สัมมนาการบัญชี
Seminar in Accounting
1.1 เพื่อให้นักศึกษาสามารถอภิปรายและวิเคราะห์แนวทางการนำแม่บทการบัญชีและมาตรฐานการ บัญชีไปใช้ในการปฏิบัติงานด้านบัญชีการเงินสำหรับองค์กรประเภทต่าง ๆ
1.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถอภิปรายและวิเคราะห์ประเด็นทางด้านบัญชีการเงินที่น่าสนใจ รวมทั้ง ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการบัญชีการเงิน การบัญชีบริหาร การสอบบัญชี ภาษีอากร และจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยใช้กรณีศึกษา บทความ เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ
1.3 เพื่อฝึกนักศึกษาให้รู้จักทักษะในการเสนอข้อมูลทั้งการเขียนและนำเสนอด้วยวาจา
2.1 เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ศึกษาเป็นแนวทางด้านการบัญชีการเงินสำหรับองค์กรต่าง ๆ ให้ทันกับ สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน
2.2 เพื่อให้นักศึกษาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในอนาคตโดยประยุกต์กับการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิงอยู่เสมอให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านการบัญชีการเงินที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย และ หลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป
2.3 เพื่อให้นักศึกษาตระหนักในความสำคัญและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
ศึกษาค้นคว้า อภิปรายและวิเคราะห์ประเด็นปัจจุบันเกี่ยวกับการบัญชีที่น่าสนใจ รวมทั้งปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา และจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยใช้กรณีศึกษา บทความ เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อฝึกให้รู้จักทักษะในการเสนอข้อมูลทั้งการเขียนและการนำเสนอด้วยวาจา
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และสามารถขอคำปรึกษาได้ผ่านทางไลน์กลุ่ม Seminar Acc หรือทาง Message Facebook
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม มีความระมัดระวังในการใช้ ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศเพื่อให้ เกิดความยั่งยืน นักศึกษาควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้ (1) มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ (2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม (3) สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม (4) มีจิตสำนึกและพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม มีความระมัดระวังในการใช้ ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศเพื่อให้ เกิดความยั่งยืน นักศึกษาควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้ (1) มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ (2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม (3) สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม (4) มีจิตสำนึกและพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
(1) สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน (2) ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย (3) การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษาต่าง ๆ
(1) ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม (2) ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำงานกลุ่ม
(3) ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
(4) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
(1) มีความรู้และความเข้าใจถึงแนวทางการนำแม่บทการบัญชีและมาตรฐานการบัญชีไปใช้ในการ ปฏิบัติงานบัญชีการเงินสำหรับองค์กรประเภทต่าง ๆ
(2) มีความรู้และความเข้าใจในการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาในกรณีศึกษาทางบัญชีการเงิน
(3) มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
(4) มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จาก
ประสบการณ์
(5) สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
(1) ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นการอภิปราย วิเคราะห์ แนวทางการประยุกต์ใช้ แม่บทการบัญชี มาตรฐานการบัญชี โดยการสอนแบบบรรยาย และอภิปรายการสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลองการสอนแบบเน้นกรณีปัญหา
(2) การถาม-ตอบ ปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน
(3) มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ
(4) การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากการฝึกงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรมและการศึกษาดูงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรม
(1) ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงาน การค้นคว้า และการนำเสนอ
(2) การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือการสอบปฏิบัติ
(3) การประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้ประกอบการจากสถานการณ์จริง หรือการฝึกงานในองค์กรธุรกิจ
(4) การประเมินความรู้ของบัณฑิตโดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต
(1) สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
(2) สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กันใช้ทักษะทาวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ใน
(3) สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
(4) สามารถรับฟังความคิดเห็นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
(1) ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้นตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
(2) จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
(3) สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษา ศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
(1) ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย
(2) ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาแต่ละวิชา
(3) ประเมินจากรายงายผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
(4) ประเมินผลจากการสอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์การแก้ไขปัญหากรณีศึกษาทางบัญชีการเงิน
(1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
(2) มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
(3) มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน
(4) มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
(1) มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่มและผลัดกันเป็นผู้รายงาน
(2) มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
(3) ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่าง ๆ แบบเป็นกลุ่มทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
(1) ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
(2) ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
(3) สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
(1) มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
(2) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
(3) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสาร
(1) มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
(2) มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ
(3) ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียนและนำเสนอในรูปแบบรายงาน
(4) มอบหมายกรณีศึกษาให้นามาวิเคราะห์และนาเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
(1) ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
(2) ประเมินจากการสอบข้อเขียน
(3) ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนาเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | 1. คุณธรรมจริยธรรม | 2. ความรู้ | 3. ทักษะทางปัญญา | 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ | 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | 1 | 2 | 3 | 4 | 1 | 2 | 3 | 4 | 1 | 2 | 3 | 1 | 2 | 3 | 4 | 1 | 2 | 3 |
1 | BACAC150 | สัมมนาการบัญชี |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | 1,2,3,4,5 | - กรณีศึกษาในแต่ละหัวข้อ - การเข้าเรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด - ประวัติการส่งงานตามที่มอบหมายตรงตามกำหนด งานที่มอบหมาย (งานเดี่ยว) | ตลอดภาคการศึกษา | 40% |
2 | 2,3,5 | สอบกลางภาค | สัปดาห์ที่ 9 | 20% |
3 | 1,2,3,4,5 | การจัดโครงการสัมมนาและเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ งานที่มอบหมาย (งานกลุ่ม) | สัปดาห์ที่ 17 | 20% |
4 | 2,3,5 | สอบปลายภาค | สัปดาห์ที่ 18 | 20% |
- การบัญชีชั้นต้น
- กรอบแนวคิดมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
- มาตรฐานการบัญชีฉบับต่าง ๆ
- กรณีศึกษาทางการบัญชีการเงิน
- กรณีศึกษาทางการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
- กรณีศึกษาการตรวจสอบบัญชีและการตรวจสอบทุจริต
- กรณีศึกษาเกี่ยวกับภาษีอากร
- กรณีศึกษาเกี่ยวกับภาษีอากร
ข้อมูลความเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชีที่เว็บไซต์ของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ www.tfac.or.th
เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th
จดหมายข่าวของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (Newsletter)
1.1 การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนรายบุคคลและผู้เรียนรายกลุ่ม 1.2 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.3 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค 1.4 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ระบบออนไลน์
2.1 ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ระบบออนไลน์
2.2 ผลการสอน การดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับแผนบริหารการสอน
2.3 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการเรียนและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2.4 ผลงานของนักศึกษาที่ได้มอบหมายในระหว่างเรียนและผลการสอบปลายภาคเรียน
2.5 การทดสอบประเมินผลการเรียนรู้
2.1 ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ระบบออนไลน์
2.2 ผลการสอน การดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับแผนบริหารการสอน
2.3 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการเรียนและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2.4 ผลงานของนักศึกษาที่ได้มอบหมายในระหว่างเรียนและผลการสอบปลายภาคเรียน
2.5 การทดสอบประเมินผลการเรียนรู้
เน้นให้นักศึกษาเข้าใจการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนและหลักการบัญชีเพื่อประกอบการตัดสินใจ 3.1 แก้ไขเนื้อหาและยกตัวอย่าง กรณีศึกษาที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชีในแต่ละธุรกิจหรืออุตสาหกรรมให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ 3.2 สอบถามนักศึกษาถึง การเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ 3.3 การวิจัยทั้งในห้องเรียนและการวิจัยนอกห้องเรียน
ให้กรรมการด้านวิชาการเป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบและการตัดเกรด 4.1 มีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่มของผู้เรียน โดยผู้สอนตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาที่ผิดปกติหรือไม่ และมีการแจ้งผลของคะแนนที่ได้รับเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง 4.2 ให้กรรมการด้านวิชาการเป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบและการตัดเกรด
5.1 นำข้อมูลที่ได้ผลจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในรายวิชา การประเมินผู้สอนและนำผลการสอนมาใช้พัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไปให้ดีขึ้น 5.2 ปรับปรุงเนื้อหารายวิชาทุกปี (เพิ่มเติมตัวอย่างระบบสารสนเทศทางการบัญชีในแต่ละธุรกิจที่หลากหลายและทันสมัยให้มากขึ้น) 5.3 ฝ่ายวิชาการเป็นผู้นำเสนอข้อสอบและการตัดเกรด ก่อนที่จะมีการสอบและการประกาศผล นำผลการประเมินในข้อ 1 และข้อ 2 ประกอบการพิจารณาข้อบกพร่องของวิธีการสอน วิธีการประเมิน และเนื้อหา