กฎหมายเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

Law for Business Information System

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจศึกษาหลักทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิและการใช้สิทธิ การตีความกฎหมาย ทรัพย์สิน ทรัพย์สินทางปัญญา เอกเทศสัญญาที่สำคัญ กฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศที่สำคัญ ตลอดจนถึงกฎหมายอื่นที่จำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน
2. นักศึกษาสามารถประยุกต์หลักจริยธรรม จรรยาบรรณ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจและสามารถใช้หลักจริยธรรม จรรยาบรรณ เหล่านั้นเพื่อการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. เพื่อให้นักศึกษาเคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานและเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดองค์กรธุรกิจและกฎหมายเกี่ยวกับการการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ เช่น หลักกฎหมายซื้อขาย เอกเทศสัญญา ทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายอื่นที่จำเป็น  เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไข หรือการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ให้ทันยุคทันสมัยกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับหลักจริยธรรม จรรยาบรรณ และกฎหมาย ให้สอดคล้องกับหลักจริยธรรม หลักกฎหมาย ที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน
 
ศึกษากฎหมายพื้นฐานที่จำเป็นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายสำคัญด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ อาทิ กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และกฎหมายอื่นที่จำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน
 -   อาจารย์จัดให้คำปรึกษาผ่านอีเมลของอาจารย์ผู้สอน หรือกลุ่มเฟซบุ๊กของรายวิชา
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
- ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
- มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
- เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
- เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
- สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
- ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
- ใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน
-อธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน
- การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
- การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
- การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่ มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
- การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
-มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาที่ศึกษา
-สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์
-มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้อง
-สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
-จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
-มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อน               ร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป
-การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
-การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
-ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา
-คิดอย่างมีวิจารณญานและอย่างเป็นระบบ
-สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
-จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ จากกรณีศึกษา (งานที่ได้รับมอบหมาย)
-การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
-การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
-การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบาย
-ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
-สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้แนะสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
-มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบในงานกลุ่ม
-มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
-จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
-จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการ
-มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
-การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
-สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
-สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
-สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน พร้อมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
-สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
-สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
-จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา
-จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
-การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
-ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
-ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 BBAIS821 กฎหมายเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1,2 คำถามท้ายคาบเพื่อทบทวนความเข้าใจ 1,2,3,5,6,9, 10,11,12,14, 15 25%
2 1,2,3,4 แบบฝึกหัดการปรับใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น 4,7,13 10%
3 2 สอบกลางภาค 8 25%
4 1,2,3,4,5 นำเสนองานเพื่ออธิบายความเข้าใจด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางธุรกิจ 16 10%
5 2 สอบปลายภาค 17 30%
เอกสารประกอบการสอน กฎหมายเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์. (2562). กฎหมายเบื้องต้นทางธุรกิจ ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล , อิสริยาศิริ พยัตติกุล, ผู้แต่งร่วม , ตุลญา โรจน์ทังคำ, ผู้แต่งร่วม. (2556). หลักกฎหมายธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ศูนย์กฎหมายการแพทย์ฯ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ศักดา ธนิตกุล. (2559). กฎหมายกับธุรกิจ : แนวคิด หลักกฎหมาย และคำพิพากษา. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
บุญเพราะ แสงเทียน. (2560). กฎหมายธุรกิจเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
คณาธิป ทองรวีวงศ์. (2563). กฎหมายความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
คณาธิป ทองรวีวงศ์. (2564). กฎหมายความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
สราวุธ ปิติยาศักดิ์. (2561). คำอธิบายพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 พร้อมด้วยประกาศกระทรวงที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
ไพจิตร สวัสดิการ. (2560). กฎหมายที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ LAW 4053. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
                        . (2565). กฎหมายในความรับผิดชอบของกระทรวง. เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565, ข้อมูลจาก https://www.mdes.go.th/law/128.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับกฎหมายในรายวิชา เช่น mdes.go.th หรือ krisdika.go.th
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2.แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
3.ข้อเสนอแนะหรือข้อสนทนากับนักศึกษาผ่านช่องทางสื่อเทคโนโลยี
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
1.การสังเกตการณ์ความตั้งใจของนักศึกษา
2.ผลการเรียนของนักศึกษา
3.การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
1.การจัดกิจกรรมในการระดมสมอง
2.หาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1.การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น
2.ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
-ปรับปรุงรายวิชาให้ทันสมัยกับการแก้ไขข้อกฎหมาย หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4