พื้นฐานทางหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

Fundamentals of Industrial Robotics

1.1 เพื่อให้นักศึกษาสามารถรู้วิวัฒนาการของหุ่นยนต์พร้อมทั้งสามารถดําเนินกิจกรรมสืบค้นที่มาของหุ่นยนต์ได้
1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจประเภทของหุ่นยนต์และการใช้งานหุ่นยนต์ในลักษณะงานต่างๆ 
1.3 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เบื้องต้นในระบบกลไกของหุ่นยนต์การออกแบบระบบกลไก การควบคุม ระบบกลไกและการวิเคราะห์ระบบกลไกลของการออกแบบหุ่นยนต์ขนาดเล็ก
1.4 เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ออกแบบระบบหุ่นยนต์จําลองขนาดเล็กที่ใช้ในลักษณะงานต่างๆหรือใน ชีวิตประจําวัน
-
ศึกษาและปฎิบัติเกี่ยวกับการทำงานของหุ่นยนต์ โครงสร้าง การจำแนกการใช้งาน การเคลื่อนที่ การแทนตำแหน่งและทิศทางการหมุนของหุ่นยนต์แต่ละชนิด หลักความปลอดภัยและหลักการบำรุงรักษาการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรม การตั้งค่าของหุ่นยนต์ เครื่องควบคุมหุ่นยนต์ การใช้งานหุ่นยนต์แต่ละชนิดด้วยโปรแกรมจำลองการเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ในรูปแบบต่างๆ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)  แก้ไข
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์ และการไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ต่อการเรียน โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้ ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลการทดลองปฏิบัติงานด้านอิเล็กทรอนิกส์และแก้ไขในปัญหาในการทำงาน มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ สอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในรายวิชา และส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา ที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม ความมีวินัยและความใส่ใจของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ หุ่นยนต์  และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม 
2.1.3 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม 
2.1.4 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
ศึกษาและปฎิบัติเกี่ยวกับการทำงานของหุ่นยนต์ โครงสร้าง การจำแนกการใช้งาน การเคลื่อนที่ การแทนตำแหน่งและทิศทางการหมุนของหุ่นยนต์แต่ละชนิด หลักความปลอดภัยและหลักการบำรุงรักษาการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรม การตั้งค่าของหุ่นยนต์ เครื่องควบคุมหุ่นยนต์ การใช้งานหุ่นยนต์แต่ละชนิดด้วยโปรแกรมจำลองการเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ในรูปแบบต่างๆ
บรรยายทำงานของหุ่นยนต์และแสดงตัวอย่างการคำนวณ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดในห้องเรียนและนำเสนอวิธีการคำนวณการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ ในแบบฝึกหัดหลังการบรรยายแต่ละหัวข้อเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตามเจตนาของผู้สอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์และต้องอาศัยความเข้าใจ วัดผลจากการประเมินการปฎิบัติการทดลองการควบคุมหุ่นยนต์ตามบทเรียนแต่ละบทในห้องเรียน สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา 
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาการควบคุมหุ่นยนต์ได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
3.1.4 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1 กรณีศึกษาการประยุกต์ใช้การควบคุมการทำงานหุ่นยนต์ในสถานการณ์ต่างๆ  
3.2.2 ให้นักศึกษาค้นคว้า พร้อมทั้งจัดทำรายงานที่ได้จากการค้นคว้า
3.3.1 การทดสอบย่อยสอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน 
3.3.2 ประเมินจากรายงานที่ได้รับมอบหมาย
3.3.3 ประเมินจากการนำเสนอผลการทดลอง
4.1.1 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 
4.1.2 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.2.1 แบ่งกลุ่มให้ทำงานตามที่มอบหมาย    
4.2.2 ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม
4.3.1 ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ     
4.3.2 ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน 
4.3.3 ประเมินจากพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็น และการตอบคำถามระหว่างกิจกรรมการเรียน
5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 
5.1.2 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 
5.1.3 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเนื้อหาเพิ่มเติมด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning 
5.2.2 ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.1 ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์ที่เหมาะสม
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 สาธิตการปฏิบัติการทางด้านวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์โดยผู้เชี่ยวชาญ  6.2.2 ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีความประณีต
6.3.1 สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและจดบันทึก  6.3.2 พิจารณาผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งงานที่มอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ความรู้ 2.ทักษะ 3.จริยธรรม 4.ลักษณะบุคคล
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 ENGRA001 พื้นฐานทางหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม 1. การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน 2. การส่งการบ้านและงานที่ได้รับมอบหมาย ทุกสัปดาห์ 10
2 ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 1. การทดสอบย่อย 2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 9 และ 17 60
3 ด้านทักษะพิสัย และด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การทำใบงาน และการปฏิบัติงานในคาบเรียน ทุกสัปดาห์ 30
1. หนังสือ "หุ่นยนต์อุตสาหกรรม", บุญธรรม ภัทราจารุกุล, 2555.
2. หนังสือ "แมคคาทรอนิกส์เบื้องต้น", บุญธรรม ภัทราจารุกุล, 2563.
3. Textbook: "Industrial Robotics & Mechatronics Applications", Dr.Dechrit Maneetham, 2020.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ประเมินจากแบบประเมินผู้สอน แบบประเมินรายวิชา และการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้  ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ