การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมสำหรับการท่องเที่ยวและการบริการ

Cross Cultural Communication for Tourism and Hospitality

1.1 เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการสื่อสาร และการสื่อสารระหว่างและข้ามวัฒนธรรม
1.2 เพื่อให้นักศึกษาได้นำแนวคิดและทฤษฎีการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในการในพื้นที่และประเทศต่างวัฒนธรรม ทั้งด้านการสื่อสารทางธุรกิจและมารยาทต่างวัฒนธรรม
1.3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์สความแตกต่างด้านวัฒนธรรมและความคิดรพหว่างโลกตะวันออกกับตะวันตกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถนำเสนอในห้องเรียนและต่อสาธารณชนได้
2.1 เพื่อให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการรู้เท่าทันวัฒนธรรมในยุคโลกาภิวัฒน์ ยุคดิจิทัล และยุค Technology disruption 2.2 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องได้
แนวคิดของการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมและข้ามวัฒนธรรม ทฤษฎีของการสื่อสาร และการสื่อสารแบบวัจนะและอวัจนะ กลวิธีสื่อสารในประเทศต่างวัฒนธรรม มิติที่แตกต่างด้านวัฒนธรรมและความคิดระหว่างโลกตะวันออกกับตะวันตก การสื่อสารทางธุรกิจ และมารยาทต่างวัฒนธรรม
ข้อปฏิบัติสำหรับนักศึกษา
1) วิชาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมมีการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี 10 สัปดาห์ และมีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติโดยผ่านการให้คำปรึกษาของอาจารย์ผู้สอน 5 สัปดาห์และการส่งรายงานในการนำเสนอผลงานต่อสาธารณชนรายกลุ่ม โดยมีการนำเสนอผลงานบูรณาการรายวิชา BOATH107  เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการท่องเที่ยวและการบริการ ในการดำเนินโครงการการแข่งขันทักษะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมฯ (SMART-Ts) ครั้งที่ 2 พร้อมส่งรายงาน ภายในสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอน ในวันศุกร์สุดท้ายและไม่เกินเวลา12.00 น. (*หมายเหตุ: กิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ฯ) 
2) นักศึกษาต้องแบ่งกลุ่มเพื่อทำงานศึกษาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของอาจารย์ผู้สอนในแต่ละงาน 
3) มีการนำเสนองานรายกลุ่มและการนำเสนอต่อสาธารณชน 1 ครั้งด้วยการประกวดโครงงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ โดยแต่ละกลุ่มต้องจัดทำรายงานสรุป และในการเตรียมงานต้องผ่านการปรึกษาจากอาจารย์ผู้สอน ก่อนการนำเสนอผลงานภายในสัปดาห์ที่ 15 และต้องมีหลักฐานการเข้าพบอาจารย์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร 
4) นักศึกษาต้องแต่งกายถูกต้องตามระเบียบมหาวิทยาลัยเท่านั้น สีผมธรรมชาติและไม่ไว้หนวดเครา ห้ามใช้โทรศัพท์หรือเปิดเสียงโทรศัพท์ในห้องเรียน หากพบผู้ฝ่าฝืนจะหักคะแนนต่อครั้งไม่เกิน 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 4 จะส่งชื่อไม่มีสิทธิ์สอบ    
5) การเข้าห้องเรียนหลังจากมีการเรียนการสอนสายเกิน 15 นาทีถือว่ามาสาย โดย 
     5.1) การมาสาย 2 ครั้ง นับเป็น 1 การขาดเรียน ทั้งนี้ขาดเรียนเกิน 3 ครั้ง จะส่งชื่อไม่มีสิทธิ์สอบในรายวิชาทันที  
     5.2) การลากิจธุระ ที่ไม่จำเป็น ถือเป็นการขาดเรียน เพราะนักศึกษาไม่เข้าชั้นเรียน 
     5.3) การลาป่วย สามารถลาได้ โดยการส่งใบลาและแนบใบรับรองแพทย์หรือหลักฐานที่สามารถยืนยันได้ 
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ อย่างน้อย 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1) มีความซื่อสัตย์ สุจริต  และสามารถจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ที่ได้รับกับจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
2) มีความรับผิดชอบในหน้าที่ เป็นสมาชิกที่ดี และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อการพัฒนา มีภาวะผู้นำ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น
1) สอนโดยใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน
2) การแสดงออกอันเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้สอน
1) สังเกตการแสดงพฤติกรรมระหว่างผู้เรียนร่วมกันและกับผู้สอนทุกคน
2) ทำงานเป็นกลุ่ม และรายงานผลงาน
1) มีความรู้ในสาขาวิชาการท่องเที่ยวและสาขาวิชาการโรงแรมทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นระบบ เป็นสากล และทันสมัยต่อสถานการณ์โลก
1) การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม-ตอบ
2) อภิปรายเป็นกลุ่ม โดยให้ผู้สอนตั้งคำถามตามระบบการสอนยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
3) การศึกษานอกสถานที่และทำรายงาน
1) ทดสอบโดยการสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค
2) ประเมินผลจากการทำงานที่ได้รับมอบหมายและรายงาน
มีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ไปใช้ประโยชน์ในการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม และการปฏิบัติงานจริงตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
1) การอภิปรายเป็นกลุ่ม
2) การทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ค้นคว้า หรืองานเกี่ยวกับการพัฒนา
1) ประเมินผลจากผลงานที่มอบหมายให้ทำ
2) การสอบข้อเขียน
3) การเขียนรายงาน
มีความสามารถในการปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตน ในกลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ร่วมงานและแก้ไขปัญหากลุ่ม
มอบหมายงานเป็นกลุ่มย่อย และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยหมุนเวียนกันในกลุ่ม
ประเมินจากผลงานของกลุ่มและผลงานของผู้เรียนในกลุ่มที่ได้รับมอบหมายให้ทำงาน
1) มีความสามารถในการใช้ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และการสรุปประเด็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) มีความสามารถในการสื่อสารกับชาวต่างชาติได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรม
1) นำเสนอผลงานที่ค้นคว้าและอภิปรายด้วยตนเองหรือแบบกลุ่มในห้องเรียน
2) บูรณาการการใช้โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ เครือข่าย และซอฟต์แวร์ หรือสื่อต่าง ๆ
ประเมินผลจากการนำเสนอผลงาน
มีทักษะและสามารถปฏิบัติงานขั้นพื้นฐานของบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการบริการ
ทดสอบทักษะทางวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการบริการโดยการสอบปฏิบัติ
ประเมินผลจากการสอบข้อเขียนและสอบปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านการปฏิบัติงานได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1. มีความซื่อสัตย์ สุจริต และสามารถจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ที่ได้รับกับจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ 1.2 มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ และแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ 1.3 มีความรับผิดชอบในหน้าที่ เป็นสมาชิกที่ดี และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อการ พัฒนา มีภาวะผู้นำ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น 1.4 มีวินัยในการทำงาน และปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและสังคม 2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาการท่องเที่ยวและสาขาวิชาการโรงแรมทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นระบบ เป็นสากล และทันสมัยต่อสถานการณ์โลก 2.2 มีความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.3 มีความรู้ในกระบวนการ และเทคนิคการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์กรความรู้ในงานอาชีพ 3.1 มีความสามารถประมวลและศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และความขัดแย้ง รวมทั้งหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม ทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก 3.2 มีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎี มีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ไปใช้ประโยชน์ในการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม และการปฏิบัติงานจริงตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสมไปใช้ประโยชน์ในการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม และการปฏิบัติงานจริงตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม 3.3 สามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมจากภาคธุรกิจ และจากศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาเพื่อพัฒนาทักษะการทำงานให้เกิดประสิทธิผล 4.1 มีความสามารถในการปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตน ในกลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ร่วมงานและแก้ไขปัญหากลุ่ม 4.2 มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องและตรงตามมาตรฐานสากล 5.1 มีความสามารถในการใช้ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และการสรุปประเด็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.2 มีความสามารถในการสื่อสารกับชาวต่างชาติได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรม 5.3 มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร รู้จักเลือกรูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่อง และผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.4 มีความสามารถในการใช้เทคนิคพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติในการประมวลการแปลความหมายและการวิเคราะห์ข้อมูล 6.1 มีทักษะและสามารถปฏิบัติงานขั้นพื้นฐานของบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการบริการ 6.2 มีทักษะและสามารถปฏิบัติงานตามตำแหน่งงานของบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการบริการ 6.3 มีทักษะและสามารถปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการบริการที่มีมาตรฐานและเป็นสากล
1 BOATH102 การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมสำหรับการท่องเที่ยวและการบริการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1) มีความซื่อสัตย์ สุจริต และสามารถจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ที่ได้รับกับจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ 4.1) มีความสามารถในการปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตน ในกลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ร่วมงานและแก้ไขปัญหากลุ่ม สังเกตการแสดงพฤติกรรมระหว่างผู้เรียน ตลอดภาคการศึกษา 5%
2 2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาการท่องเที่ยวและสาขาวิชาการโรงแรมทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นระบบ เป็นสากล และทันสมัยต่อสถานการณ์โลก ทดสอบโดยการสอบข้อเขียนกลางภาค 9 25%
3 2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาการท่องเที่ยวและสาขาวิชาการโรงแรมทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นระบบ เป็นสากล และทันสมัยต่อสถานการณ์โลก 3.2 มีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ไปใช้ประโยชน์ในการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม และการปฏิบัติงานจริงตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม 4.1 มีความสามารถในการปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตน ในกลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ร่วมงานและแก้ไขปัญหากลุ่ม 5.1 มีความสามารถในการใช้ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และการสรุปประเด็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเมินผลจากการทำงานที่ได้รับมอบหมายในกิจกรรมการเรียนการสอน 10-12 15%
4 2.2 มีความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.2 มีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ไปใช้ประโยชน์ในการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม และการปฏิบัติงานจริงตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม 4.1 มีความสามารถในการปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตน ในกลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ร่วมงานและแก้ไขปัญหากลุ่ม 5.1 มีความสามารถในการใช้ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และการสรุปประเด็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเมินผลจากผลงานนำเสนอต่อสาธารณะชน (การประกวดแข่งขันโครงงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมฯ (SMART-Ts) ครั้งที่ 2 14-15 20%
5 2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาการท่องเที่ยวและสาขาวิชาการโรงแรมทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นระบบ เป็นสากล และทันสมัยต่อสถานการณ์โลก 4.1 มีความสามารถในการปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตน ในกลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ร่วมงานและแก้ไขปัญหากลุ่ม 5.1 มีความสามารถในการใช้ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และการสรุปประเด็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเมินผลจากรายงานการนำเสนอผลงาน 16 10%
6 2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาการท่องเที่ยวและสาขาวิชาการโรงแรมทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นระบบ เป็นสากล และทันสมัยต่อสถานการณ์โลก ทดสอบโดยการสอบข้อเขียนปลายภาค 17 25%
อรไท ครุธเวโช. (2562). การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว. เชียงใหม่: มทร.ล้านนา.
เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2559). การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้ามและระหว่างวัฒนธรรม  ตลอดจนรายงานด้านวัฒนธรรมของหน่วยงานราชการ
วารสารด้านการวิจัยเกี่ยวกับการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในระบบฐานข้อมูลต่างๆที่นักศึกษาค้นคว้าหาอ่านได้ด้วยตนเอง เช่น http://www.tourism.go.th, http://www.tourismthailand.org,
http://www.unwto.org/index.php
นักศึกษาประเมินการเรียนการสอนในระดับรายวิชาในระบบกลางของมหาวิทยาลัย
นักศึกษาประเมินการเรียนการสอนในระดับรายวิชาในระบบกลางของมหาวิทยาลัย
นักศึกษาประเมินการเรียนการสอนในระดับรายวิชา โดยใช้แบบประเมินผลการเรียนรู้ด้านต่างๆที่ต้องการทวนสอบ