)
เข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการฯ จำนวน 3 ชั่วโมง
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral)
1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต
1.2 มีวินัยตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.   ให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม โดยมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้แต่ละบุคคลในกลุ่มรับผิดชอบอย่างชัดเจน
2.   ให้นักศึกษามีการอภิปรายร่วมทั้งกลุ่มเรียนหลังจากการค้นหาข้อมูลกลุ่มย่อยแล้ว เพื่อสรุปปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
3.   ให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์หาทางแก้ปัญหา จากโจทย์ปัญหาหรือกรณีตัวอย่างที่อาจารย์สร้างขึ้น
4.   ให้นักศึกษามีการฝึกปฏิบัติการจริง ซึ่งจะก่อให้เกิดประสบการณ์ในการทำงานในอนาคต  
สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาเป็นรายบุคคล ทำการสุ่มในการอภิปรายหน้าชั้นเรียน เขียนสรุปหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองในแต่ละครั้งที่มีการทำงานกลุ่ม ทำการสอบประเมินผลปลายภาคการศึกษาเน้นการใช้วิธีการวัดหลากหลายตามเนื้อหาและกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน ผลการประเมินต้องสะท้อนให้เห็นความก้าวหน้าของผู้เรียน
2.  ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge)
2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์รวมทั้งประยุกต์ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหา
2.3 สามารถวิเคราะห์  ออกแบบ ติดตั้งปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ตรงตามข้อกำหนด
2.4  สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์
2.5 รู้เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
2.6 มีความรู้ในแนวกว้างของเทคโนโลยีสารสนเทศเล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ
2.7 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
2.8 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย ให้กรณีศึกษา กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มโดยฝึกปฏิบัติกับกรณีตัวอย่างจริงในการแก้ปัญหา ให้นักศึกษาใช้เครื่องมือในการทำการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสถานการณ์จริง
การนำเสนอ การตอบคำถาม เอกสารข้อเสนอ
3.  ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา(Cognitive Skills)
3.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
3.2 สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
มอบหมายงานให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและวิธีการป้องกันโดยใช้ความรู้ในวิชานี้และวิชาที่เรียนมาแล้วก่อนนี้และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในรูปของรายงาน
การนำเสนอ การตอบคำถาม แบบประเมิน
4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้สถานการณ์ต่างในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
4.3 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบในงานกลุ่ม
4.5 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งในส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
4.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 
ให้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา มอบหมายงานกลุ่มและรายบุคคล และการนำเสนอรายงาน
ให้คะแนนผลงานเป็นกลุ่ม (คะแนนกลุ่ม)  
5.  ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา (Numerical  Analysis, Communication  and Information Technology Skills)
5.1  มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
5.2 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
5.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
5.4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่ออย่างเหมาะสม
1.เน้นการสอนที่ใช้ปัญหานำความรู้ที่เกี่ยวข้องตาม และพัฒนาแนวคิดในการออกแบบระบบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา
2.มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และทำรายงานโดยอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ
3.นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
 1. การจัดทำรายงาน และการนำเสนอ
2. การซักถามโดยการสุ่มในชั้นเรียน
3. การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 2. มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม 3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับ ความสำคัญ 4. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 5. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม ุ6. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม ึ7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 6. มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ 7. มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง 8. สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ\เละทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 2. สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญูหา 3.สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ตรงตามข้อกำหนด 4. สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์ 5. รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง 1. คิดอย่างมีวิจารณญาณและอยากเป็นระบบ 2. สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 4. สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม 1. สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 2. สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก่ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน 3. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 4. มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองเเละรับผิดชอบงานในกลุ่ม 5. สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม 6. มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องคุณสมบัติต่างๆ นี้สามารถวัดระหว่างการทำกิจกรรรมร่วมกัน 1. มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2. สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ 3. สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอ อย่าง เหมาะสม 4. สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อหรืออย่างเหมาะสม
1 BSCCT904 โครงงานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1-1.2, 4.1, 4.5 การเข้าร่วมกิจกรรม การส่งงาน ตลอดภาคการศึกษา 40%
2 1.2,1.5-1.6, 2.1-2.3, 2.6-2.8, 3.1, 3.4, 4.3, 5.1-5.4 การนำเสนอ การตอบคำถาม เอกสารข้อเสนอ 4 20%
3 1.2,1.5-1.6, 2.1-2.3, 2.6-2.8, 3.1, 3.4, 4.3, 5.1-5.4 การนำเสนอ การตอบคำถาม แบบประเมินความก้าวหน้า 9,13 20%
4 1.1, 1.7, 2.1, 3.2, 4.4 ความสมบูรณ์และรูปแบบของเอกสารข้อเสนอโครงงาน ความสมบูรณ์และรูปแบบของโครงงาน 16-17 20%
- สุชาติ โสมประยูร และวรรณี โสมประยูร. การเขียนหนังสือหรือตำราและบทความ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด, 2550.
- Science Project http://www.scienceproject.makewebez.com/ วิชาการ.คอม http://www.vcharkarn.com/project/ ต่อยอด.คอม http://www.toryod.com/ วารสารวิชาการ ม.อบ. http://www.ubu.ac.th/~research/UBUJournal/index.php โครงงานคอมพิวเตอร์ จาก สสวท. http://oho.ipst.ac.th/ipst-microbox/30-SampleProjects
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน การสะท้อนคิด จากพฤติกรรมของผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ผลการสอบ การสอบเค้าโครงของโครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศ การสังเกตความสนใจของนักเรียน การซักถามในห้องเรียน การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
มีการค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลใหม่ๆ ที่ทันสมัย เช่น จากหนังสือที่แนะนำและเอกสารอ้างอิง ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์และอื่นๆ
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนรายวิชา  มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ  ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา  ได้จาก  การสอบถามนักศึกษา  หรือการสุ่มตรวจผลงานนักศึกษา  รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย  และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา  มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาดังนี้ -         การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น  หรือผู้ทรงคุณวุฒิ -         มีการตั้งกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา  โดยตรวจสอบข้อสอบ  รายงาน  วิธีการให้คะแนน  และการให้คะแนนพฤติกรรม  แก้ไข
ปรับปรุงรายวิชาทุกปี ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4