ผู้ประกอบการฟาร์มพืช
Crops Farm Entrepreneur
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับรูปแบบและขนาดของฟาร์มพืช สถานการณ์และแนวโน้มการผลิตพืชในยุคปัจจุบัน การจัดการข้อมูลสารสนเทศระบบการผลิตพืช การบริหารงบประมาณและต้นทุนการผลิต การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตพืช เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการผลิตพืช การสร้างมูลค่าเพิ่ม และพัฒนาตนเองเป็นผู้ประกอบการที่มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ สามาถวางแผนและวิเคราะห์ผลได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และเป็นระบบ มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ มีทักษะการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศและการประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการฟาร์มพืช
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะในสาขาวิชาชีพที่ทันสมัยสอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีการเกษตรและสารสนเทศ
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้ก้าวทางตามยุคสมัยและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานได้
3. เพื่อฝึกฝนความเป็นผู้ประกอบการที่มีคุณลักษณะ เจตคติ และจริยธรรมที่ดีแก่นักศึกษา
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้ก้าวทางตามยุคสมัยและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานได้
3. เพื่อฝึกฝนความเป็นผู้ประกอบการที่มีคุณลักษณะ เจตคติ และจริยธรรมที่ดีแก่นักศึกษา
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับรูปแบบและขนาดของฟาร์ม สถานการณ์และแนวโน้มการผลิตพืชในยุคปัจจุบัน การจัดการข้อมูลสารสนเทศระบบการผลิตพืช การบริหารงบประมาณ และต้นทุนการผลิต การวิเคราะห์ประสิทธิภาพและความสำเร็จในการผลิตพืช เทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการผลิตพืช การสร้างแบรนด์ การสร้างมูลค่าเพิ่ม และการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นผู้ประกอบการในระบบเศรษฐกิจ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว
อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็ปไซต์ของพื้นที่-อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตว์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมกับผู้อื่น
นักศึกษามีระเบียบวินัย เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัย มีการสอนโดยสอดแทรกหัวข้อและจัดกิจกรรมเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม
ประเมินจากเวลาเข้าเรียน ส่งงานตามกำหนด เข้าร่วมกิจกรรม รับผิดชอบงานตามที่ได้รับมอบหมาย และประเมินผลงานที่มีความซื่อสัตย์สุจริต
มีความรู้และมีความรอบรู้เกี่ยวกับรูปแบบและขนาดของฟาร์มพืช สถานการณ์และแนวโน้มการผลิตพืชในยุคปัจจุบัน การจัดการข้อมูลสารสนเทศระบบการผลิตพืช การบริหารงบประมาณและต้นทุนการผลิต การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตพืช เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการผลิตพืช การสร้างมูลค่าเพิ่ม และทักษะการเป็นผู้ประกอบการฟาร์มพืช
บรรยาย อภิปราย ทำงานกลุ่ม ระดมความคิด นำเสนอหน้าชั้นเรียน วิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้สืบค้นบทความวิจัยที่น่าสนใจ สรุปและแสดงความคิดเห็นต่อบทความนั้นๆ
ทดสอบประเมินผลการศึกษาย่อย กลางภาค และปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี และประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก problem based learning
สามารถวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ริเริ่มคิดสร้างสรรค์ เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหา
มอบหมายให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ปัญหา การนำเสนอผลงาน และวิเคราะห์กรณีศึกษาในการวางแผน การตัดสินใจ ข้อมูลสารสนเทศน์ และข้อจำกัดของเทคโนโลยี
การประเมินผลการนำเสนอโครงงานที่ได้รับมอบหมายหน้าชั้นเรียน และประเมินผลการสอบกลางและปลายภาคเรียน
มีภาวะผู้นำ มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะต่อบุคคลอื่นและสังคม
จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา มอบหมายรานงานกลุ่ม และการนำเสนอกลุ่ม
ประเมินผลจากพฤติกรรมการแสดงออกในชั้นเรียน การร่วมกิจกรรมกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย
มีทักษะสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม และทันสมัยมาใช้ประกอบการวิเคราะห์และนำเสนอแนวคิด วงแผน หรือวิเคราะห์กรณ๊ศึกษาในชั้นเรียน
มอบหมายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในรูปแบบงานเดี่ยว จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และนำเสนอหน้าชั้นเรียนด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมและน่าสนใจ
ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือมีการวิเคราะห์เชิงตัวเลขในการนำเสนอข้อมูล
สามารถปฏิบัติงานทางวิขาชีพและพัฒนาตนเองได้
จัดการเรียนการสอนที่หลากหลายแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
ประเมินผลตามจากงานและทักษะปฏิบัติที่ได้รับมอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | 1. คุณธรรมจริยธรรม | 2. ความรู้ | 3. ทกษะทางปัญญา | 4. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ | 5. ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตาม จรรยาบรรณวิชาชีพ | มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพที่เรียนอย่างถ่องแท้ และเป็นระบบ ทั้งหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง | สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และคิดแบบองค์รวม | มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสา ธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคมสามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไข สถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม | มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการ สื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
1 | BSCAG601 | ผู้ประกอบการฟาร์มพืช |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับฟาร์มพืช การจัดการและเศรษฐกิจการเกษตร ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง สภาวะแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการฟาร์ม การใช้ข้อมูลสารสนเทศ การวางแผนการผลิตและงบประมาณฟาร์มพืช การบริหารจัดการฟาร์มพืช การบันทึกกิจกรรมและระบบบัญชีภายในฟาร์มพืช และการวิเคราะห์ผลการดำเนินกิจการฟาร์มพืช | สอบกลางภาค | 7 | 25% |
2 | มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดเชิงออกแบบ การเป็นผู้ประกอบการฟาร์มพืช การจัดทำโมเดลและแผนธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ การตลาดสำหรับผู้ประกอบการ การจัดการการเงินและทรัพยากรบุคคลสำหรับผู้ประกอบการ การจัดการความเสี่ยงสำหรับผู้ประกอบการ การพัฒนาสินค้าภายใต้นโยบายระบบเศรษฐกิจ BCG และจริยธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคม และธรรมาภิบาลผู้ประกอบการ | สอบปลายภาค | 17 | 25% |
3 | มีความสามารถในการประเมินตามการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางการเกษตร เศรษฐศาสตร์การผลิต การวางแผนการผลิตและงบประมานของฟาร์ม การบันทึกกิจกรรมและระบบบัญชีภายในฟาร์ม การวิเคราะห์ผลการดำเนินกิจการฟาร์มพืช การคิดเชิงออกแบบ แผนการดำเนินงาน การจัดทำโมเดลธุรกิจ SWOT Analysis & TOWS matrix แผนการตลาด และแผนการเงิน การประเมินความเสี่ยงทางธุรกิจ การจัดทำแผนธุรกิจ การพัฒนาสินค้าภายใต้นโยบายระบบเศรษฐกิจ BCG แและนำเสนอแผนธุรกิจสนใจ | บทปฏิบัติการ | ตลอดภาคการศึกษา | 20% |
4 | มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ และมีทักษะในการทำงานเป็นทีม และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนองานได้อย่างเหมาะสม | นำเสนอหน้าชั้นเรียนในหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย | 16 | 10% |
5 | มีจรรยาบรรณวิชาการและวิชาชีพ | การเข้าเรียนและมีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆของรายวิชา | ตลอดภาคการศึกษา | 10% |
6 | มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ วางแผน วิจารณ์ และแสดงความคิดเห็น เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในฟาร์มพืช | รายงานหรือชิ้นงานที่ได้รับมอบหมายแก่นักศึกษาในชั่วโมงเรียนภาคทฤษฎีและปฏิบัติการ | ตลอดภาคการศึกษา | 10% |
1. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2563). เอกสารคำสอนชุดวิชา การจัดการฟาร์ม: หน่วยที่ 1-7. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
2. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2563). เอกสารคำสอนชุดวิชา การจัดการฟาร์ม: หน่วยที่ 8-15. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
3. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2564). เอกสารคำสอนชุดวิชา การสร้างธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ: หน่วยที่ 1-7. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
4. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2564). เอกสารคำสอนชุดวิชา การสร้างธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ: หน่วยที่ 8-15. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
5. สิริลักษณ์ พิชัยณรงค์. (2565). การเป็นผู้ประกอบการ Entrepreneurships. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรเกษตร์, กรุงเทพฯ
2. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2563). เอกสารคำสอนชุดวิชา การจัดการฟาร์ม: หน่วยที่ 8-15. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
3. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2564). เอกสารคำสอนชุดวิชา การสร้างธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ: หน่วยที่ 1-7. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
4. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2564). เอกสารคำสอนชุดวิชา การสร้างธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ: หน่วยที่ 8-15. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
5. สิริลักษณ์ พิชัยณรงค์. (2565). การเป็นผู้ประกอบการ Entrepreneurships. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรเกษตร์, กรุงเทพฯ
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอผ่านกลุ่ม Microsoft team ที่ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางสื่อสารกับนักศึกษา
2.1 ผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
2.2 รายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียนของนักศึกษา
3.1 สัมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยผู้สอนท่านอื่นหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มิใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้ข้อสอบ และคะแนนพฤติกรรม
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือจามข้อเสนอแนะและผลการทบทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือเพิ่มผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ