การภาษีอากร 2

Taxation 2

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับวิธีการบัญชีสำหรับรายการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประมวลรัษฎากร สำหรับผู้ประกอบธุรกิจประเภทบุคคลธรรมดา การยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี และสิ้นปี
1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวและความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีของธุรกิจ และความเกี่ยวข้องกันกับการคำนวณภาษีสำหรับผู้ประกอบธุรกิจประเภทนิติบุคคลได้แก่
- การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย การบันทึกรายการทางบัญชี และการแสดงรายงานในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
- การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม การบันทึกรายการทางบัญชี และการแสดงรายงานในแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
- การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของกิจการ การจัดทำกระดาษทำการเพื่อปรับปรุงกำไรทางบัญชีเป็นกำไรทางภาษี การบันทึกรายการทางบัญชี และการแสดงรายงานในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี และสิ้นปี
1.3 เพื่อให้นักศึกษาทำการศึกษาค้นคว้า การคำนวณภาษี และการแสดงแบบรายการทางภาษีของกิจการ รวมทั้งให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ภาษีสรรพากร
2.1 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะด้านการคำนวณภาษีสรรพากร บันทึกรายการทางบัญชีและจัดทำเอกสารทางบัญชีให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และสอดคล้องกับที่ประมวลรัษฎากรกรกำหนด
2.2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาแนวคิดและความแตกต่างระหว่างเกณฑ์การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชี และการภาษีอากร  การจัดทำกระดาษทำการเพื่อคำนวณภาษีเงินได้
ตามประมวลรัษฎากรสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคล การปรับปรุงกำไรทางบัญชีเป็นกำไรทางภาษีอากรเพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีให้ครบถ้วนถูกต้อง  การบัญชีสำหรับ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ การจัดทำรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษีสรรพากรและการยื่นแบบแสดงรายการภาษีสรรพากร
ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษีระหว่างประเทศ และการวางแผนภาษีเบื้องต้น
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) - อาจารย์ให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาผ่านทางโทรศัพท์ (089-6360048) อีเมล์ yupha_pirison@hotmail.com โดยแจ้งหมายเลขและอีเมล์ให้นักศึกษาทราบ
นักศึกษาสามารถขอคำปรึกษาได้ผ่านทางเฟสบุ๊คกลุ่ม Taxation2 (เทียบโอน),
Taxation2 (เทียบโอน), หรือทาง Message Facebook
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1) มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
2) ตระหนักถึงจรรยาบรรณของนักบัญชีที่ดี ที่มีต่อหน้าที่ในการชำระภาษีสรรพากร
3) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
4) สามารถปฏิบัติตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ และข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียนได้
1.2 วิธีการสอนที่จะใช้พัฒนาการเรียนรู้
1)สอนหัวข้อจรรยาบรรณของนักบัญชี และยกตัวอย่างผลเสียหายของการตกแต่งตัวเลขทางบัญชีที่ส่งผลต่อการเสียภาษีสรรพากร และให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีเกี่ยวกับการตกแต่งตัวเลขทางบัญชีเพื่อเสียภาษีอย่างไม่ถูกต้อง และนำมาอภิปรายกันในชั้นเรียนสัปดาห์ละ 3 เรื่อง โดยใช้เวลาประมาณ 15 นาทีก่อนการเรียนเนื้อหารายวิชา
2) กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ได้แก่ ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียน การเข้าชั้นเรียน การสอบ การทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม การทำโจทย์ปัญหา และการแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ
1.3 วิธีการประเมินผล
1) ประเมินจากการแสดงความคิดเห็นในเชิงคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพจากการอภิปรายของนักศึกษา
2) ประเมินจากการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียนก่อนการสอนทุกสัปดาห์ การประเมินผลการสอบกลางภาค โดยทดสอบความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี การติดตามการส่งรายงานเป็นช่วงเวลาที่กำหนดให้ การตรวจสมุดบัญชี และการตรวจเครื่องแต่งกายของนักศึกษา
2.1 ความรู้ที่จะได้รับ
1) มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางบัญชี
2) แนวคิดและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีเพื่อภาษีอากร ได้แก่ การคำนวณภาษี การบันทึกบัญชี และเอกสารทางภาษีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีเงินได้นิติบุคคล
3) มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
4) มีความรู้เกี่ยวกับประมวลรัษฎากร ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินหัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ การจัดทำแบบแสดงรายงานทางภาษีสรรพากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับภาษีสรรพากร เช่น สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับกิจการที่ได้รับบัตร BOI เป็นต้น
5) สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
6) สามารถวิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากรในปัจจุบันที่มีต่อการบัญชีของธุรกิจ
2.2 วิธีการสอน
1) บรรยาย ยกตัวอย่าง และถาม – ตอบในชั้นเรียน 2) โจทย์ปัญหา 3) รายงานกลุ่ม 4) มอบหมายงานให้นักศึกษาติดตามประกาศกรมสรรพากรและวิเคราะห์ผลกระทบที่มีต่อการบัญชี
2.3 วิธีการประเมินผล
1) การตอบคำถามในชั้นเรียน 2) การทำโจทย์ปัญหาการรายงาน (งานกลุ่ม) 3) การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 4) คุณภาพของงานที่มอบหมาย
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา 1) สามารถสืบค้น ประมวลข้อมูล หลักฐาน แนวคิดต่างๆ ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาได้ด้วยตนเอง -สามารถสืบค้นข้อมูลทั้งจากอินเตอร์เน็ตและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อการใช้ในการวิเคราะห์ และการทำรายงานกลุ่มได้ เช่น การหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ รายงานทางการเงินของกิจการได้ เป็นต้น 2) สามารถประยุกต์ความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพ และดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ - สามารถคำนวณและวิเคราะห์ภาษีจากข้อมูลที่สืบค้นได้ โดยการวิเคราะห์จากงบการเงินของกิจการตามวิธีการที่สรรพากรกำหนดได้อย่างเหมาะสม 3) สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน - สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผล เกี่ยวกับข้อมูลของกิจการ และนำเสนอได้
3.2 วิธีการสอน
1) การบรรยาย ยกตัวอย่าง และการถาม – ตอบในชั้นเรียน 2) การอภิปรายเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย 3) การนำเสนอรายงาน (งานกลุ่ม)
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค 3.3.2 วัดผลจากการค้นคว้า การนำเสนอผลงาน 3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ - สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้ ตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ 2) มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี - สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมกลุ่ม (การทำรายงานกลุ่ม) ได้โดยราบรื่น 3) สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมงาน - สามารถช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหาในการจัดทำรายงานได้ด้วยความสามัคคีร่วมมือร่วมใจ
มอบหมายงานกลุ่ม เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ แบ่งเป็น 6 ธุรกิจ ได้แก่ - ธุรกิจธนาคารและธุรกิจเยี่ยงธนาคาร - ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ - ธุรกิจรับประกันชีวิต - ธุรกิจแฟคเตอร์ริ่ง - ธุรกิจโรงรับจำนำ - ธุรกิจค้าอสังหาริมทรัพย์ โดยให้ตัวแทนกลุ่มจับฉลากธุรกิจ เพื่อจัดทำเป็นรูปเล่มรายงาน สื่อประกอบการรายงาน และนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน โดยดำเนินการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนด โดยมีการวางแผนการจัดทำรายงานและรายงานผลความก้าวหน้าของรายงาน
1) นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่มตนเอง 2) ระบบการจัดทำรายงาน คุณภาพของเล่มรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 1) มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง - สามารถใช้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการคำนวณภาษี เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลรายงานทางการเงิน โดยการอธิบายวิธีการ แนวคิดที่ใช้ในการวิเคราะห์ และคำนวณภาษีได้อย่างเหมาะสม 2) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน - สามารถนำเสนอรายงานที่ศึกษาค้นคว้า ทั้งในรูปแบบของการเขียนรายงาน และการนำเสนอข้อมูลหน้าชั้นเรียนโดยวาจาได้อย่างเหมาะสม 3) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ - สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวมข้อมูลรายงาน และเทคนิคการนำเสนอรายงานได้อย่างเหมาะสม
1) มอบหมายงานกลุ่ม เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ แบ่งเป็น 6 ธุรกิจ ได้แก่ - ธุรกิจธนาคารและธุรกิจเยี่ยงธนาคาร - ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ - ธุรกิจรับประกันชีวิต - ธุรกิจแฟคเตอร์ริ่ง - ธุรกิจโรงรับจำนำ - ธุรกิจค้าอสังหาริมทรัพย์ โดยให้ตัวแทนกลุ่มจับฉลากธุรกิจ เพื่อจัดทำเป็นรูปเล่มรายงาน สื่อประกอบการรายงาน และนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน โดยดำเนินการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนด โดยมีการวางแผนการจัดทำรายงานและรายงานผลความก้าวหน้าของรายงาน 2) โจทย์ปัญหา
1) ระบบการจัดทำรายงาน คุณภาพของเล่มรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน 2) ผลจากการแก้โจทย์ปัญหา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BACAC159 การภาษีอากร 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 การทดสอบก่อนเรียน การทดสอบย่อย สอบกลางภาค การสอบปลายภาค 1, 2-4-11, 8, 17 10% 20% 25% 30%
2 2,3,4,5 รายงาน และ การนำเสนอหน้าชั้นเรียน 3 10%
3 1,2,3,4,5 การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามข้อตกลง ทุกสัปดาห์ 5%
นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และสิงห์ชัย อรุณวุฒิพงศ์,2558
มาตรฐานการบัญชีไทย พรบ.การบัญชี พ.ศ.2543 ประมวลรัษฎากร 2565 พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศ ข้อหารือ
รายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ [Online]. Available:http://www.fap.or.th (สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมถ์) [Online]. Available:http://www.nukbunchee.com (นักบัญชีดอทคอม) [Online]. Available:http://www.rd.go.th (กรมสรรพากร) [Online]. Available:http://www.dbd.go.th (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) [Online]. Available:http://www.set.go.th (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
นักศึกษายังขาดความเข้าใจในหลักการบัญชีกับหลักการภาษีอากร จึงเน้นให้นักศึกษาเข้าใจถึงหลักการบัญชี และ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณภาษี
 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาให้ทันสมัยหรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ