สถิติวิศวกรรม
Engineering Statistics
ศึกษาและทบทวนความรู้พื้นฐานด้านสถิติวิศวกรรม เช่น ทฤษฏีความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่ม การสุ่มตัวอย่าง การประมาณค่าสถิติ เข้าใจวิธีการตัดสินใจแบบมีการทดลองและไม่มีการทดลอง รู้วิธีการทดสอบสมมติฐานแบบพาราเมตริกและแบบนอนพาราเมตริก สามารถวิเคราะห์ความแปรปรวนเนื่องจากปัจจัยเดียวและสองปัจจัยได้ สามารถใช้ตัวแบบอนุกรมเวลา สามารถวิเคราะห์การถดถอย สหสัมพันธ์ และเข้าใจการออกแบบการทดลองทางสถิติเบื้องต้น
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้วิธีการทางสถิติเพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จึงมีการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้และตัวอย่างอ้างอิงให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบการผลิตที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและทบทวนความรู้พื้นฐานด้านสถิติวิศวกรรม เช่น ทฤษฏีความน่าจะเป็นตัวแปรสุ่ม การสุ่มตัวอย่าง การประมาณค่าสถิติ ศึกษาการตัดสินใจแบบมีการทดลองและไม่มีการทดลอง การทดสอบสมมติฐาน แบบพาราเมตริก และแบบนอนพาราเมตริก การวิเคราะห์ความแปรปรวนเนื่องจากปัจจัยเดียว และสองปัจจัยแบบอนุกรมเวลา การวิเคราะห์การถดถอย สหสัมพันธ์ และการออกแบบการทดลองทางสถิติเบื้องต้น
อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาในชั่วโมงว่างของการเรียนการสอน จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะกรณีรายที่ต้องการ)
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | การวัดความรู้ทฤษฎี | สอบกลางภาค สอบปลายภาค | 9,17 | 25%, 25% |
2 | การฝึกปฏิบัติตาม ใบงานและงานที่ได้รับมอบหมาย | การฝึกปฏิบัติ การศึกษาค้นคว้า งานที่ได้รับมอบหมาย | ตลอดภาคการศึกษายกเว้นสัปดาห์สอบ | 20%, 20% |
3 | การมีส่วนร่วมในการเรียน | การฝึกปฏิบัติ การศึกษาค้นคว้า งานที่ได้รับมอบหมาย | ตลอดภาคการศึกษา | 10% |
“สถิติวิศวกรรม”, ประไพศรี และ พลศ์ชนัน, สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด, 2549
Power Point Presentation ทฤษฏีสถิติวิศวกรรม
Engineering Statistics”, Montgomery, D. C., Runger, G. C., & Hubele, N. F., 5th Edition, John Wiley & Sons., Asia, 2012