ระบบฐานข้อมูล
Database System
1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจหลักการทำงานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล และการจัดการฐานข้อมูล
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ฐานข้อมูล สามารถออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูลได้
3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้คำสั่งเพื่อสืบค้นและปรับปรุงฐานข้อมูลได้
4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลในการสร้างระบบฐานข้อมูลได้
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ฐานข้อมูล สามารถออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูลได้
3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้คำสั่งเพื่อสืบค้นและปรับปรุงฐานข้อมูลได้
4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลในการสร้างระบบฐานข้อมูลได้
มีการปรับปรุงเนื้อหาและวิธีการจัดการเรียนการสอน เพื่อเน้นพัฒนาความรู้ความสามารถในการเชื่อมโยงทฤษฎีหลักการและ แนวคิดกับการนําไปใช้ในการอธิบายปัญหา การแก้ปัญหา และการวิจัยในสาขาวิชาให้มากขึ้น โดยการใช้กรณี ตัวอย่าง การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การทํากิจกรรมกลุ่ม การทําแบบฝึกหัด การทดลองปฏิบัติและการเขียนบทความวิชาการที่มีคุณภาพในหัวข้อที่ เกี่ยวข้องในรายวิชา
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ ระบบฐานข้อมูล สถาปัตยกรรมระบบฐานข้อมูล แบบจำลองข้อมูล การวางแผน การออกแบบและการบริหารฐานข้อมูล แบบจำลองอีอาร์ การนอร์มัลไลเซชัน การใช้คำสั่งภาษาเอสคิวแอล ระบบฐานข้อมูลแบบโนเอสคิวแอล
ให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟต์แวร์ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพโดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรม ความซื่อสัตย์ การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ อภิปรายกลุ่ม กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา ประเมินผลการนำเสนองานที่มอบหมาย
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์
บรรยาย อภิปราย โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการปฏิบัติจริง โดยการมอบหมายงานพร้อมทั้งอธิบายงานที่มอบหมายเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ หรือการแก้ปัญหาโจทย์หน้าชั้นเรียน
การสอบกลางภาคเรียนปลายภาคเรียน ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี ประเมินจากการตอบคำถาม/แสดงความคิดเห็นของนักศึกษาในชั้นเรียน สอบภาคปฏิบัติ โดยคัดเลือกมาจากงานที่มอบหมาย
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์จากหลักทฤษฎี และสามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติได้
การมอบงานทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับการสอนภาคทฤษฎี วิเคราะห์กรณีศึกษาโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และสรุปสาระที่ถูกต้องให้ผู้เรียนได้เข้าใจ การสะท้อนแนวคิดจากการฝึกปฏิบัติจริง
สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่อธิบายแนวคิดของการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา วัดผลจากการปฏิบัติในงานที่ได้รับมอบหมาย สังเกตพฤติกรรมการแก้ปัญหา
พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา มอบหมายงานและให้ส่งตามกำหนดเวลา
ประเมินจากพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม ประเมินจากงานที่มอบหมาย
ทักษะการคิดคำนวณเชิงตัวเลข พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน ระหว่างการเรียนการสอน พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมลและการสื่อสารทางสังคมออนไลน์ต่างๆ ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ สื่อการสอน การเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ และทำรายงาน โดยอ้างอิงจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน โดยให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติตามแบบฝึกปฏิบัติการ
ประเมินจากผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | คุณธรรม จริยธรรม | ความรู้ | ทักษะทางปัญญา | ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ | ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | ||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 1 | 2 | 3 | 4 | 3 | 4 | 5 | 6 | 1 | 2 | 1 | 2 | 3 | 4 |
1 | BSCCT203 | ระบบฐานข้อมูล |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | 1.1.1 – 1.1.3, 2.1.1 – 2.1.3, 3.1.1 – 3.1.2 | สอบกลางภาค, สอบปลายภาค | 8, 17 | 30%, 30% |
2 | 1.1.1 – 1.1.3, 2.1.1 – 2.1.3, 3.1.1 – 3.1.2, 4.1.1 – 4.1.3, 5.1.1 | โครงงานรายวิชา และการเสนอผลงาน การค้นคว้า เขียนรายงาน แบบฝึกหัด การส่งงานตามที่มอบหมาย | ตลอดภาคการศึกษา | 30% |
3 | 1.1.1 – 1.1.3 | การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน | ตลอดภาคการศึกษา | 10% |
1. Abraham Silberschatz, Henry F. Korth, and S. Siidarshan. Database Systems Concepts. McGraw-Hill Science/Engineering/Math, Sixth edition, 2011.
2. กิตติ ภักดีวัฒนะกุล, จำลอง ครูอุตสาหะ. ระบบฐานข้อมูล Database Systems. บริษัท เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ 9. 2550
2. กิตติ ภักดีวัฒนะกุล, จำลอง ครูอุตสาหะ. ระบบฐานข้อมูล Database Systems. บริษัท เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ 9. 2550
-
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
สังเกตพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน สังเกตผลการเรียนของนักศึกษา
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ งานที่มอบหมาย วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 ประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ