เขียนแบบเบื้องต้น

Introduction to Drafting

1) เพื่อให้รู้ประวัติความเป็นมาของการเขียนแบบ
2) เพื่อให้เข้าใจการใช้เครื่องมือ วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบเบื้องต้น 
3) เพื่อให้เข้าใจการใช้เส้นสัญลักษณ์ต่างๆ ในการเขียนแบบ 
4) เพื่อให้เข้าใจการกําหนดขนาดและมาตราส่วน 
5) เพื่อให้เข้าใจการเขียนภาพฉายภาพสามมิติ 
6) เพื่อให้เข้าใจการเขียนทัศนียภาพ 
7) เพื่อให้รู้จักการประยุกต์ใช้การเขียนแบบในงานออกแบบต่างๆ
ไม่มี
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการเขียนแบบ หลักการใช้เครื่องมือ วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบเบื้องต้น การใช้เส้นสัญลักษณ์ต่างๆ ในการเขียนแบบ การกําหนดขนาดและมาตราส่วน การเขียนภาพฉายภาพสามมิติ และทัศนียภาพ ประยุกต์ใช้การเขียนแบบในงานออกแบบต่างๆ
3 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1) ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
2) มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพในรายวิชา ให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทํางาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
ประเมินจากผลการดําเนินงานตามแผนการสอน และประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
1) รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
2) มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ
ใช้การเรียนการสอน โดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและการปฎิบัติงาน 
1) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2) ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
1) สามารถค้นคว้า รวบรวม และประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน
2) สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 
ใช้กรณีศึกษาและการมอบหมายงานให้นักศึกษา
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานของนักศึกษา 
1) มีภาวะผู้นําเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 
2) มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สอดแทรกเรื่องความสําคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์และการมีมารยาททางสังคม
ประเมินจากพฤติกรรมในชั้นเรียน
1) สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนําเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือ การนําเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จําลองและสถานการณ์เสมือนจริง
ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูล
มีทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ในการสร้างสรรค์ผลงานตน
ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทําตามแบบและใบงาน 
ประเมินตามสภาพจริง โดยประเมินจากการปฏิบัติงาน และผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เเละความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1
1 BAACC407 เขียนแบบเบื้องต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 3.1.1, 3.1.2 เข้าเรียนและมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ตลอดภาคการศึกษา 10 %
2 3.4.1, 3.4.2, 3.5.1, 3.5.2, 3.6.1 งานปฏิบัติ 3, 5, 7, 10, 12, 14, 16 70 %
3 3.2.1, 3.2.2, 3.3.1, 3.3.2 สอบกลางภาคและสอบปลายภาค 9 และ 17 20 %
กิตติมา เก่งเขตรกิจ. 2561. การเขียนแบบและออกแบบ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
 
นพดล เวชวิฐาน และ ชานนท์ ชมสุนทร. 2547. เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ส.ส.ท.
 
บุญธรรม ภัทราจารุกุล. 2557. เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. 
 
สมชาย เกตุพันธุ์. 2559. เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. 
 
เอกชัย รัตนโน.  2559. เขียนแบบเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. 
จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาไว้ดังนี้
1) การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2) แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1)  ผลการเรียนของนักศึกษา
2) การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
โดยระดมสมองและหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน
ระหว่างกระบวนการสอน มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา และสังเกตความก้าวหน้า ความเข้าใจ และพัฒนาของผลการปฏิบัติงาน การให้คะแนนจากการทดสอบเก็บคะแนนและค้นคว้ารายงาน
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้ ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์