การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น

Fundamentals of Programming

 
- เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจลักษณะการทำงานของวิธีการทางคอมพิวเตอร์ 

- เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น

- สามารถประยุกต์ใช้งานตามแนวคิดการพัฒนาโปรแกรมทางระบบคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการทั่วไปเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม หลักการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ การเขียนขั้นตอนวิธีและเขียนผังงาน องค์ประกอบของประโยคคำสั่ง เช่น ตัวแปร ค่าคงที่ เครื่องหมายกระทำการ นิพจน์ ฟังก์ชัน เป็นต้น ชนิดของข้อมูลแบบต่าง ๆ โครงสร้างข้อมูลแบบอาร์เรย์ โครงสร้างคำสั่งแบบตามลำดับ เลือกทำ และการวนซ้ำ การสร้างโปรแกรมย่อย รวมถึงการใช้งานโปรแกรมย่อยสำเร็จรูปจากผู้สร้างอื่น โดยการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ในการฝึกปฏิบัติ การใช้เครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรม การตรวจสอบ ทดสอบ และแก้ไขโปรแกรม

Study and practice about general principles of computer programming and problem-solving with computer programs; algorithms and flowchart; programming syntax including variables, parameters, operators, expressions, functions, etc.; various types of data such as array structure, sequence structure, selection structure, and iteration structure; sub-program development; use of third-parties’ sub-program package. Practice by using computer language and application program development tools in development, checking, testing and debugging processes.
วันพุธ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องพักอาจารย์อาคาร 3
1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
2. มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับ ความสำคัญ
4. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
6. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
- กำหนดข้อกำหนดของรายวิชาเช่น การเข้าชั้นเรียน การส่งงาน 
- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 
ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าเรียนและการทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้องและตรงเวลา 
1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ\เละทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญูหา
3. สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบ   ต่าง ๆ ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ตรงตามข้อกำหนด
4. สามารถติดตามความก้าวหน้าและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์
5. รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
6. มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ
7. มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
8. สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศกับความรู้ในศาสตร์  อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- บรรยายเนื้อหาบทเรียนประกอบสื่อการสอน
- เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามในประเด็นที่สงสัยและอภิปราย
- ฝึกปฏิบัติเขียนโปรแกรมตามโจทย์ที่มอบหมาย
-ประเมินจากการสอบกลางภาคและปลายภาค
-ประเมินจากการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
-ประเมินจากงานที่มอบหมาย
1. คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
2. สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อให้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
4. สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
- ยกตัวอย่างพร้อมให้นักศึกษาร่วมอภิปราย แสดงความคิดเห็นภายในชั้นเรียน
- ฝึกปฏิบัติเขียนโปรแกรมตามโจทย์ที่มอบหมาย
- มอบหมายงานและนำเสนอหน้าชั้น  
- ประเมินจากการสอบกลางภาคและปลายภาค
- ประเมินจากการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน การนำเสนองาน
- ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
1. สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
2. สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเเก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
3. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4. มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
5. สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
6. มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องคุณสมบัติต่าง ๆ นี้สามารถวัดระหว่างการทำกิจกรรรมร่วมกัน
มอบหมายงานและนำเสนองานในชั้นเรียน
- ประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน
- ประเมินจากพฤติกรรมขณะนำเสนอผลงาน
1. เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
2. สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
3. ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
- ฝึกปฏิบัติเขียนโปรแกรมตามโจทย์ที่มอบหมาย
- มอบหมายงานและนำเสนอหน้าชั้น
- ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินจากการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอ ความสามารถในการอธิบาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 BSCCT501 การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2 การเข้าชั้นเรียน การส่งงานตรงเวลา ประเมินจากพฤติกรรมขณะทำกิจกรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10%
2 2.1, 2.2, 2.3 การสอบกลางภาคและสอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 8 และ 17 50%
3 2.2, 3.1 ปฏิบัติการที่ได้รับมอบหมาย ทุกสัปดาห์ 10%
4 2.1, 3.1, 4.4, 5.1 รายงานและการนำเสนองาน 16 20%
5 2.1, 2.2 ทดสอบย่อย 5 และ 12 10%
ธีรวัฒน์   ประกอบผล ,2563, การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C, กรุงเทพ ฯ : ซิมพลิฟาย
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์, 2559, การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C,กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชัน
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
- แบบประเมินความพึงพอใจการเรียนการสอน โดยมหาวิทยาลัย   - การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- การพิจารณาผลการเรียนของนักศึกษา
- การพิจารณาผลงานที่มอบหมาย
หลังจากทราบผลการประเมินการสอน จึงมีการปรับปรุงการเรียนการสอน โดย
- รวบรวมปัญหาการเรียนของนักศึกษาและแนวทางแก้ไข โดยพิจารณาจากประเด็นในการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา
- การจัดทำและพัฒนาเอกสารประกอบการสอน
- มีการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักศึกษา เพื่อนำไปพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง
- ให้นักศึกษามีโอกาสตรวจสอบคะแนนก่อนรายงานผลการเรียน
พิจารณาผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา และวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น เช่น การปรับปรุงเนื้อหา ตัวอย่างที่ใช้ในการเรียนการสอนให้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป