โรคพืชและการควบคุม

Plant Diseases and Their Controls

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความสำคัญและการพัฒนาการของโรคพืชที่มีผลต่อการเกษตร เชื้อสาเหตุ การแพร่ระบาด กลไกการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุ อาการของโรค การวินิจฉัยโรค การพยากรณ์โรค ระบบการป้องกันตนเองของพืช และการควบคุมโรคพืชด้วยวิธีการต่างๆ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการควบคุมโรคเพื่อทันต่อสถานการณ์การพัฒนาของโรค มาตรการสุขออนามัยพืช และมีทักษะในการจัดการโรคพืชในระบบการเกษตรอย่างยั่งยืน
เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพทางพืชศาสตร์ ให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในวัฏจักรการเกิดโรคพืช สาเหตุ การแพร่ระบาดของโรค โรคพืชที่สำคัญในพืชเศรษฐกิจ ตลอดจนการจัดการควบคุมโรคพืช 
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญของโรคพืชและผลกระทบที่สำคัญต่อผลผลิตทางการเกษตร ชนิดของเชื้อสาเหตุ กลไกการเข้าทำลายพืช ลักษณะอาการของโรค ระบาดวิทยา การวินิจฉัยโรค ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพืชกับเชื้อโรค กลไกการป้องกันตนเองของพืช การควบคุมโรคพืชด้วยวิธีการต่าง ๆ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการควบคุมโรค เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์การพัฒนาการของโรค และ มาตรการสุขอนามัยพืช
75
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้ 1. มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม 2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 4. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- บรรยาย กรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคพืช - มอบหมายงานให้ทำส่ง กำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการส่งงาน เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบ - ให้มีการนำเสนองานค้นคว้าตามกลุ่มกิจกรรมดูความร่วมมือในกลุ่มและการอ้างอิงของเอกสารที่ค้นคว้า - ในการสอบย่อยสังเกตพฤติกรรมในการสอบทุกครั้ง - ผู้สอนปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ การมีวินัยเรื่องเวลา การเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา การเคารพและให้เกียรติแก่ผู้อื่น
- ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงตามขอบเขตระยะเวลาที่กำหนดให้ - ตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน ความพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าเรียนและร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร - ประเมินความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ - ความรับผิดชอบหน้าที่ของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมาย - จากผลงานที่ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นหรือมีการอ้างอิงเอกสารทางวิชาการเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของผลงาน - จากพฤติกรรมในการทำงานในชั้นเรียนที่ไม่เลือกปฏิบัติและการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น  แก้ไข
1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักปฏิบัติ ในเนื้อหาที่ศึกษาด้านโรคพืชและวิธีการควบคุม 2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสาขาโรคพืช
1. บรรยาย มอบหมายงาน ค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเองในเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง นำมาสรุปและเขียนรายงาน 2. ปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการและภาคสนาม 3. การทำงานกลุ่มเพื่อศึกษางานด้านโรคพืชทางการเกษตรโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  แก้ไข
1. ทดสอบย่อย ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2. สอบกลางภาค สอบปลายภาค สอบภาคปฏิบัติ 3. ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล รายบุคคลและงานกลุ่ม
1. มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ  แก้ไข
1. มอบหมายการค้นคว้าข้อมูลโรคพืชทางการเกษตรจากตัวอย่างจริง และนำมาเรียบเรียงเป็นรายงานโรคพืชตามชนิดพืชที่ปลูก 2. ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียน การแสดงความคิดเห็นต่อกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้ และระดมสมองในการแก้ไขปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือ มีความเป็นไปได้ ตามหลักความเป็นเหตุเป็นผล
1. นำเสนอรายงานในชั้นเรียน 2. การถาม-ตอบในชั้นเรียน 3. การสอบย่อย สอบกลางภาค และปลายภาค
1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3 สามารถทำงานเป็นกลุ่มและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
1 มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด 2 กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่ม อย่างชัดเจน
1 ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน สังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรม 2 ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา 3 ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านความรับผิดชอบ
1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศตามพื้นฐานในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
1 ใช้ PowerPoint เพื่อการนำเสนอข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต 2 แนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งอินเตอร์เน็ตที่น่าเชื่อถือ 3 มอบหมายงานเพื่อให้มีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 4 ให้มีการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายโดยการใช้สื่อหรือเทคโนโลยี  แก้ไข
1 ประเมินทักษะการนำเสนอด้วยสื่อสารสนเทศที่เหมาะสมจากงานที่ได้รับมอบหมาย 2 ประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลด้วยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง
ปฏิบัติการในห้องทดลองและปฏิบัติภาคสนาม
ทดสอบภาคปฏิบัติ 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสาารสนเทศ 3. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2 1
1 BSCAG604 โรคพืชและการควบคุม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ตามหัวข้อที่ 9 และ 17 60%
2 ประเมินผลงานการทำ การนำเสนอหน้าชั้นเรียน การส่งงานตามที่มอบหมายรายบุคคล ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 การเข้าชั้นเรียน (บันทึกเวลาการมาเรียน) สังเกตพฤติกรรมจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
คณาจารย์สาขาวิชาโรคพืช. 2561. โรคพืชวิทยา. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เวปไซต์เกี่ยวกับโรคพืช
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
ประเมินจากผลการสอบและการทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ 
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงกิจกรรมในการสอนให้มากขึ้น เช่น ทักษะในการปฏิบัติและวินิจฉัยจากตัวอย่างจริงที่มีความหลากหลายมากขึ้น
สาขามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
ปรับปรุงรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4