วิศวกรรมงานหล่อโลหะ

Foundry Engineering

๑.๑. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการและกรรมวิธีการหล่อโลหะต่างๆ แบบหล่อทราย  การทดสอบคุณสมบัติของทราย การทำแบบหล่อ  และไส้แบบทรายชนิดต่างๆ กลไกการแข็งตัวของน้ำโลหะ ระบบจ่ายน้ำโลหะ  การออกแบบรู้ล้น   วัสดุที่ใช้ในงานหล่อ  การหลอมและเทน้ำโลหะ  การทำความสะอาดและตรวจคุณภาพงานหล่อ
๑.๒. มีเจตคติที่ดีและใช้ความรู้ทางวิศวกรรมงานหล่อ ไปประยุกต์ในงานวิศวกรรมได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ       และทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
ทางด้านวิศวกรรมงานหล่อ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปแก้ปัญหาและประยุกต์กับวิชาชีพและเทคโนโลยี
ใหม่ในด้านงานหล่อได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการและกรรมวิธีการหล่อโลหะต่างๆ แบบหล่อทราย  การทดสอบคุณสมบัติของทราย การทำแบบหล่อ  และไส้แบบทรายชนิดต่างๆ กลไกการแข็งตัวของน้ำโลหะ ระบบจ่ายน้ำโลหะ  การออกแบบรู้ล้น   วัสดุที่ใช้ในงานหล่อ  การหลอมและเทน้ำโลหะ  การทำความสะอาดและตรวจคุณภาพงานหล่อ
๑.๑ คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
๑.๑.๑ มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบวินัยและ
ข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
๑.๑.๒มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อ
ขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า
และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
๑.๒ วิธีการสอน
๑.๒.๑ อาจารย์บรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับนักศึกษา
๑.๒.๒ มอบหมายงานรายบุคคลและรายกลุ่ม
๑.๒.๓ สอดแทรกแนวคิดเรื่องระเบียบวินัย ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการเคารพ
ระเบียบข้อบังคับ โดยยกตัวอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่นการเข้าเรียนตรงต่อ
เวลา มารยาทการใช้อุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น
๑.๓ วิธีการประเมินผล
๑.๓.๑ ประเมินผลจากการเข้าเรียน
๑.๓.๒ ประเมินผลการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตและตรงเวลา
๑.๓.๓ สังเกตพฤติกรรมการตอบข้อซักถามและการยกตัวอย่างเปรียบเทียบใน ด้านการ
รักษากฎระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกันในสังคมองค์กรให้เห็นความมีคุณค่า มีเกียรติ รู้สึกภูมิใจใน
ตนเองและสถาบัน
๒.๑ ความรู้ ที่ต้องได้รับ
๒.๑.๑ มีความรู้และความเข้าใจในเชิงทฤษฏีทางด้านงานหล่อโลหะ เพื่อการประยุกต์ใช้กับทางด้านวิศวกรรมงานหล่อชั้นสูง
๒.๑.๒ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญในเชิงปฏิบัติด้านทางวิศวกรรมงานหล่อ
๒.๒ วิธีการสอน
๒.๒.๑ บรรยายหลักการ ทฤษฎี ตามคำอธิบายรายวิชา อภิปรายระหว่างอาจารย์และ
นักศึกษา
๒.๒.๒ ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานโลหะเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
๒.๒.๓ มอบหมายงานตามใบปฏิบัติงาน
๒.๒.๔สรุปเนื้อหาบทเรียนร่วมกับนักศึกษา
๒.๓ วิธีการประเมินผล
๒.๓.๑ งานที่มอบหมาย สอบกลางภาค และสอบปลายภาคด้วยข้อสอบ
๓.๑ ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
๓.๑.๑ มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
๓.๑.๒ สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
๓.๒ วิธีการสอน
๓.๒.๑ บรรยายประกอบกับการแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกัน
๓.๓ วิธีการประเมินผล
๓.๓.๑ พิจารณาจากผลงานที่มอบหมาย
๓.๓.๒ สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
๔.๑ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
๔.๑.๑ รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานที่มอบหมายทั้งบุคคลและ
กลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะกับความรับผิดชอบ
๔.๒วิธีการสอน
๔.๒.๑ มอบหมายงานให้ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม, รายบุคคล และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
๔.๓ วิธีการประเมินผล
๔.๓.๑ ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย
๔.๓.๒ สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียน
๕.๑ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
๕.๑.๑ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่าง
เหมาะสมและมีประสิทธิภาพประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
๕.๒ วิธีการสอน
๕.๒.๑ โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
๕.๒.๒ อภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
๕.๒.๓ อธิบายวิธีการใช้เครื่องคำนวณในส่วนของเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
๕.๓ วิธีการประเมินผล
๕.๓.๑ ผลจากการประเมินการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
๕.๓.๒ ผลจากการสังเกตพฤติกรรม ในการทำงานรายบุคคลและกลุ่ม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการเสนอแนวความคิดและอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน การส่งงานตามที่มอบหมาย การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค ๘ , ๑๗ การสอบกลางภาค 20 คะแนน , การสอบปลายภาค 20 คะแนน , การส่งงานตามที่มอบหมาย 50 คะแนน , การเข้าชั้นเรียน 10 คะแนน
     ธวัชชัย   ทรงปัญญาวุฒิ, เทคโนโลยีการหล่อโลหะ,2554
ไม่มี
ตำราหรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมการหล่อโลหะ เช่น

ประยูร เกตุกราย, หล่อโลหะภาคผลิต, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น), 2523.  Nagoya International Traning Center Japan Internation Cooperation Agency (JICA)., FOUNDRY ENGINEERING
๗.๑ กลยุทธการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา
                      ๗.๑.๑ แบบประเมินอาจารย์ผู้สอนและแบบประเมินนักศึกษา     
๗.๒ กลยุทธการประเมินการสอน
                      ๗.๒.๑  การสังเกตจากการเรียนการสอน
                      ๗.๒.๒ ผลการสอบ
๗.๓ การปรับปรุงการสอน
                      ๗.๓.๑ การวิจัยในชั้นเรียน
๗.๔ การทบสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
                  ๗.๔.๑ การประเมินผลการเรียนของนักศึกษาโดยออกระดับผลการเรียนให้กับนักศึกษาตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
                  ๗.๔.๒ รายงานผลการเรียนต่อฝ่ายทะเบียนและวัดผล
๗.๕ การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
                      ๗.๕.๑ ปรับปรุงแนวการสอนจากผลการเมินของนักศึกษาทุกๆปี