ปัญหาพิเศษทางการประมง

Special Problems in Fisheries

๑. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้วยกระบวนการวิจัย การทำงานที่มีหลักการและเหตุผล และพัฒนาบุคลิกภาพของความเป็นผู้นำทั้งด้านการตัดสินใจ การสังเกตและการคิดวิเคราะห์          ๒.  เพื่อสามารถค้นหาข้อเท็จจริงสำหรับการแก้ไขปัญหาด้านการประมง และเรียบเรียงเป็นรายงานนำเสนอต่อคณะกรรมการในที่ประชุม    
เพื่อให้นักศึกษาสามารถค้นคว้า รวบรวมข้อมูลในหัวข้อที่น่าสนใจด้านการประมง มาเขียนเป็นโครงการและนำไปปฏิบัติงานทดลองเชิงวิจัยได้อย่างเหมาะสม 
ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการค้นคว้า วิจัยในหัวข้อที่กำลังเป็นที่น่าสนใจด้านการประมง และเรียบเรียงเป็นรายงานนำเสนอต่อคณะที่ประชุม ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ๓-๖ ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความตระหนักและมีความรับผิดชอบต่องานที่ทั้งของตนเองและผลงานของกลุ่ม   มีวินัยต่อการเรียน ส่งมอบงานตามเวลาที่กำหนด มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
กำหนดให้นักศึกษาได้แสดงออกถึงความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม ให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นผู้ตามในแต่ละโอกาส  การแลกเปลี่ยนและยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนร่วมกลุ่ม มีการอ้างอิงเอกสารที่นำมาใช้ในการเขียนรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม  
-  ประเมินจากการส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนด   -  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่   -  ประเมินผลจากรายงานที่นำเสนอ
 มีความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาของข้อมูลที่รวบรวม รวมทั้งสามารถบูรณาการเข้ากับรายวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และสามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีด้านการประมง
เน้นให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักทฤษฎี มีการเรียนรู้เพิ่มเติมจากตัวอย่างในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการนำเสนอรายงานตามลักษณะและเนื้อหาของรายวิชา
 - ประเมินจากการนำเสนอโครงการปัญหาพิเศษ         - ประเมินจากการรายงานความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน         - ประเมินจากการนำเสนอรายงานในที่ประชุม
๑. ให้นักศึกษาฝึกฝนการวิเคราะห์ การทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหาหรืองานอื่นๆ ด้วยตนเอง      ๒. ให้นักศึกษาฝึกฝนการนำความรู้ทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ประสบการณ์ในภาคปฏิบัติมาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนวทางการแก้ไขในประเด็นปัญหาจริง    ๓. ให้มีการนำเสนอความรู้และผลงานจากการปฏิบัติการทดลองเชิงวิจัย เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิด การประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพในการแสดงความคิดเห็น และการนำเสนอรายงานในประเด็นที่ศึกษาทดลองต่อที่ประชุมได้อย่างเป็นระบบ
๑. แนะนำและฝึกกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์เมื่อเริ่มเข้าศึกษาจากโจทย์ตัวอย่างที่แตกต่างกันไปตามลำดับความยากง่ายตามระดับชั้นเรียนที่สูงขึ้น ในแต่ละรายวิชาที่เกี่ยวข้อง        ๒. มอบหมายงานที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาจากโจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองในประเด็นปัญหาจริงด้านการประมง        ๓. จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญา ให้ได้ฝึกคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ใหม่จากความรู้เดิมทั้งในด้านสาขาการประมง และนอกสาขา
๑. ประเมินจากการรายงานผลความก้าวหน้าของโครงการ    ๒. ประเมินจากการนำเสนอรายงานในที่ประชุม
 ๑. การทำงานเป็นกลุ่มซึ่งจะต้องช่วยเหลือแบ่งงานย่อยโดยมอบหมายให้ช่วยกันทำงานมอบหมายให้สำเร็จ        ๒. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ        ๓. ฝึกให้มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามตามบทบาทในแต่ละสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม        ๔. สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง         
๑. ใช้การการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ ซึ่งต้องแนะนำกฎ กติกา มารยาท บทบาทความรับผิดชอบของแต่ละคนในการเรียนรู้ร่วมกัน        ๒. ยกตัวอย่างผลกระทบของทักษะด้านนี้ที่มีต่อตนเองและสังคม
การประเมินจากการแสดงออกอย่างมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และประเมินผลการปฏิบัติงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย
๑. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาของข้อมูลสารสนเทศที่น่าเชื่อถือทั้งในระดับชาติและนานาชาติ      ๒. สรุปประเด็นและสื่อสารทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ    ๓. ระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์แปลความหมายและเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
๑. มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณ โดยผู้สอนต้องแนะนำวิธีการ รวมถึงการติดตามตรวจสอบงาน แก้ไข และการให้คำแนะนำ         ๒. มอบหมายงานที่ต้องมีการเรียบเรียงนำเสนอทั้งในรูปแบบรายงาน ร่วมกับการใช้สื่อประกอบการนำเสนอ         ๓. มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
๑. ประเมินจากผลงานที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายของแต่ละบุคคล หรือกลุ่ม     ๒. ประเมินจากการนำเสนอรายงานผลต่อคณะกรรมการในที่ประชุม ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม     ๓. ประเมินทักษะการสื่อสารด้วยการเขียนจากรายงานแต่ละบุคคลหรือรายงานกลุ่มในส่วนที่รับผิดชอบ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. จรรยาบรรณ 1. มีความรู้ในวิชาชีพ 2. มีความรอบรู้ 1. คิดและวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ 2. คิดริเริ่ม สร้างสรรค์ 3. ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ 1. ภาวะผู้นำ 2. จิตอาสาและสำนึกสาธารณะ 1. ทักษะการสื่อสาร 2. ทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา สังเกตพฤติกรรมการเข้าเรียน ตรงต่อเวลา รับผิดชอบในหน้าที่และการทำงาน มีกิจกรรมกลุ่มที่แสดงออกให้เห็นถึงความซื่อสัตย์จากการทำงาน ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น หรือมีการอ้างอิงผลงานทางวิชาการของเจ้าของผลงาน การเสนอแผนงาน/โครงการจากการประยุกต์ใช้หลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติในสภาพจริง การนำเสนอรายงานผลการจัดทำแผนงาน/โครงการ กรณีศึกษาทางการเกษตรเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง การประเมินข้อมูลและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย การเลือกใช้ความรู้ที่เรียนมาแก้ไขโจทย์ปัญหาที่กำหนด การปฏิบัติจริงเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์เฉพาะหน้า กำหนดกิจกรรมที่มีการทำงานเป็นกลุ่ม มอบหมายงานที่ต้องค้นคว้าประสานงานกับผู้อื่น และสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกถึงบทบาทภาวะผู้นำและผู้ตามในระหว่างทำกิจกรรม และการปฏิบัติงาน กำหนดกิจกรรมด้วยเงื่อนไขของการนำเสนอความคิดเห็นที่บ่งชี้ถึงความมีจิตสำนึกห่วงใยสังคม สิ่งแวดล้อมและสาธารณสมบัติ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย กรณีศึกษาจากการปฏิบัติงานจริง เรียนรู้ทักษะการสื่อสาร จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย กรณีศึกษาจากการปฏิบัติงานจริง นำเสนอกระบวนการแก้ไขปัญหา และสื่อสารนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม
1 BSCAG315 ปัญหาพิเศษทางการประมง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ๑.๑ การประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบ ตลอดภาคการศึกษา ๑๐ %
2 ๑.๑, ๒.๑ ๓.๑, ๔.๑ กระบวนการวิจัย ๑-๑๕ ๑๕ %
3 ๑.๑, ๒.๑., ๓.๑, ๔.๑ ๕.๑ การนำเสนอโครงร่างและปัญหาพิเศษ ๗, ๑๖ ๓๐ %
4 ๑.๑, ๔.๑., ๕.๑ รายงานปัญหาพิเศษ ๑๗ ๔๕ %
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2538. คู่มือวิทยานิพนธ์สายวิทยาศาสตร์. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิย์, กรุงเทพฯ. 71 น.                                                        มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง. 2550. คู่มือปัญหาพิเศษ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.  2550). 78 น.        
ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และ ดิเรก ศรีสุโข. 2537. การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณืมหาวิทยาลัย.
สุภัททา ปิณฑะแพทย์. การศึกษาวิชาปัญหาพิเศษ. [สืบค้นใน] http://www.supatta.haysamy.com/specialstudy.html (10 ตุลาคม 2555)  
บทความ/รายงานวิจัย/รายงานผลการทดลองด้านการประมงจากเว็บไซต์ต่างๆ  ตามความเหมาะสมของเหตุการณ์และความเป็นปัจจุบัน
   ให้นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับและเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยแบบประเมินผู้สอน และการอภิปรายระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
๒.๑  การสังเกตพฤติกรรม  การตอบสนอง  การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
        ๒.๒  ผลการเรียนของนักศึกษา
        ๒.๓  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ ๒ จึงมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้                                                                                                    อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาทุกภาคการศึกษา เฉพาะในรายวิชาที่มีปัญหาให้มีการทำวิจัยในชั้นเรียนมีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยการตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
คณะมีระบบการทบทวนประสิทธิผลรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของสาขา  การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผล ของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชาเพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรทุก ๕ ปี