การประยุกต์ใช้ตัวแบบธุรกิจยุคดิจิทัล

Application of Business Model in the Digital Era

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถนำตัวแบบธุรกิจ มาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต การสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่มในตัวสินค้าและบริการ การสร้างเครือข่าย การเชื่อมโยงแนวทางการขยายธุรกิจไปสู่ตลาด สามารถวิเคราะห์และเลือกใช้นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมถึงการสร้างและปรับใช้ตัวแบบธุรกิจในยุคดิจิทัลรวม 3 กลุ่ม ได้แก่ ตัวแบบด้านเทคโนโลยี ตัวแบบด้านสังคม ตัวแบบด้านการจัดการองค์การ ตามความเหมาะสมของขอบข่ายงาน
นักศึกษาเข้าใจ และสามารถประยุกต์ใช้ตัวแบบธุรกิจในยุคดิจิทัล รวม 3 กลุ่ม ได้แก่ ตัวแบบด้านเทคโนโลยี ตัวแบบด้านสังคม ตัวแบบด้านการจัดการองค์การ เพื่อเชื่อมโยงการทำธุรกิจและขยายธุรกิจในอนาคต โดยสามารถเลือกใช้ตัวแบบทั้ง 3 กลุ่ม ในการสร้างสรรค์สินค้าและบริการ ตลอดจนเพิ่มมูลค่าได้
ตัวแบบธุรกิจ การยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต การสร้างสรรค์มูลค่าและคุณค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ การสร้างเครือข่าย เพื่อเชื่อมโยงขยายธุรกิจไปสู่การค้าระดับสากล การวิเคราะห์และเลือกใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมถึงการสร้างตัวแบบธุรกิจยุคดิจิทัล 3 กลุ่ม ได้แก่ ตัวแบบด้านเทคโนโลยี ตัวแบบด้านสังคม ตัวแบบด้านการจัดการองค์การ
1 ชม./สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
(1) มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสํานึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
(2) มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
(3) มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทํางานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง และลําดับความสําคัญ
(1) จัดกิจกรรมในรายวิชา และสอดแทรกเนื้อหาให้นักศึกษาตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรม การมีจิตสาธารณะ
(2) ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัย โดยการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
(3) กฎเกณฑ์ในรายวิชา ได้แก่ ระเบียบการลงโทษผู้ทุจริตการสอบ โดยการสอดแทรกในระหว่างการเรียนการสอน
(4) กำหนดการทำงานที่หลากหลาย ทั้งงานเดี่ยว และกลุ่ม ตลอดจนสังเกตพฤติกรรมในการทํางานร่วมกันในรายวิชา การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันของผู้เรียน
(1) ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
(2) การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
(3) การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
(1) มีความรู้ และความเข้าใจในสาระสําคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะในการวิเคราะห์ กแ้ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องโดยการประยุกต์ความรู้ที่ได้ในรายวิชา และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาและการดํารงชีวิตประจําวันได้
(2) มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ มีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และสามารถคาดเดาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเท่าทัน
(1) จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญเข้ามาบรรยายร่วมในการเรียนการสอนในบางหัวข้อ เพื่อให้เกิดความหลากหลายของเนื้อหา ตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชา
(2) มุ่นเน้นการเรียนรู้จากสถานการณ์และกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง โดยมอบหมายให้ทํารายงาน สรุปงาน ซึ่งต้องอภิปรายและนําเสนอร่วมกันหน้าชั้นเรียน
(3) การบรรยายในชั้นเรียน ถาม-ตอบ แลกดปลี่ยนร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
(1) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
(2) ผลงานจากการค้นคว้าและการนําเสนองานรายหน่วย
(3) ประเมินจากงานที่มอบหมาย
(4) ประเมินจากการนําเสนอผลงาน
(5) การตอบคำถาม การมีส่วนร่วมอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
(1) สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทําให้เกิดการได้เปรียบทางการ แข่งขันทางธุรกิจ
(2) คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการ ความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
(1) มีกรณีศึกษาทางการจัดการ และกรณีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และกําหนดให้นักศึกษารู้จักวางแผนการทํางานเป็นทีม
(2) มอบหมายงานให้มีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและจัดให้มีการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
(3) กรณีศึกษาวิเคราะห์จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
(1) ประเมินจากการนําเสนองาน
(2) งานมอบหมายในชั้นเรียน โดยแทรกแนวคิดการแก้ปัญหา โดยให้เกิดการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา
(3) การตอบคำถามร่วม และการตั้งข้อสังเกตของนักศึกษาในชั้นเรียน
(1) มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทํางานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
(2) มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
(1) ใช้การสอนโดยสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดี 
(2) จัดให้นักศึกษาได้ทํากิจกรรมเป็นกลุ่มโดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นําและผู้ตาม
(3) มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันระหว่างการทํางาน
(1) การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
(2) ประเมินจากพฤติกรรมการทํากิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
(3) ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
(4) สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
(1) สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อ เทคนิค วิธีการ เครื่องมือสื่อสาร และเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนําเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
(2) สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จําเป็นต่อการทําธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(1) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
(2) มีการนําเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
(3) ส่งเสริมการค้นคว้าเรียบเรียงข้อมูลและนําเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสําคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลเสมอ 
(4) บูรณาการการใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่าย หรือสื่อต่าง ๆ ในรายวิชาที่สามารถทําได้
(1) การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
(2) ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และการเลือกนําเสนอด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
(3) ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้น อ้างอิงแหล่งข้อมูล ได้อย่างถูกต้อง
(4) ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงาน/กิจกรรม ที่มอบหมายร่วมกัน
(1) สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดําเนินงานของธุรกิจ สามารถแก้ไขปัญหา ศึกษาค้นคว้า ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
(1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ร่วมกับการเรียนภาคทฤษฎี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์จากสถานการณ์จริง หรือ สถานการณ์เสมือนจริง จากกรณีศึกษามอบหมาย และให้นําเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
(1) พฤติกรรมที่แสดงออก ในการร่วมกิจกรรม 
(2) การนำเสนองาน โดยสามารถเลือกใช้ภาษาและการสื่อสารในบริบทที่เหมาะสม เกิดการคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ บนฐานข้อมูลที่เชื่อถือได้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4
1 BBABA233 การประยุกต์ใช้ตัวแบบธุรกิจยุคดิจิทัล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยที่ 1 - 6 แบบทดสอบกลางภาค แบบทดสอบปลายภาค 9 17 55%
2 ทุกหน่วยการเรียนรู้ คะแนนการส่งงาน/งานมอบหมาย กิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน การวิเคราะห์กรณีศึกษา รายงานและการนำเสนองาน ตลอดภาคการศึกษา 35%
3 ทุกหน่วยการเรียนรู้ คุณธรรมจริยธรรม การเคารพกฎกติกา การแต่งกาย การเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลา การมีส่วนร่วม ความสนใจ และการตอบสนองในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
- บุญเลิศ วัจจะตรากุล. (2565). การทำธุรกิจในยุคดิจิทัล: เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจด้วยเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
- ศิรินัทน์ เหลืองภิรมย์. (2564). พื้นฐานธุรกิจดิจิทัล. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).
ไม่มี
- เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ตัวแบบธุรกิจในยุคดิจิทัล
 
(1) การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา
(2) การประเมินการสอนโดยนักศึกษา
(3) การเขียนสะท้อนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากนักศึกษาหลังการเรียนการสอน
(1) คะแนนผลสัมฤทธิ์โดยรวม
(2) การประเมินตนเองหลังการสอน และการทำกิจกรรมร่วมกันในชั้นเรียนแต่ละครั้ง
(3) การประเมินตนเองหลังการสอน จากผลการเรียนของนักศึกษา พิจารณาจากคะแนนสอบ ความเข้าใจ การจัดทำรายงาน การนำเสนองานที่มอบหมาย
(4) สังเกตการณ์สอน จากความสนใจของนักศึกษา
(1) กิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
(2) ปรับปรุงเนื้อหา ตัวอย่าง กรณีศึกษา ให้น่าสนใจ และเป็นปัจจุบัน ในแต่ละภาคการศึกษา
(3) พัฒนารูปแบบ วิธีการเรียน และสื่อการเรียนสอน
(1) การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา
(2) การประเมินการสอนของอาจารย์ผู้สอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย)
(3) การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมิน ตาม มคอ.3 / มคอ.5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ
(4) การประเมินข้อสอบ การปฏิบัติงานในชั้นเรียน การให้คะแนน ที่มาของเกรด โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรือหัวหน้าหลักสูตร
(1) รายงานผลการทวนสอบสัมฤทธิ์รายวิชา ต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา
(2) นำผลการทวนสอบสัมฤทธิ์รายวิชา ไปรายงานใน มคอ.5 และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ.3 ในครั้งต่อไป
(3) นำผลการทวนสอบไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรร่วมกันระหว่างผู้สอนและหัวหน้าหลักสูตร
(4) ปรับหัวข้อเรียนการสอนในบางหน่วยเรียน หรือในบางประเด็นตามผลการเรียนรู้ ให้ทันสมัย และเป็นปัจจุบัน