ปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องขั้นสูง

Advanced Artificial Intelligence and Machine Learning

           เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องเข้าใจถึงทฤษฎีและหลักการทำงานของขั้นตอนวิธีต่างๆ ในการเรียนรู้ของเครื่องขั้นสูง รวมถึงสามารถประยุกต์ใช้การเรียนรู้ของเครื่องในงานต่าง ๆ เช่น การประมวลผลข้อมูล การประมวลภาษาธรรมชาติ หรือการประมวลผลภาพ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง  และระบบผู้เชี่ยวชาญการในระดับสูงโดยสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้งานให้สอดคล้องกับงานวิจัยและนวัตกรรม 
การศึกษาขั้นสูงเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง การแก้ปัญหาการเรียนรู้แบบมีผู้สอนและแบบไม่มีผู้สอน การแก้ปัญหาการจัดกลุ่มและการเรียนรู้แบบเสริมกำลังการแก้ปัญหาด้วยข่ายงานประสาทเทียมและการเรียนรู้เชิงลึก และการประยุกต์ใช้ในงานวิจัยและนวัตกรรม
2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และให้คําปรึกษาผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย เช่า Facebook และ MS-Team - อาจารย์จัดเวลาให้คําปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะราย ที่ต้องการ)
1.2 มีวินัยตรงต่อเวลารับผิดชอบต่อตนเองและสังคมเคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคลองค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
 
-ให้ความสําคัญในด้านวินัย เน้นความตรงต่อเวลาในการส่งงาน ให้นักศึกษาได้ศึกษาจรรยาบรรณ ที่เกี่ยวกับ AI
-สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและสังคม
-สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา
-ประเมินผลจากผลสัมฤทธิaทางการเรียนและผลงาน
-สังเกตพฤติกรรมและจํานวนนักศึกษาที่เข้าเรียน
2.1 มีความรู้ทางคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์เทคโนโลยีและภาษาเพื่อการประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในการศึกษาวิจัยสร้างและใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในงานวิชา วิศวกรรมไฟฟ้า
2.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบข้อบังคับมาตรฐานหลักการและทฤษฎีที่สำคัญทางด้านเทคโนโลยีและวิชาชีพวิศวกรรมไฟฟ้าเพื่อพัฒนาวิชาการวิจัยการประยุกต์ใช้สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมและติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
2.3  สามารถบูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยีและวิชาชีพวิศวกรรมไฟฟ้ากับความรู้ในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
2.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาทางเทคโนโลยีและวิชาชีพวิศวกรรมไฟฟ้าด้วยวิธีการที่เหมาะสม
 
-บรรยาย อภิปราย การทํางานกลุ่ม การนําเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา  และ -มอบหมายให้ค้นคว้าบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนํามาสรุปและนําเสนอ  
-การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคและปลายภาค 

-ประเมินจากการนําเสนอรายงานที่นักศึกษาจัดทํา

-ประเมินจากผลงานที่นําส่งหรือเสนอ 
 
3.2 สามารถสืบค้นวิเคราะห์และประเมินประเด็นสำคัญและที่มาของปัญหาที่ใช้ในการศึกษาวิจัยสร้างประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในงานวิชาชีพวิศวกรรมไฟฟ้า
3.3 สามารถคิดวิเคราะห์แยกแยะและแก้ปัญหาทางด้านเทคโนโลยีและวิชาชีพวิศวกรรมไฟฟ้าได้อย่างเป็นระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
3.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
- ฝึกกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษาโดยเริ่มต้นจากปัญหาที่ง่ายและเพิ่มระดับ ความยากขึ้นเรื่อยๆทั้งนี้ต้องจัดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับรายวิชา
- ฝึกการทํางานในด้านการแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์จําลอง
-วิเคราะห์กรณีศึกษา ในการนําทฤษฏีมาใช้ให้เหมาะสม  
-ประเมินจากการอภิปรายในชั้นเรียน
- ประเมินจากรายงานโครงการ และการนําเสนอผลงาน

 
4.3  สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้การศึกษาและวิจัยการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องทั้งของตนเองและของกลุ่ม
4.4 รู้จักบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่ได้รับหมอบหมายทั้งของตนเองและของกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึง สาารถแก้ไขข้อขัดแย้งและวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบ
4.5 มีจิตสำนึกและความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงานและการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม นำไปสู่การยกระดับภาคประกอบการชุมชนสังคมและประเทศอย่างยั่งยืน
 
- แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
-ส่งเสริมให้นักศึกษาเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- ส่งเสริมให้นักศึกษากล้าแสดงออกและเสนอความคิดเห็นโดยการจัดอภิปราย
- ส่งเสริมให้นักศึกษามีความรับผิดชอบในการทํางานกลุ่ม  
- สังเกตจากการทํางานและมีส่วนร่วมในงานกลุ่ม
- ประเมินจากรายงานที่นําเสนอพฤติกรรมการทํางานเป็นทีม

 
5.1 มีความชำนาญในการใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษาและวิจัยและการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมและวิชาชีพ
5.3 มีความชำนาญในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.5 มีความชำนาญในการใช้เครื่องมือคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรมในการศึกษาและวิจัยการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมและประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ และทํารายงานโดยเน้นการนําตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชือถือ
5.2.2 นําเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนําเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย  
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา
1 DENEE734 ปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องขั้นสูง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 1.4, 1.5 4.3,4.4,4.5 การเข้าชั้นเรียน สังเกต ตรวจสอบวินัย การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
2 2.4, 3.2, 3.3, 3.5, 5.1,5.3,5.5 Assignment และ Mini Project ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 2.1 – 2.3, 6.1-6.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 8 สัปดาห์ที่ 17 20% และ 30% ตามลำดับ
Russell, S. and Norvig, P. (1995) Artificial Intelligence: A Modern Approach, Prentice Hall. Geron, A. (2017) Hands-On Machine Learning with Scikit-Learn & TensorFlow, O’Reilly. Hastie, T., et al. (2009) The Elements of Statistical learning, Springer.  Huawei Technologies Co.Ltd.(2021) Artificial Intelligence Technology, Posts & Telecom Press, Beijing, China 
- https://pysource.com/ - https://colab.research.google.com/
โปรแกรม Jupyter Notebook, Tensorflow ไลบราลี่ Numpy, Matplotlib, Scikit-Learn

      3. Cloud Platform เช่น  Google Colab
จัดกิจกรรมในการรวบรวมแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา ด้วยวิธีการดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ด้วยวิธีการดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอนหรือหัวหน้าหลักสูตร
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
5.2   สลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ