คอมพิวเตอร์เพื่องานทัศนศิลป์

Computer Assisted Visual Art

1.  รู้ความเป็นมาของการสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์
2.  เข้าใจแนวคิดจากการสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์
3.  มีทักษะในการสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์ร่วมกับการ
ในภาคเรียนที่ 1/2563 นี้ ทางมหาวิทยาลัยได้มีนโยบายจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 โดยกำหนดให้การจัดการเรียนการสอน 1-8 สัปดาห์แรกเป็นการเรียนการสอนออนไลน์เต็มรูปแบบ ในรายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานทัศนศิลป์จึงมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาบางส่วนเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการเรียนการศึกษา รวมถึงการสร้างสรรค์ผลงานในลักษณะออนไลน์ผ่านระบบ RMUTL Education และ Microsoft Teams ดังนั้นใน 8 สัปดาห์แรกจึงกำหนดให้นักศึกษาใช้อุปกรณ์อื่นๆ ที่เข้าถึงได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ ในการสร้างสรรค์ผลงานเบื้องต้น และจะทำการเรียนการสอนโดยใช้ห้องปฏิบัติการตั้งแต่สัปดาห์ที่เก้าเป็นต้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การระบาดของโรค อาจมีการปรับเปลี่ยนอื่นๆตามความเหมาะสม
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์และปฏิบัติตามหัวข้อที่กาหนด โดยเน้นความคิดสร้างสรรค์
อาจารย์ผู้สอนจะให้คำปรึกษานอกรายวิชาตามความเหมาะสมและมีการนัดหมายล่วงหน้าในการให้คำปรึกษา
1. ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ฃ
2. มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
3. ข้อ 3  มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งจรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา  สอนให้มีระเบียบวินัย  ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบ นำไปสู่การมีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ เช่น สามารถนำองค์ความรู้ ความสามารถ ในรายวิชาไปช่วยกิจกรรมงานของสถาบันและภายนอกมหาวิทยาลัย
การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด ระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในรายวิชา กิจกรรมของสถาบัน
1. รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
2. มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ
3. มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม
4. มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม
ใช้การเรียนการสอน โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานทัศนศิลป์ ตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชาในแต่ละหน่วย
ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
1. สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ
2. สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
3. สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้ (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)
4. มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
 การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล   การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนอธิบายถ่ายทอดองค์ความรู้หลักทฤษฏีให้สอดคล้องกับหลักการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเข้าใจแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ตามกระบวนการ
ประเมินจากการนำเสนองาน อภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
1. มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)
2. มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
3.  สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง)
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม  การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นการมอบหมายงานให้ฝึกปฏิบัติของแต่ละหน่วยองค์ความรู้ โดยใช้หลักทฤษฏีมาปรับใช้กับการปฏิบัติผลงานตามระยะเวลาที่ผู้สอนกำหนด
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการฝึกปฏิบัติงานทั้งเดี่ยวและกลุ่ม ความรับผิดชอบต่องานของตนเองและกลุ่ม การส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด
1. สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)
ให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลโดยอ้างอิงแหล่งข้อมูล ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการแนะนำที่เหมาะสมกับนักศึกษา 
ประเมินจากการสืบค้นข้อมูล โดยการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการค้นหาข้อมูล ประเมินจากการอธิบายและการนำเสนอ
1. มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
2. มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง 
3.  มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน (ไม่มีการรับผิดชอบหรือการประเมิน)                        
ใช้วิธีการสอนฝึกปฏิบัติ ด้วยวิธีการคัดลอกตามแบบ ทำตามใบงาน และการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามรูปแบบของตนเอง
ประเมินจากผลการปฏิบัติงานและสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 2. มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น 3. มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ 1. รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง 2. มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ 3. มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม 4. มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา 1. สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ 2. สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 3. สามารถบูรณาการความรู้กับสาสตร์อื่นเพื่อสร้างผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้ 4. มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างสรรค์ 1. มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี 2. มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง 1. สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียน ในการสื่อสารโดยทั่วไปตลอดจนใช้ชีวิตการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม 1. มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ 2. มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง 3. มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์
1 BFAVA109 คอมพิวเตอร์เพื่องานทัศนศิลป์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทักษะพิสัย ประเมินจากงานสร้างสรรค์ 8, 11, 13, 16 50 คะแนน
2 ทักษะปัญญา ประเมินจากแบบฝึกหัดในชั้นเรียน ใบงาน 1-8, 10-13, 14-16 30 คะแนน
3 3. ความรู้ สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 และ 18 10 คะแนน
4 - ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - ด้านคุณธรรมจริยธรรม - ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ : ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการฝึกปฏิบัติงานทั้งเดี่ยวและงานกลุ่ม ความรับผิดชอบต่องานของตนเองและงานกลุ่ม การส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด - ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ : ประเมินจากการสืบค้นข้อมูล โดยการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการค้นหาข้อมูล ประเมินจากการอธิบายและการนำเสนอ ประเมินจากการเรียน การส่งงาน ผ่านระบบ Microsoft Teams - ด้านคุณธรรมจริยธรรม : การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด ระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในรายวิชา ตลอดการศึกษา 10 คะแนน
Essential Photoshop CS6 ตกแต่งภาพและสร้างงานกราฟิก, อิศเรศ ภาชนะกาญจน์, 
          บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด, 2556
Graphic Design Principle, ปาพจน์ หนุนภักดี, Digi Art Infopress Graphic book 
          บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด, พิมพ์ครั้งที่ 2 : 2555
คู่มือ Illustrator CS Professional Guide ฉบับสมบูรณ์ม วสันต์ พึ่งพูลผล, Digi Art Infopress  
          Graphic book บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด, 2554
ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์, Computer Graphics : สำหรับนักออกแบบ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,  
          2542.
ปาพจน์ หนุนภักดี, หลักการและกระบวนการออกแบบงานกราฟิกดีไซน์. นนทบุรี : ไอดีซีฯ, 2553.
ปิยะบุตร สุทธิดารา และอนัน วาโซะ. (2553). เรียนรู้การทางานกราฟิกดีไซน์สิ่งพิมพ์แบบมืออาชีพ
          (Graphic Design Artwork Photoshop + Illustrator). นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.วรพงศ์      
          วรชาติ อุดมพงศ์. (2535). ออกแบบกราฟิค. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร.
Foley J. D., Dam, A. V., Feiner S. K., and Hughes J. F., ADOBE PHOTOSHOP CS5
          CLASSROOM IN A BOOK, Addison-Wesley Publishing Company, Inc., 1993.
Jennifer Smith, Jeremy Osborn, and AGI Creative Team., Adobe Creative Suite 5 
          Design Premium Digital Classroom, Wiley Publishing, Inc.
อดิศักดิ์ คงสัตย์. Adobe InDeSign Professionnal ฉบับ Tips&Techniques. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2553.
ประเมินผ่านระบบออนไลน์ของมหาวิทยาลัย
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือ อุตสาหกรรมต่าง ๆ