การฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรมเครื่องมือกล

Basic Machine Tool Engineering Training

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเครื่องมือวัด เช่น เครื่องมือวัดทั่วไป เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ ไมโครมิเตอร์ เป็นต้น เครื่องมือกลพื้นฐาน เช่น เครื่องเจาะตั้งโต๊ะ เป็นต้น การเชื่อมประสาน เครื่องมือทั่วไป เช่น งานร่างแบบ งานเลื่อยมือ งานตะไบ เป็นต้น และหลักการปฏิบัติงานพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมอย่างปลอดภัย เพื่อให้สามารถปฏิบัติการทำงานโดยใช้เครื่องมือให้ถูกต้อง เพื่อจะได้นำความรู้ ความสามารถไปใช้ในการประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม และเป็นพื้นฐานในการใช้เครื่องมือเครื่องจักรในขั้นสูงต่อไป และได้ทำการปลุกผังจิตสำนึกให้นักศึกษาเอาใจใส่ ให้ความสำคัญของ การตรงต่อเวลา มีระเบียบวินัย ด้วย
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม เมื่อถึงเวลาได้ไปปฏิบัติงานจะสามารถนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุง แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานได้ ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานอย่างหนึ่งของอาชีพวิศวกรด้านอุตสาหกรรม ผู้สอนได้ดำเนินการจัดแผนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทุกหัวข้อของรายวิชา และเป็นแนวทางให้นักศึกษาได้มีการเตรียมความพร้อมในการศึกษาล่วงหน้า และทางผู้สอนเองก็ต้องมี การปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้ทันต่อเทคโนโลยีของการทำงานซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือวัดพื้นฐาน เครื่องมือพื้นฐาน เครื่องมือกลพื้นฐานและอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนความปลอดภัยในโรงงาน
- อาจารย์ประจำรายวิชา แจ้งเวลาให้คำปรึกษา หรือช่องทางในการติดต่อหน้าชั้นเรียน และให้ช่องทางการติดต่อด้าน IT เช่น Line และโทรศัพท์มือถือ - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 5 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อย 5 ข้อตามที่ระบุไว้ 1.1.1   เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต 1.1.2   มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.3   มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.4   สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม 1.1.5   มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นในการสอนรายวิชาของสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ยังได้สอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวกับจริยธรรม กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับวิชาชีพวิศวกรรมอุตสาหการ และจรรยาบรรณวิศวกรในการสอนด้วย อาจารย์ผู้สอนจะต้องจัดให้มีการวัดมาตรฐานในด้านคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นข้อสอบ อาจจะวัดพฤติกรรมระหว่างทำกิจกรรมที่กำหนดมีการกำหนดคะแนนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนความประพฤติของนักศึกษา  
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
1.3.1   ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม 1.3.2   ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร 1.3.3   ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ 1.3.4   ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับสาขาวิศวกรรมอุตสาหการมีคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษานั้นต้องเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้ 2.1.1   มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.1.2   มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม 2.1.3   สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.1.4   สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม 2.1.5   สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ การทดสอบมาตรฐานนี้สามารถทำได้โดยการทดสอบจากข้อสอบของแต่ละวิชาในชั้นเรียน ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่างๆ คือ 2.3.1   การทดสอบย่อย 2.3.2   การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 2.3.3   ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ 2.3.4   ประเมินจากโครงการที่นำเสนอ 2.3.5   ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้ว ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้ในสาขาวิศวกรรมอุตสาหการในการสอนอาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้ 3.1.1   มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3.1.2   สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3.1.3  สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.4   มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ 3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1   กรณีศึกษาทางการประยุกต์ในสาขางานที่เกี่ยวข้อง 3.2.2   การอภิปรายกลุ่ม หรือการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน 3.2.3   ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์ ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา เป็นต้น
 
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่นๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่างๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างสอน หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ นี้ 4.1.1   สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม 4.1.2   สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ 4.1.3   สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4.1.4   รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสมสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 4.1.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
 
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้ 4.2.1   สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี 4.2.2   มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย                            4.2.3   สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี 4.2.4   มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป 4.2.5 ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.3.1   ประเมินพฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี 4.3.2   ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึก พฤติกรรมเป็นรายบุคคล 4.3.3   ประเมินจากผลงานการอภิปรายและเสวนา 4.3.4 สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1   มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.1.2   มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติ ประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 5.1.3   สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 5.1.4   มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1   จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเรียนรู้เทคนิค การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากลายสถานการณ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในห้องปฏิบัติการ 5.2.2 ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง และให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
5.3.1   ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์ 5.3.2   ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน 5.3.3 สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลและมีการบันทึกเป็นระยะ
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเองและความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตวิศวกรรมอุตสาหการ ดังนั้น ในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการดังข้อต่อไปนี้ 6.1.1   มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้ 6.2.1   สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน 6.2.2   สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
6.3.1   ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์ 6.3.2   ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน 6.3.3 สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลและมีการบันทึกเป็นระยะ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา การฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรม
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา ทักษะ ความรู้
1 ENGTD101 การฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรมเครื่องมือกล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 2. เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 3. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 1. เช็คชื่อเข้าชั้นเรียน 2. สังเกตพฤติกรรมระหว่างทำกิจกรรม 1-18 10%
2 1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมอุตสาหการ 2. มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 1. สอบกลางภาค 2. สอบปฏิบัติ 3. สอบปลายภาค 9, 17, 18 1. สอบกลางภาค 15% 2. สอบปฏิบัติ 10% 3. สอบปลายภาค 15%
3 1. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 2. สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. รายงานเป็นรูปเล่ม 2. การนำเสนอรายงาน 3. แบบฝึกหัดท้ายบท 2 - 8 10 - 16 หรือตามลำดับที่ได้รับมอบหมาย 10%
4 1. รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 2. สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ 1. สังเกตุพฤติกรรมการให้ความร่วมมือ การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ การให้ความช่วยเหลือกันในกลุ่ม 2 - 8 10 - 16 หรือตามลำดับที่ได้รับมอบหมาย 5%
5 1. มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 2. สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ สังเกตุการใช้เครื่องมือต่างๆ ทางด้านสาระสนเทศ มาช่วยในการนำเสนองาน 2 - 8 10 - 16 หรือตามลำดับที่ได้รับมอบหมาย 5%
6 1. มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. ประเมินผลงานจากการทำงาน และผลงานตามใบงานในภาคปฏิบัติ 2 - 8 10 - 16 30%
อนันต์ วงศ์กระจ่าง. เอกสารประกอบการสอน(การฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรม). มปป. วิทยา ทองขาว. งานฝึกฝีมือ 1. กรุงเทพฯ : วี.พริ้นท์ (1991), 2556. อำพัน เมธนาวิน. วัดละเอียด. กรุงเทพฯ : วี.พริ้นท์ (1991), 2556. ศิริชัย ต่อสกุล. เขียนแบบเครื่องกล. กรุงเทพฯ : วี.พริ้นท์ (1991), 2557. ที กรุ๊ฟ อ๊อฟ เอ็นจิเนียร์. ตารางเหล็ก 2. กรุงเทพฯ: มปป. อนุศักดิ์ ฉี่นไพศาล. งานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ส.เอเชียเพรส (1989), 2555. วิชัย โรมโธสง. งานฝึกฝีมือ. 2. กรุงเทพฯ : วังอักษร, 2546. นริศ ศรีเมฆ. งานฝึกฝีมือ. นนทบุรี : เอมพันธ์, 2545. ฝ่ายวิชาการบริษัทสกายบุกส์. งานฝึกฝีมือ. กรุงเทพฯ : สยามสปอร์ต ชินดิเคท, 2547. อำนาจ ทองแสน. ทฤษฎีเครื่องมือกล. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น (2559)
www.pwo.co.th/ewt_dl_link.php?nid=815, เข้าถึง พฤษภาคม 2561.   www.rsu.ac.th/engineer/esc/images/ความปลอดภัย.pdf, เข้าถึง พฤษภาคม 2561. http://php.diw.go.th/safety/wp-content/uploads/2016/02/s58.pdf, เข้าถึง พฤษภาคม 2561. http://eu.lib.kmutt.ac.th/elearning/Courseware/TEN121/chapter4/chapter4.htm, เข้าถึง เมษายน 2561. http://eu.lib.kmutt.ac.th/elearning/Courseware/TEN121/chapter3/chapter3.htm, เข้าถึง เมษายน 2561. http://202.29.239.245/media/welder/2100-1004/lesson/lesson5-3.html, มิถุนายน 2561. https://sites.google.com/site/wanidj/home/6-ngan-leuxy-sawing, เข้าถึง พฤษภาคม 2560 http://kpt-work-work.blogspot.com/p/9.html, เข้าถึง ธันวาคม 2560. https://sites.google.com/site/prakasittid3qqq/si-xen-si/kheruxng-ceiyrani, เข้าถึง ธันวาคม 2560. https://goo.gl/99q6UM, เข้าถึง มกราคม 2561. https://sites.google.com/site/prakasittid3qqq/si-xen-si/kheruxng-ceaa, เข้าถึง เมษายน 2560. ie.eng.cmu.ac.th/IE2014/elearnings/2016_08/195/บทที่5%20เครื่องเจาะและงานเจาะรู.pdf, เข้าถึง มิถุนายน 2561. http://eu.lib.kmutt.ac.th/elearning/Courseware/TEN121/chapter6/chapter6.htm, เข้าถึง มิถุนายน 2560. www.moro.co.th/วิธีการ-tap-เกลียวในด้วยมื/, เข้าถึง มกราคม 2561. https://sites.google.com/site/wanidj/home/8-ngan-tha-keliyw-threading, เข้าถึง มีนาคม 2561. http://www.pattayatech.ac.th/files/150511088450077_15051112121315.pdf, เข้าถึง มกราคม 2561. https://goo.gl/7OLaU8, เข้าถึง พฤษภาคม 2561. https://goo.gl/9zYcF2, เข้าถึง ธันวาคม 2560. https://goo.gl/soT2OU, เข้าถึง ธันวาคม 2560. http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~kjirapon/Drawing%20Notes/Chapter%2011.pdf, เข้าถึง พฤษภาคม 2561. goo.gl/D14Ub6, เข้าถึง มิถุนายน 2561. http://www.bbntool.co.th/articles/41910415/vernier-caliper-mitutoyo,vernier-mitutoyo.html, เข้าถึง เมษายน 2561. http://www.pattayatech.ac.th/files/150511088450077_15051111115507.pdf, เข้าถึง มีนาคม 2561. https://goo.gl/YZ37Ug, เข้าถึง เมษายน 2561. goo.gl/kDPMur, เข้าถึง มิถุนายน 2561. https://carpenterwoodblog.weebly.com/blog/7, เข้าถึง มิถุนายน 2561.
รับฟังความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเรียนการสอน การประเมินผลความพึงพอใจของนักศึกษา
ช่วงก่อนการสอนควรมีการประเมินกลยุทธ์การสอนโดยทีมผู้สอนหรือระดับภาควิชา และ/หรือ การปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรหรือวิธีการสอน ส่วนช่วงหลังการสอนควรมีการวิเคราะห์ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา และการวิเคราะห์ผลการเรียนของนักศึกษา
ด้านกระบวนการนำผลการประเมินไปปรับปรุง สามารถทำโดยรวบรวมปัญหาข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงและกำหนดประธานหลักสูตรและทีมผู้สอนนำไปปรับปรุงและรายงานผลต่อไป
การทวนสอบในระดับรายวิชาควรให้นักศึกษาประเมินการเรียนการสอนในระดับรายวิชา มีคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมของข้อสอบให้เป็นไปตามแผนการสอน มีการประเมินข้อสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกการทวนสอบในระดับหลักสูตรสามารถทำได้โดยมีระบบประกันคุณภาพภายในสถาบันการศึกษาดำเนินการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้และรายงานผล
การทบทวนโดยอาจารย์ผู้สอนในกลุ่มรายวิชาเดียวกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และพิจารณาปรับปรุงเพื่อการเรียนการสอนในครั้งต่อไป