การจำลองทางธุรกิจ

Business Simulation

1.1 นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้เบื้องต้นทางธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ
1.2 นักศึกษาเกิดทักษะในการปฏิบัติในสถานการณ์จริง ฝึกปฏิบัติการโดยประยุกต์ใช้ความรู้การบริหารงานธุรกิจ ทั้งเรื่องการตลาด การจัดการ การผลิต การเงิน การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการติดต่อประสานงาน โดยได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา
 
2.1 เพื่อให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้เบื้องต้นทางธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ
2.2 เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะในการปฏิบัติในสถานการณ์จริง ฝึกปฏิบัติการโดยประยุกต์ใช้ความรู้การบริหารงานธุรกิจ ทั้งเรื่องการตลาด การจัดการ การผลิต การเงิน การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการติดต่อประสานงาน โดยได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา
      ศึกษาความรู้เบื้องต้นทางธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง และฝึกปฏิบัติการทำงานร่วมกันเป็นทีม และนำรายวิชาที่ได้ศึกษามาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานธุรกิจ ทั้งในเรื่องของการตลาด การจัดการ การผลิต การเงิน การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการติดต่อประสานงานโดยได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา
      Study Introduction to Business and Entrepreneurship. Focus on the students to practice in a real situation. And practice working together as a terms. The study subjects were applied in business administration. In terms of marketing, production management, financial management, human resources. And coordination The advice from the advisors.
- อาจารย์ประจำรายวิชาให้คำปรึกษาผ่าน Messenger ใน Facebook
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการในแต่ละสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีความพอเพียงมีวินัยขยันอดทนเพียรพยายามตรงต่อเวลารับผิดชอบต่อตนเองวิชาชีพสังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อมมีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรมคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม เสียสละ ไม่เอารัฐเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
มีการจัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม มีการสอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชารวมทั้งปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลาส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1. ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ
2. ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
3. ประเมินการเข้าเรียน ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
4. สังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
 
มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผนการจัดโครงสร้างองค์การการปฎิบัติการการควบคุมและผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ทักษะในการวิเคราะห์ปัญหาเข้าใจ และอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษารวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะ และความสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน 
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชาและเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ และเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงานโครงงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียนรวมถึงการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมถึงจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง นอกจากนั้นยังใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง และบรรยายในชั้นเรียน ถาม-ตอบ
1.  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.  รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ
3.  การฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงหรือสถานการณ์จริง
4.  ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ
5.  ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศจากหลายแหล่งเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
1.  จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักสูตรบูรณาการ การเรียนการสอนกับการทำงาน
2.  การศึกษาค้นคว้าและรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
3.  การมอบหมายงานการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง
4.  จัดให้ในรายวิชามีกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญาความคิดการวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
ประเมินจากการนำเสนอโครงงานรายงานผลอภิปรายกรณีศึกษา และการประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบด้วยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหาอธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และการแก้ปัญหาด้วยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา รวมถึงประเมินจากผลงานและการปฎิบัติงานของนักศึกษา
มีความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้ มีความรู้ในการแสดงความคิดริเริ่มแสดงความคิดเห็นต่างและแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1. ใช้การสอนโดยสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่าง ๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง
2. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มโดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
3. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
4. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคล และระดมความคิดร่วมกัน
ประเมินจากการสอบกลางภาคและปลายภาค พฤติกรรมการทำกิจกรรมของนักศึกษา การรายงานหน้าชั้นเรียน สังเกตพฤติกรรมการทำงาน และการแสดงความคิดเห็น
สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจโดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน ตลอดจนสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
2. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. ส่งเสริมการค้นคว้าเรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
4. ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข
5. บูรณาการการใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่าย และซอฟท์แวร์หรือสิ่งต่าง ๆ 
การสอบกลางภาคและปลายภาค ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมาย และการนำเสนอข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การสรุปและอภิปรายงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข
สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความอย่างมีเหตุผล
1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์จริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
2. จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุม และการรายงานผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
4. ฝึกประสบการณ์ และบูรณาการการเรียนการสอน บริการวิชาการแก่สังคมร่วมกับอาจารย์และผู้ที่เกี่ยวข้อง
5. ฝึกใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา การจำลองสถานการณ์ และความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม พฤติกรรมที่แสดงออกในการเข้าร่วมกิจกรรม ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม พฤติกรรมการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน การนำเสนอผลงานโดยใช้ภาษาสื่อสารได้อย่างเหมาะสม การใช้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรม จริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทัษะทางปัญญา 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ุ6 ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 1 3 2 2 1 1 2 2 1 6 2 4
1 BBABA612 การจำลองทางธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1, 2.1.2 การทดสอบ - การทดสอบกลางภาค - การทดสอบปลายภาค 9 - 17 25% - 25%
2 3.1.2, 4.1.2, 5.1.3 ผลการฝึกปฏิบัติ และงานที่ได้รับมอบหมาย - ผลงานการฝึกปฏิบัติ - งานที่มอบหมาย และการส่งงานตามกำหนดเวลา ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 1.1.2 การเข้าชั้นเรียน - เจตคติ และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
สิริอร เศรษฐมานิต. (2565) การจำลองสถานการณ์เพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง สืบค้นจากระบบออนไลน์ และนิตยสารทางธุรกิจต่าง ๆ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 3. ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ดที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 1. การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2. ผลการเรียนของนักศึกษา 3. การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 1. สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 2. การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 1. การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 2. มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 1. ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 2. เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ