กฏหมายเกี่ยวกับงานอาชีพ

Occupational Regulation and Laws

1. เข้าใจข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีพกฎหมายสำหรับผู้ประกอบการกฎหมายด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทรัพย์สินทางปัญญารวมถึงจริยธรรมคุณธรรมและจรรยาบรรณทางธุรกิจ
2. มีกิจนิสัยและเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานอาชีพด้วยความรับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ ตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการประกอบอาชีพในสายงานอาชีพ ทรัพย์สินทางปัญญา และคุณธรรมจริยธรรม
บรรยาย สัมมนาและการสืบค้นเฉพาะบุคคล หรือ การศึกษาเกี่ยวกับงานด้านช่างยนต์ และทรัพย์สินทางปัญญา
1 ชั้วโมง
1. เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต
2. มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
4. สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิชาชีพช่างยนต์ต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม
5. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพช่างยนต์ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพช่างยนต์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1. วิธีบรรยาย
2. นำเสนอในชั้นเรียนและอภิปราย
3. เสนอแนะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น
1. ความเข้าใจและความรู้ของนักศึกษาในเนื้อหา
2. ประเมินผลจากการสอบข้อเขียน
3. ประเมินผลการนำเสนอรายงาน
4. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม
1. มีความรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเนื้อหาสาระหลักของสาขาวิชาตลอดจนหลักการและทฤษฎีที่สำคัญและนำมาประยุกต์ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการหรือการปฏิบัติในวิชาชีพ
2. มีความเข้าใจทฤษฎีการวิจัยและการปฏิบัติทางวิชาชีพนั้นอย่างลึกซึ้งในวิชาหรือกลุ่มวิชาเฉพาะในระดับแนวหน้า
1. ใช้การสอนในหลากหลายรูปแบบโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆโดยการสอนให้เน้นการค้นคว้า และนำเสนอให้มากที่สุด
2. สอนให้นักศึกษาเรียนรู้หลักการมากกว่าวิธีการ และพัฒนาวิธีการสอนโดยใช้กรณีศึกษาและเปิดให้นักศึกษาแก้ปัญหาด้วยวิธีที่หลากหลายบนพื้นฐานของหลักการ
3. ฝึกให้นักศึกษาค้นคว้าจากบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ เนื่องจากจะเป็นผลการวิจัยที่ใช้องค์ความรู้ที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
1. การให้คะแนนจากการสอบข้อเขียน การเขียนรายงาน การนำเสนอ
2. ข้อสอบมุ่งอธิบายหลักการ พิสูจน์ แก้ปัญหาด้วยหลักการ
3. เนื้อหาที่สอนต้องปรับปรุงต่อเนื่องหรือแทรกองค์ความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง และฝึกให้นักศึกษาค้นคว้าอยู่ตลอดในรูปแบบการนำเสนอ การทำรายงาน ฝึกแก้ปัญหาโดยการค้นคว้า
1. ใช้ความรู้ทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในการจัดการบริบทใหม่ที่ไม่คาดคิดทางวิชาการและวิชาชีพและพัฒนาแนวคิดริเริ่มและสร้างสรรค์เพื่อตอบสนองประเด็นหรือปัญหาสามารถใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจในสถานการณ์ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอ
2. สามารถสังเคราะห์และใช้ผลงานวิจัยสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการหรือรายงานทางวิชาชีพและพัฒนาความคิดใหม่ๆโดยการบูรณาการให้เข้ากับองค์ความรู้เดิมหรือเสนอเป็นความรู้ใหม่ที่ท้าทายสามารถใช้เทคนิคทั่วไปหรือเฉพาะทางในการวิเคราะห์ประเด็นหรือปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างสร้างสรรค์รวมถึงพัฒนาข้อสรุปและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาการหรือวิชาชีพ
3. สามารถวางแผนและดำเนินการค้นคว้าทางวิชาการที่เกี่ยวกับวิชาชีพได้ด้วยตนเองโดยการใช้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
1. ในการเรียนการสอนต้องฝึกกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษาโดยเริ่มต้นจากปัญหาที่ง่ายและเพิ่มระดับความยาก ทั้งนี้ต้องจัดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับรายวิชา
2. จัดการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการแก้ปัญหาจากสถานการณ์จำลองโดยใช้ผลงานทางวิชาชีพแก้ปัญหาที่ซับซ้อนอย่างสร้างสรรค์
ประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษาได้แก่
1. ประเมินจากการนำเสนอโครงงานหรือปัญหาที่ได้รับมอบหมายให้ไปค้นคว้าเพื่อแก้ปัญหา
2. ทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสอบถาม แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น
1. สามารถแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนหรือความยุ่งยากระดับสูงทางวิชาชีพได้ด้วยตนเองสามารถตัดสินใจในการดำเนินงานด้วยตนเองและสามารถประเมินตนเองได้รวมทั้งวางแผนในการปรับปรุงตนเองให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้
2. มีความรับผิดชอบในการดำเนินงานของตนเองและร่วมมือกับผู้อื่นอย่างเต็มที่ในการจัดการข้อโต้แย้งและปัญหาต่างๆ
3. แสดงออกทักษะการเป็นผู้นำได้อย่างเหมาะสมตามโอกาสและสถานการณ์เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงานของกลุ่ม
1. จัดการสอนแบบให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งจะผสมผสานวิธีการสอนแบบใช้ปัญหาและโครงงานเป็นฐาน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาให้นักศึกษาเรียนรู้แบบร่วมมือฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม
2. สอดแทรกเรื่องความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมการมีมนุษยสัมพันธ์การเข้าใจในวัฒนธรรมองค์กรเข้าไปในรายวิชาต่างๆและฝึกให้นักศึกษาได้วิพากษ์วิจารณ์ข้อโต้แย้งที่นำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3. ในการสอนแบบเป็นกลุ่มให้เวียนกันเป็นผู้นำทีม
ประเมินผลจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษา 1 ในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน 2 สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
1. มีทักษะการใช้ภาษาไทยในการอธิบายหลักการและสถานการณ์ตลอดจนการสื่อสารความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอรายงาน
3. สามารถคัดกรองข้อมูลทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาค้นคว้าปัญหาสรุปปัญหาและเสนอแนะแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ
4. สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างเหมาะสมกับกลุ่มบุคคลต่างๆทั้งในวงการวิชาการและวิชาชีพรวมถึงชุมชนทั่วไปโดยการนำเสนอรายงานทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการผ่านสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการและวิชาชีพรวมทั้งวิทยานิพนธ์หรือโครงการค้นคว้าที่สำคัญ
1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติในหลากหลายสถานการณ์ 2. มอบหมายกรณีศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นคว้าหรือนำเสนอ 3. ฝึกให้นักศึกษาฝึกออกแบบ ฝึกทำการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย 4. ฝึกให้มีการสื่อสารหรือนำเสนอให้กับผู้รับข้อมูลหลายระดับ เช่น นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริง ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ
ประเมินผลจากการนำเสนอผลงาน 1. การนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือคณิตศาสตร์และสถิติ 2. การอธิบายกรณีศึกษาต่างๆที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียนและนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุม หรือในสถานประกอบการจริง
1. มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมืออุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
  2. มีทักษะในการคิดและทักษะการวิเคราะห์และแก้ปัญหาโดยใช้การบูรณาการทางวิชาชีพและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้จากกฎหมายวิชาชีพที่เรียนมาวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
1. สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
2. สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
3. สนับสนุนการเข้าประกวดทักษะด้านการปฏิบัติ
4. สนับสนุนการทำโครงงาน
1. มีการประเมินพฤติกรรมการเรียน
2. มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
3. มีการประเมินผลการทำงานในภาคความรู้
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล