เทคโนโลยีการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ

Aquatic Animals Breeding Technology

เพื่อศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับกระบวนการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ การเพาะขยายพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำจืดสำคัญทางเศรษฐกิจ การจัดการ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ
เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้เทคโนลียีในงานเพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่สำคัญทางเศรษฐกิจ
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับกระบวนการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ การเพาะขยายพันธุ์ปลา และสัตว์น้ำจืดสำคัญทางเศรษฐกิจ การจัดการ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ
จัดให้นักศึกษาเข้าพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการที่เกี่ยวข้องสัปดาห์ละ ๒ ชั่วโมง หรือตามความต้องการรายบุคคล
มีคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ
1. กำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติให้นักศึกษาต้องถือปฏิบัติในการเรียนรายวิชานี้ เช่น การตรงเวลา การมีวินัยในการปฏิบัติงาน รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
2. การฝึกประสบการณ์ที่เน้นการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ 3. กระบวนการสอนที่มีการเสริมสร้างจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เช่น มีกิจกรรมการดูแลรักษาสถานที่ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ
สังเกตพฤติกรรมที่พึงประสงค์ว่าเป็นไปตามตามที่ต้องการ หรือมีจำนวนเพิ่มขึ้น เช่น นักศึกษาต้องมีเวลาเข้าเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด ร้อยละ 90 ของนักศึกษา ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้ เช่น การมีวินัย ความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย และการปฏิบัติตนตามระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ไม่มีการทุจริตในการสอบ หรือไม่มีการลอกรายงาน ความพร้อมเพรียงในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมของนักศึกษา ความรับผิดชอบในหน้าที่ การแสดงความเห็นที่สอดคล้องกับสิ่งที่ถามและเชื่อมโยงให้ได้ทราบว่าเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นต้น
มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพ (พืชศาสตร์/สัตวศาสตร์/เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) ที่เรียนอย่างถ่องแท้และเป็นระบบทั้งหลักการ ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 สอนโดยการบรรยายหลักการการเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ การจัดการ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี รวมทั้งฝึกปฏิบัติการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ พร้อมอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำ
2.2.2 มอบหมายให้ค้นคว้างานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการเรียน พร้อมทั้งนำเสนองาน
2.3.1 สอบย่อย สอบกลางภาค และปลายภาค 2.3.2 นำเสนองานเรื่องที่มอบหมายให้ศึกษา 2.3.3 ตรวจงานในแต่ละบทปฏิบัติการ 2.3.4 การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและตอบปัญหา
สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม
3.2.1 กระตุ้นให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ ร่วมอภิปรายปัญหาต่าง ๆ กับอาจารย์ ตลอดจนให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
3.2.2 มอบหมายงานที่ส่งเสริมกระบวนการการคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์
3.2.3 ปฏิบัติการจากสถานการณ์จริง
3.2.1 ประเมินจากข้อสอบที่เป็นข้อสอบซึ่งต้องให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ตลอดจนนำหลักการและทฤษฎีไปอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3.2.2 ประเมินจากการร่วมอภิปรายในชั้นเรียน
3.2.3 ประเมินจากการปฏิบัติจริง
4.1.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
มอบหมายงานให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม แล้วนำเสนอผลงาน ทั้งการค้นคว้า และผลการปฏิบัติงานในชั้นเรียน
ประเมินจากกระบวนการทำงาน และผลงานที่ได้รับมอบหมายของกลุ่ม
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ หรือ การใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน
5.2.1 กำหนดให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร ค้นคว้า และใช้ในการนำเสนอผลงาน
5.3.1 ประเมินจากการนำเสนอในชั้นเรียนที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
5.3.2 ประเมินจากข้อมูลที่นำเสนอเป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์
-
-
-
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรมจริยธรรม บันทึกการเข้าเรียน การแต่งกายให้ถูกระเบียบ และความประพฤติ ตลอดภาคการศึกษา 10 %
2 ความรู้ การทดสอบ ตลอดภาคการศึกษา 20 %
3 ทักษะทางปัญญา การทดสอบ การซักถาม การประเมินผลการปฏิบัติงาน การอภิปรายผลงาน ตลอดภาคการศึกษา 30 %
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ การสังเกตุ ผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 20%
5 การวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนองาน ผลการคำนวณฮอร์โมนในการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ สัปดาห์ที่ 8 และ 16 20 %
อุทัยรัตน์  ณ นคร. 2538. การเพาะขยายพันธุ์ปลา. ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ,
     คณะประมง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 231 น.
วีรพงศ์  วุฒิพันธุ์ชัย. 2536. การเพาะพันธุ์ปลา. ภาควิชาวาริชศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์,
     มหาวิทยาลัยบูรพา. 194 น.
     -
สามารถสืบค้นข้อมูลด้านการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำได้ในเวบไซต์กรมประมง  และอื่นๆ 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ ๑.๑ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ๑.๒ การสังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียน ๑.๓ แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
 
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ ๒.๑ การสังเกตพฤติกรรมการเรียนการสอน การตอบสนอง การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ๒.๒ ผลการเรียนของนักศึกษา ๒.๓ การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ ๒ จึงมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาทุกภาคการศึกษา เฉพาะในรายวิชาที่มีปัญหาให้มีการทำวิจัยในชั้นเรียนมีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยการตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ คณะมีระบบการทบทวนประสิทธิผลรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของสาขา  การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์