การเลี้ยงสัตว์น้ำ

Aquatic Animal Culture

1. เพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเลี้ยงสัตว์น้ำ การจัดการและการตลาด
2. เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานเลี้ยงสัตว์น้ำโดยการประยุกต์ใช้หลักการต่างๆ ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติ
3. เพื่อให้มีเจตคติที่ดี และยึดถือเป็นแนวปฏิบัติสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำ
1. เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ศาสตร์ความรู้ใหม่ๆ และแนวการปฏิบัติที่ดีด้านการเลี้ยงสัตว์น้ำ
2. เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีความสอดคล้องกับประสบการณ์ทางวิชาการและวิชาชีพ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการวางแผนการผลิต ระบบและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์น้ำ การเตรียมพื้นที่เลี้ยงสัตว์น้ำ การเตรียมลูกพันธุ์สัตว์น้ำ การเลี้ยงและการจัดการ การจับลำเลียง และการตลาด
จัดให้นักศึกษาเข้าพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการที่เกี่ยวข้องสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ใช้วิธีนักศึกษานัดหมายอาจารย์ล่วงหน้า หรือแจ้งผ่าน facebook หรือ e-mail: ruangpun_s@hotmail.com โดยกำหนดเวลาการให้คำปรึกษาระหว่าง 17:00 – 18.00 น. ทุกวัน
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.1 มีคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ 1.2  มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาการตรงต่อเวลาที่กำหนด และแนะนำถึงผลดีของการตรงต่อเวลา  ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์   - อาจารย์ผู้สอนปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้นักศึกษามีระเบียบวินัยในการเข้าชั้นเรียน โดยอาจารย์เข้าชั้นเรียนตรงต่อเวลา และเลิกชั้นเรียนตรงต่อเวลา                      - การบรรยายเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์                                                                                                - - การไม่ทุจริตในการสอบหรือการลอกการบ้านหรืองานของผู้อื่น
- สังเกตพฤติกรรมการเข้าเรียน มีการตรวจสอบรายชื่อผู้เข้าชั้นเรียน - ส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงตามกำหนดเวลา - ความพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร   - มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม  - พฤติกรรมในการทำงานในชั้นเรียนที่ไม่เลือกปฏิบัติและการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพที่เรียนอย่าง ถ่องแท้และเป็นระบบ ทั้งหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 2.2 มีความรอบรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
- การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย                                                                                                                                                                   - โครงงานและแผนงานเลี้ยงสัตว์น้ำ (Project-based learning)                                                                                                                              - การตอบปัญหาในชั้นเรียน - การแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา - การฝึกระดมสมองในการแก้ไขปัญหา - ปฏิบัติการเลี้ยงสัตว์น้ำ
- ข้อสอบอัตนัย - ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน  - การสอบย่อย (Quiz)  - การสอบกลางภาคและปลายภาค  - การนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม - การทำรายงานสรุปผลการฝึกประสบการณ์เลี้ยงสัตว์น้ำ
3.1 สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม 3.2 สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ 3.3 ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
- ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา - การเรียนรู้ด้วยโครงงาน Project-based learning                                                                                                                                               - การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผล และนำเสนอผลงานกิจกรรมการเรียนรู้
- ประเมินจากการตอบข้อซักถามในชั้นเรียนและการปฏิบัติงาน - การสอบย่อย (Quiz)  - การสอบกลางภาคและปลายภาค  - การอภิปรายในชั้นเรียน - การนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม
4.1  ภาวะผู้นำ หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม 4.2  มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม
- สอนโดยมีกิจกรรมเสริมในชั้นเรียน มีกิจกรรมทำงานเป็นกลุ่มและมีหัวหน้ากลุ่มเป็นผู้ประสานงานตามที่ได้รับมอบหมาย - การเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามภาระงานที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานกับผู้อื่นได้ 
- พฤติกรรมการแสดงออกอย่างมีส่วนร่วมในชั้นเรียน                     - การนำเสนอรายงานของนักศึกษาทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม - แบบประเมินตนเองในชั้นเรียน
5.1  มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง  พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน 5.2  มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การใช้เครื่องมือสารสนเทศในการสืบค้น และนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายทั้งในชั้นเรียน และทางอินเตอร์เน็ต - การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล - การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- เทคนิคการนำเสนอผ่านการรายงานหน้าชั้นเรียน และสื่อทางอินเตอร์เน็ต - การสอบย่อย (Quiz) ในชั้นเรียน - การซักถามขั้นตอนการค้นคว้ารวบรวมข้อมูล การประมวลผลและแปลความหมายข้อมูลของผลงานที่มอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. จรรยาบรรณ 1. มีความรู้ในวิชาชีพ 2. มีความรอบรู้ 1. คิดและวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ 2.. คิดริเริ่ม สร้างสรรค์ 3. ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ 1. ภาวะผู้นำ 2. จิตอาสาและสำนึกสาธารณะ 1. ทักษะการสื่อสาร 2. ทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา สังเกตพฤติกรรมการเข้าเรียน ตรงต่อเวลา รับผิดชอบในหน้าที่และการทำงาน ความซื่อสัตย์จากการทำงาน ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น หรือมีการอ้างอิงผลงานทางวิชาการของเจ้าของผลงาน ประเมินจากโครงการ/การนำเสนอรายงาน การเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการทางทฤษฎีเกี่ยวกับระบบและวิธีการเลี้ยงสัตว์น้ำในสถานการณ์ปัจจุบัน มอบหมายงานให้นักศึกษาจัดทำแผนงาน/โครงการ การวิเคราะห์และสรุปผลโครงการ การนำเสนอกิจกรรมตามแผนปฏิบัติงานและโครงการเลี้ยงสัตว์น้ำ จัดทำแผนงานและโครงการเลี้ยงสัตว์น้ำ (Project-based) มอบหมายงานและสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกถึงบทบาทภาวะผู้นำและผู้ตามในระหว่างการเรียน และการปฏิบัติงาน กำหนดกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์น้ำในประเด็นด้านการมีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ จัดกิจกรรมเรียนรู้ทักษะการสื่อสาร จาก project-based learning กิจกรรม project-based learning
1 BSCAG304 การเลี้ยงสัตว์น้ำ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
         1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน           1.2 ทำแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาโดยผู้เรียน           1.3 ทำแบบประเมินตนเอง
2.1 การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การนำเสนอผลงานจากโครงการเพื่อประเมินผลการเรียนรู้
2.4 ผลการประเมินผู้สอน
3.1 ประชุมอาจารย์ในสาขาวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษา และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข 3.2 ปรับปรุงการสอนตามผลการประเมินผู้สอน การประเมินรายวิชา และการประเมินการสอน
4.1 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา เพื่อตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา 4.2 ดำเนินการทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจข้อสอบ ผลงานของนักศึกษา วิธีการให้คะแนนสอบในรายหัวข้อว่ามีความสอดคล้องกับการพัฒนาผลเรียนรู้ของรายวิชาตามแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา 4.3 สรุปผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชา 4.4 ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร แจ้งผลการทวนสอบแก่ผู้รับผิดชอบรายวิชาเพื่อดำเนินการต่อไป
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (มคอ. 5) เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชาเอก