มนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ

Human Relations in Business

   1.1 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญและองค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ    1.2 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ และการปรับปรุงตนเองให้เอื้อต่อการสร้างเสริมมนุษยสัมพันธ์    1.3 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักการและวิธีการประสานงาน สามารถเลือกใช้วิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลได้อยากเหมาะสม    1.4 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักการจูงใจให้คนทำงาน และเลือกวิธีการบริหารความขัดแย้งในองค์การได้อย่างเหมาะสม    1.5 เพื่อให้นักศึกษารู้ และเข้าใจถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมมนุษยสัมพันธ์ และสามารถนำความรู้ ไปประยุกต์เพื่อวางแผนพัฒนาตนเองในการทำงานอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์  
เป็นรายวิชาที่ปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในการจัดการเรียนการสอน สำหรับหลักสูตรการจัดการ และเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมแห่งการเรียนรู้
ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ การปรับปรุงตนเองให้มีลักษณะเอื้อต่อการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ในที่ทำงาน การจูงใจ การปฏิบัติต่อผู้ร่วมงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางธุรกิจ การทำงานเป็นทีม กลุ่ม และภาวะผู้นำ ตลอดจนปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจให้เหมาะกับยุคปัจจุบัน
3 ชั่วโมง/สัปดาห์
Accountability  ความรับผิดชอบ  1.มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น 2.มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม 3.มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา 2.ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่ง กาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 2.การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม 3.การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
Ability ความรู้ความสามารถ,Accountability ความรับผิดชอบ 1.  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง  2.  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน 3.  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ 4.  มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
1.จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ 2.มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียน 3.การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
1.การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 2.ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ 3.ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
Brilliance ความเฉลียวฉลาด   1.สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง 2.สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบ จากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งหันทางธุรกิจ 3.คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
1.การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น 2.การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
1.ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการ อภิปราย 2.ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบย่อย  
Learning  การเรียนรู้  1.  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้ 3.  มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน 4.  มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
1.สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง 2.จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม 3.การมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
1.พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา 2.สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming) 3.สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
      Ability ความรู้ความสามารถ  2.  สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ 3.  สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.ให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลในการแก้ไขปัญหาต่างๆ 2.การนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 
1.ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม 2.ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 3 1 2 3 4 1 2 3 1 2 4 2 3 1 2 3 4 5
1 BBACC113 มนุษยสัมพันธ์ทางธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม การเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน สังเกตุพฤติกรรม การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10 %
2 การทำงานกลุ่ม การนำเสนองาน งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย การส่งงานตามที่มอบหมายตามกำหนด -การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน -การส่งงานตามที่มอบหมายตามกำหนด ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 สอบกลางภาค และสอบปลายภาค การสอบกลางภาค ,การสอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 9 และ 17 30% 30%
กิจจา บานชื่น.(2560).มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ.กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็นยูเคชั่น.
วิรัช สงวนวงศ์วาน.(2559).การจัดการและพฤติกรรมองค์การ.กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ท้อป จำกัด. นิติพล ภูตะโชติ.(2562).พฤติกรรมองค์การ.กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เนตร์พัณณา ยาวิราช.(2558)การจัดการสมัยใหม่.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Robert.John M.Michael T.(2018)Organizational Behavior and Management.BY: McGraw-Hill
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
1.แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 2.ข้อเสนอแนะผ่านช่องทางการสื่อสารระหว่างกับนักศึกษา
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน ปรับปรุงเนื้อหาให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน  และยกตัวอย่างหรือกรณีศึกษาที่ทันสมัย