เขียนแบบวิศวกรรม

Engineering Drawing

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ มีความเข้าใจ พื้นฐานในการเขียนแบบ อ่านแบบ มีทักษะในงานเขียนแบบ สามารถออกแบบและเขียนแบบสั่งงานได้  โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบ 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในงานเขียนแบบ สามารถออกแบบเขียนแบบสั่งงาน ตามมาตรฐานของงานเขียนแบบ และมีความรู้ในการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบที่มีการใช้งานในอุตสาหกรรม
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการเขียนตัวอักษร การมองภาพ การเขียนภาพออร์โธกราฟิก และการเขียนภาพ 3 มิติ การกำหนดขนาดและพิกัด ความเผื่อ ภาพตัด ภาพช่วยและแผ่นคลี่การสเก็ตภาพด้วยมือ การเขียนภาพแยกชิ้นและภาพประกอบ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบและออกแบบ
จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล อาจารย์ผู้สอนประจำวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม ในชั่วโมงปฏิบัติการ
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา 
1.1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.3 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับงานการเขียนแบบ สอนให้นักศึกษาตระหนักในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต เป็นผู้มีความรับผิดชอบและตรงเวลาจากการมอบหมายงาน การส่งงาน การเข้าชั้นเรียน การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม 
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2 พฤติกรรมระหว่างเรียน การตอบคำถาม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน  
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ 
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และ การสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหา ของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม 2.1.3 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือ ที่เหมาะสม
ทดสอบความรู้ของผู้เรียนก่อนและหลังเรียน สอนบรรยายและสาธิตการใช้งานโปรแกรมในการเขียนแบบ ถาม-ตอบและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน ทำแบบฝึกหัดในชั่วโมงปฏิบัติ จัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความรู้ในการใช้คำสั่งต่างๆ ในการเขียนแบบ และทฤษฏีเขียนแบบ 2.3.2 ประเมินจากการเขียนแบบงานตามใบงานปฏิบัติ และงานที่ได้รับมอบหมาย
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา 
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3.1.2 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1 มอบหมายงานการอ่านแบบและเขียนแบบจากแบบงาน (drawing) หรือชิ้นงานจริง ให้นักศึกษาฝึก 3.2.2 มอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด การจินตนาการ 
3.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความรู้ในการใช้คำสั่งต่างๆ ในการเขียนแบบ และทฤษฏีเขียนแบบ 3.3.2 ประเมินจากการเขียนแบบงานตามใบงานปฏิบัติ และงานที่ได้รับมอบหมาย
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ ภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อ สังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม 4.1.2 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคล และงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมี ประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัว ได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.2.1 ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น เพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล 4.2.2 ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สังเกตพฤติกรรมการทำงาน การแสดงความคิดเห็นความรับผิดชอบในการทำงาน การดูแลรักษอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และความตรงต่อเวลาในการส่งงาน
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.1.2 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้ สัญญลักษณ์
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง 5.2.2 ให้นักศึกษาฝึกอ่านพิกัดจากแบบงานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณเชิงตัวเลข
5.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความรู้ในการใช้คำสั่ง ต่างๆ ในการเขียนแบบ และทฤษฏีเขียนแบบ 5.3.2 ประเมินจากการเขียนแบบงานตามใบงานปฏิบัติ และงานที่ได้รับมอบหมาย
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย 
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา สำหรับ เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.2.1 ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีความประณีต
6.3.1 สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและจดบันทึก 6.3.2 ประเมินจากการเขียนแบบงานตามใบงานปฏิบัติ และงานที่ได้รับมอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การวัดผลความรู้ทฤษฏีเขียนแบบและ การเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9, 16 ,17 10% 25% 25%
2 การฝึกปฏิบัติตามใบงานปฏิบัติ และงานที่ได้รับมอบหมาย การฝึกปฏิบัติการ การศึกษาค้นคว้า ตลอดภาคการศึกษา 15 สัปดาห์ ไม่รวมสัปดาห์สอบ 30%
3 การมีส่วนร่วมในการเรียน การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน (*การเข้าเรียนต่ำกว่า 80% ของเวลาเรียนทั้งหมดจะหมดสิทธิ์สอบปลายภาค) ตลอดภาคการศึกษา 10%