โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริธึม

Data Structure and Algorithm

เพื่อศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการแนะนำ แนวคิดพื้นฐานของโครงสร้างข้อมูลและขึ้นตอนวิธี รวมถึงการเรียกซ้ำ โครงสร้างข้อมูลแบบต่าง ๆ ทั้งที่เป็นเชิงเส้นและไม่เป็นเชิงเส้น โครงสร้างข้อมูลพื้นฐานได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างข้อมูลที่จัดเก็บในหน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์ โดยที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการนำอัลกอริทึมมาประยุกต์ในการแก้ไขปัญหาทางด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการแนะนำ แนวคิดพื้นฐานของโครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี รวมถึงการเรียกซ้ำ โครงสร้างข้อมูลแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นเชิงเส้นและไม่เป็นเชิงเส้น โครงสร้างข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ สแตก คิว ลิงค์ลิสต์ โครงสร้างแบบต้นไม้และกราฟ อัลกอริทึมพื้นฐานและการวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี เช่น การค้นหาข้อมูล และการเรียงข้อมูล
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และ ความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม 
1. ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม 
2. ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรม 
3. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 
2.1 มีความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการเเละทฤษฎีที่สําคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 2.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
การสอนแบบบรรยายและฝึกปฏิบัติ ที่ครอบคลุมเนื้อหาทางทฤษฎีและปฏิบัติทั้งหมดในรายวิชาโดยใช้สื่อประกอบการสอน ยกตัวอย่างกรณีศึกษาพร้อมให้นักศึกษา วิเคราะห์ปัญหา ร่วมอภิปราย แสดงความคิดเห็น ให้นักศึกษาสืบค้นหาข้อมูลเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายวิชาในชั่วโมงเรียน
ประเมินผลจากแบบทดสอบ การสอบลางภาคและปลายภาคด้วยข้อสอบที่เน้นทฤษฎีและปฏิบัติ ประเมินผลจากแบบฝึกหัดและงานที่ได้รับมอบหมาย ประเมินจากการทำรายงานและการนำเสนอ
3.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณ และอย่างเป็นระบบ
3.4 สามารถประยุกต์ความรู้ และทักษะกับการแก้ไขปัญหา ทางคอมพิวเตอร์ได้อย่าง เหมาะสม
การสอนแบบบรรยายและฝึกปฏิบัติ ที่ครอบคลุมเนื้อหาทางทฤษฎีและปฏิบัติ การมอบหมายให้นักศึกษาทำงานกลุ่ม นำเสนอผลการศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามเพื่อแสดงความคิดเห็นระหว่างผู้สอนกับนักศึกษา และระหว่างนักศึกษากับนักศึกษา
ประเมินผลจากแบบทดสอบ การสอบกลางภาคและปลายภาคด้วยข้อสอบที่เป็นทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ประเมินจากการทำรายงานและการนำเสนอ สังเกตพฤติกรรมในการแก้ไขปัญหา
4.4 มีความรับผิดชอบในการกระทําของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
มอบหมายงานกลุ่มงานรายบุคคล และการนำเสนอรายงาน
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆและความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล 
5.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือ ที่จําเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการ ทํางานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 5.2 สามารถแนะนําประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศ ทางคณิตศาสตร์หรือการแสดง สถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่ เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
-   การนำเสนองาน -   การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเมินจากรายงานและการนำเสนอด้วยสื่อทางเทคโนโลยี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 BSCCT503 โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริธึม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,3.3 สอบกลางภาค 9 30%
2 2.1,2.3,3.1,3.3 สอบปลายภาค 17 30%
3 1.1,1.2 การค้นคว้า การส่งงานตามที่มอบหมาย การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
4 4.1,4.2,5.1 การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่ม 16 10%
5 1.1,1.2 จิตพิสัย การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%