วงจรพัลส์และสวิตชิ่ง

Pulse and Switching Circuits

1. เข้าใจคุณสมบัติเบื้องต้นของรูปคลื่น 2. เข้าใจหลักการทำงานของวงจรอินติเกรเตอร์ วงจรดิฟเฟอร์เรนซิเอเตอร์ วงจรคลิปเปอร์ วงจรแคลมเปอร์ วงจรแซมปลิ้งเกต วงจรสวีพเปอร์ วงจรทรานซิสเตอร์สวิตซ์ วงจรกลับสัญญาณ วงจรมัลติไวเบรเตอร์ วงจรชมิตทริกเกอร์ 3. คำนวณหาค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของวงจรอินติเกรเตอร์ วงจรดิฟเฟอร์เรนซิเอเตอร์ วงจรคลิปเปอร์ วงจรแคลมเปอร์ วงจรแซมปลิ้งเกต วงจรสวีพเปอร์ วงจรทรานซิสเตอร์สวิตซ์ วงจรกลับสัญญาณ วงจรมัลติไวเบรเตอร์ วงจรชมิตทริกเกอร์ 4. มีทักษะในการประกอบวงจร แก้ปัญหา และใช้เครื่องมือในการวัดและทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ตามหัวเรื่องที่ศึกษา 5. เห็นคุณค่าของการมีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม และการทำงานเป็นทีม
1. ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กรอบแนวคิดแบบ CDIO มาประยุกต์ใช้ โดยการเลือกหน่วยเรียน/บทเรียนที่เหมาะสมสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนของรายวิชาต่อไป 2. ปรับปรุงวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกิจกรรมในการการจัดการเรียนการสอน และผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่จะเกิดขึ้นหลังจากการจัดการเรียนการสอน
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรูปคลื่น วงจรอินทิเกรเตอร์ วงจรดิฟเฟอเรนซิเอเตอร์ วงจรคลิปเปอร์ วงจรแคลมเปอร์ วงจรทรานซิสเตอร์สวิตช์ วงจรกลับสัญญาณ วงจรมัลติไวเบรเตอร์ วงจรชมิตทริกเกอร์ วงจรแซมปลิ้งเกต วงจรสวีพเปอร์
1. อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์/กลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชา และหน้าห้องพัก 2. อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ) และกลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชา สามารถขอปรึกษาตลอดเวลาโดยที่ผู้สอนจะคอยตอบคำถามหรือให้คำปรึกษาตามความเหมาะสม
1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
2. วินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
3. มีความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดข้อง ขัดแย้งและ ลำดับความสำคัญ
4. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นข้อผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็น มนุษย์
5. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
6. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจาการใช้เทคโนโลยีอุตสาหกรรม ต่อบุคคล องค์กร และ สังคม
7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1. บรรยายสาธิต พร้อมยกตัวอย่าง
2. กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มโดยฝึกปฏิบัติจริง
3. อภิปรายกลุ่ม
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2. พฤติกรรมระหว่างการทำงานกลุ่ม การนำเสนอและอภิปราย โดยผู้สอนอาจซักถามประเด็นด้าน จริยธรรม
3. ประเมินผลการวิเคราะห์และออกแบบกรณีศึกษา
1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาเทคโนโลยี อุตสาหกรรม
2. สามารถวิเคราะห์ปัญหาเข้าใจและอธิบายความต้องการทางอุตสาหกรรม รวมทั้งประยุกต์ ความรู้ ทักษะ การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหา
3. สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ ประเมินงานทางด้านอุตสาหกรรม ให้ตรง ตามข้อกำหนด
4. สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ ประเมินงานทางด้านอุตสาหกรรม ให้ตรง ตามข้อกำหนด
5. รู้เข้าใจ และสนใจพัฒนาความรู้ ความช านาญการทางด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอย่าง สม่ำเสมอ
6. มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และ เข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
7. มีประสบการณ์ในการพัฒนาและการประยุกต์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาความรู้ทาง เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
8. สามารถบูรณาการความรู้ทางด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมกับความรู้ศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย สาธิต ปฏิบัติ ยกตัวอย่างและสอนโดยใช้ PBL โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้กรณีศึกษา นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มโดยฝึกปฏิบัติจริง
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบ
2. นำเสนอผลการทำงานกรณีศึกษา
1. คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
2. สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สามารถสืบค้น
3. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
4. สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม
5. การวัดมาตรฐานในข้อนี้สามารถท าได้โดยการออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดของการ แก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา
บรรยาย ให้กรณีศึกษา กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มโดยฝึกปฏิบัติกับงานจริง
นำเสนอผลการทำงานกรณีศึกษา และ การอภิปรายกลุ่ม
1. พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2. สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ใน
3. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้น าสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4. มีความรับผิดชอบในการกระท าของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
5. สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้ง แสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
6. มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มโดยฝึกปฏิบัติจริงในการวิเคราะห์โดยใช้วิธีเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ ผสมผสาน PBL เน้น Project Base Learning
นำเสนอผลการทำงานกรณีศึกษา และตอบข้อซักถามของอาจารย์
1. มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันการทำงานที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยการใช้สารสนเทศทางคณิตสาสตร์หรือการ แสดงสถิติประยุกต์ ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
3. สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้ในรูปแบบข้อ สื่อ และการนำเสนออย่างเหมาะสม
4. สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่มโดยฝึกปฏิบัติจริงในการวิเคราะห์และนำเสนอผลการทำงาน กรณีศึกษา จัดส่งรายงานทางเทคนิค
1. นำเสนอผลการทำงานกรณีศึกษา และตอบข้อซักถามของอาจารย์
2. ตรวจรายงานทางเทคนิค
1. มีทักษะการวิเคราะห์และออกแบบวงจรพัลส์และสวิตชิ่งจริงในเบื้องต้น
2. มีทักษะในการเลือกใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์งจรพัลส์และสวิตชิ่ง
1. ให้ผู้เรียนคิดรูปแบบวิธีการวิเคราะห์และออกแบบวงจรพัลส์และสวิตชิ่งด้วยตนเองจากกรณีศึกษา
2. มอบหมายงานให้ผู้เรียนจำลองวงจรพัลส์และสวิตชิ่งในโปรแกรมเพื่อช่วยในการวิเคราะห์และออกแบบวงจรพัลส์และสวิตชิ่งเบื้องต้น
1. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
2. ประเมินจากการปฏิบัติการทดลองวงจรพัลส์และสวิตชิ่งตามบทเรียนแต่ละบทในห้องเรียน
3. ประเมินจากการทดสอบย่อย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคลและความ รับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิง ตัวเลข การสื่อสาร และ การใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ 6. ทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGEL114 วงจรพัลส์และสวิตชิ่ง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.6, 1.7, 2.1,2.4 – 2.6, 3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 3 ทดสอบย่อยครั้งที่ 4 สอบปลายภาค 3 6 9 11 15 17 5% 5% 25% 5% 5% 25%
2 1.1, 1.6, 1.7,2.1, 2.4 – 2.6, 3.2, 4.1 – 4.6, 5.3-5.4 วิธีการวิเคราะห์ปัญหา การปฏิบัติการทดลองใบงาน และการสอบปฎิบัติการทดลอง ตลอดภาคการศึกษา และ สัปดาห์ที่ 16 15% 10%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5%
1. หนังสือ วงจรพัลส์และสวิตชิง, พันธ์ศักดิ์ พุฒิมานิตพงศ์และคณะ, 2562
2. Textbook: "Pulse and Digital Circuits", Venkata Rao K., Rama Sudha K., Manmadha Rao G., 2010
-
-
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 3. ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 1. การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2. ผลการเรียนของนักศึกษา 3. การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ