การจัดการโมเดลทางธุรกิจในยุคดิจิทัล

Business Model Management in the Digital Era

เพื่อให้นักศึกษา เข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้ ตัวแบบธุรกิจ การสร้างโมเดลธุรกิจ การพัฒนาโมเดลธุรกิจ ความหมายของโมเดลธุรกิจดิจิตัล โมเดลธุรกิจดิจิทัลแบบไฮบริด นวัตกรรมโมเดลธุรกิจดิจิตัล กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโมเดลธุรกิจในปัจจุบันที่น่าสนใจ การยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต การสร้างสรรค์มูลค่าและคุณค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ การสร้างเครือข่าย เพื่อเชื่อมโยงขยายธุรกิจไปสู่การค้าระดับสากล การวิเคราะห์และเลือกใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีที่เหมาะสม ไปประยุกต์ใช้ได้ในโลกธุรกิจ
เพื่อให้นักศึกษารู้เข้าใจ และสามารถประยุกต์ใช้ ตัวแบบธุรกิจ การสร้างโมเดลธุรกิจ การพัฒนาโมเดลธุรกิจ ความหมายของโมเดลธุรกิจดิจิตัล โมเดลธุรกิจดิจิทัลแบบไฮบริด นวัตกรรมโมเดลธุรกิจดิจิตัล กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโมเดลธุรกิจในปัจจุบันที่น่าสนใจ การยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต การสร้างสรรค์มูลค่าและคุณค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ การสร้างเครือข่าย เพื่อเชื่อมโยงขยายธุรกิจไปสู่การค้าระดับสากล การวิเคราะห์และเลือกใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมถึงการสร้างตัวแบบธุรกิจยุคดิจิทัล 3 กลุ่ม ได้แก่ ตัวแบบด้านเทคโนโลยี ตัวแบบด้านสังคม ตัวแบบด้านการจัดการองค์การ ได้
แนวคิดเกี่ยวกับโมเดลธุรกิจ การสร้างโมเดลธุรกิจ การพัฒนาโมเดลธุรกิจ ความหมายของโมเดลธุรกิจดิจิตัล โมเดลธุรกิจดิจิทัลแบบไฮบริด นวัตกรรมโมเดลธุรกิจดิจิตัล กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโมเดลธุรกิจในปัจจุบันที่น่าสนใจ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
 
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 2.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.2 วิธีการสอน
1. สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา 2. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 3. กำหนดงานเป็นกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
1.3 วิธีการประเมินผล
1. การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2. การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม 3. การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
1.มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
2.2 วิธีการสอน
1. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน 2. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป 3.  การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
2.3 วิธีการประเมินผล
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 2. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงานการทดสอบย่อย การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
1.สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้านมีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
3.2 วิธีการสอน
1. การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน 2. การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง 3. การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3.3 วิธีการประเมินผล
1. ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา 2. ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า กรณีศึกษา โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
1.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้ 2.มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
4.2 วิธีการสอน
1. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป 2. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
4.3 วิธีการประเมินผล
1. การรายงานหน้าชั้นเรียนโดยนักศึกษา 2. พฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี ในการทำงานกลุ่ม 3. สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming) การทำงานที่มอบหมายในชั้นเรียน
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
1.สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ 2.สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2 วิธีการสอน
1. จัดให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย 2. ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูล และข้อมูลเชิงตัวเลข ได้ 3. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3 วิธีการประเมินผล
1. การทดสอบย่อยหรือการทำงานกลุ่ม สอบกลางภาคและปลายภาค 2. พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษา การสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร 3. ประเมินจากการสรุป และอภิปรายงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
1.สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
6.2 วิธีการสอน
1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
6.3 วิธีการประเมินผล
1. ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการศึกษากรณีศึกษา การจำลองรูปแบบธุรกิจ หรือสถานการณ์จริง และความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม 2. การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4
1 BBABA237 การจัดการโมเดลทางธุรกิจในยุคดิจิทัล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.2, 3.2, 5.2, 5.3, 6.2 การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค การสอบกลางภาค สัปดาห์ที่ 8 และ การสอบปลายภาค 17 การสอบกลางภาค 20% และ การสอบปลายภาค 20%
2 1.3, 1.4, 2.2, 3.2, 4.1, 4.5, 5.2, 5.3, 6.2 แบบฝึกหัด การวิเคราะห์กรณีศึกษา (เดี่ยว/คู่, กลุ่ม) การอภิปรายกลุ่ม รายงานและการทดสอบย่อยในชั้นเรียน / รายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยใช้สื่อที่เหมาะสม ตลอดภาคการศึกษา 50%
3 1.3, 1.4, 4.1, 4.6 การเข้าชั้นเรียน / การมีส่วนร่วม / การเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดภาคการศึกษา 10%
Business Model Generation Book Writer : Alexander (Alex) Osterwalder
Alex Osterwalder https://www.alexosterwalder.com
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้           1.1 การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา หรือ     1.2 การประเมินการสอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบมหาวิทยาลัย) หรือ           1.3 การเขียนสะท้อนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากนักศึกษา หลังจบบทเรียนในรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ ดังนี้           2.1 การประเมินตนเองหลังการสอน และการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งโดยผู้สอน หรือ           2.2 การประเมินตนเองหลังการสอน จากผลการเรียนของนักศึกษา พิจารณาจากคะแนนสอบ รายงานหรือโครงการที่ได้รับมอบหมาย
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้           3.1 การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบ กรรมการบริหารหลักสูตร และกรรมการสาขาวิชาในสาขาวิชา เป็นผู้ดำเนินการ ดังนี้           4.1 การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา           4.2 การประเมินการสอน โดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย)           4.3 การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมิน ตาม มคอ. 3/ มคอ. 5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ           4.4 การประเมินข้อสอบ การปฏิบัติงานในชั้นเรียน การให้คะแนน ที่มาของเกรด โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรือสาขาวิชา
จากผลการประเมิน และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้           5.1 รายงานผลการทวนสอบสัมฤทธิ์รายวิชา ต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา           5.2 นำผลการทวนสอบสัมฤทธิ์รายวิชา ไปรายงานใน มคอ.5 และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ.3 ในครั้งต่อไป โดยอาจารย์ผู้สอน           5.3 นำผลการทวนสอบไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยหัวหน้าหลักสูตร