จิตวิทยาสำหรับครูวิชาชีพ

Psychology for Vocational Teacher

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีจิตวิทยาพื้นฐาน จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาในชั้นเรียน การจูงใจผู้เรียน จิตวิทยาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ จิตวิทยาวัยรุ่นในสถานศึกษา จิตวิทยาการให้คำปรึกษาและการแนะแนวอาชีพ บทบาทของครูอาชีวศึกษา คุณลักษณะและมาตรฐานวิชาชีพครูอาชีวศึกษา คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครูวิชาชีพ
พัฒนาการประยุกต์หลักการทางจิตวิทยาเพื่อการแนะแนว ให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เต็มศักยภาพและความถนัดรายบุคคล สามารถให้คำแนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ใช้จิตวิทยาเพื่อความเข้าใจและสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีจิตวิทยาพื้นฐาน จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาในชั้นเรียน การจูงใจผู้เรียน จิตวิทยาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ จิตวิทยาวัยรุ่นในสถานศึกษา จิตวิทยาการให้คำปรึกษาและการแนะแนวอาชีพ บทบาทของครูอาชีวศึกษา คุณลักษณะและมาตรฐานวิชาชีพครูอาชีวศึกษา คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครูวิชาชีพ
5 ชั่วโมง/สัปดาห์
(1) มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม  (2) มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ  (3) มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม  (4) เคารพในคุณค่าและศักดี้ศรีของความเป็นมนุษย์
1. สอดแทรกตัวอย่างให้เห็นหน้าที่ความรับผิดชอบของอาชีพวิศวกร และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากไม่ปฏิบัติตาม  2. สอดแทรกแนวคิดเรื่องระเบียบวินัย เคารพระเบียบ ข้อบังคับ เช่น การตรงต่อเวลา มารยาทการใช้อุปกรณ์ การเป็นผู้ฟังที่ดี เป็นต้น  3. ปลูกฝังให้ตระหนักถึงความซื่อสัตย์ กำหนดบทลงโทษ และผลกระทบต่อตนเอง สังคม จากพฤติกรรมดังกล่าว
ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาและการปฏิบัติตนในด้านต่าง ๆ ได้แก่

การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา ที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม ความมีวินัยและความใส่ใจของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้

มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถติดตามความก้าวหน้า ใฝ่รู้ ทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชา ที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

การทดสอบผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานนี้สามารถทำได้โดยการใช้ข้อสอบวัดผลในรายวิชาที่เรียนทั้งการทดสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติตลอดระยะเวลาของหลักสูตร
1. บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน โดยนำมาสรุปและนำเสนอ
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning : WiL)  CDIO :(Conceiving - Designing - Implementing –Operating)  โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา โดยใช้การวัดผล ดังนี้

การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน รายงานที่นักศึกษาจัดทำ งานที่ได้มอบหมาย การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน

      6. แฟ้มสะสมผลงาน
(1) มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
(2) มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
1. การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษ ที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา แล้วนำเสนอผลงาน  2. อภิปรายกลุ่ม  3. วิเคราะห์กรณีศึกษา ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม  4. การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติกรรม
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning)/STEM Education มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น

บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ใขปัญหาในบริบทต่างๆ การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ดำเนินการสอนโดยการกำหนดกิจกรรมกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น หรือค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในงานอาชีพ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
(1)   สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
(2)   มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
(3)   สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรได้เป็นอย่างดี
(4)   มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
(5)   มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
(6)   มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของบุคคลที่ติดต่อสื่อสารด้วย  และสามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น

พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรม Active Learning/Flipped Classroom ที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข   การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้

ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมแต่ละกลุ่ม
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้

ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
เน้นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม ทั้งในบทบาทของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง
ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงาน
สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเองและสังคม
ปฏิบัติตามกฏระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม
ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 8, 16 20% 20%
2 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2, 4.1 – 4.6, 5.3 - 5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาค การศึกษา 50%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาค การศึกษา 10%
ภาวิดา  มหาวงศ์. 2560. จิตวิทยาสำหรับครู. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
- ข้อมูลจากครุสภา - ข้อมูลจากกรมการอาชีวศึกษา
ตำราหรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ จิตวิทยา เช่น - คัคนางค์  มณีศรี. (2556). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ช่อระกาการพิมพ์. - จิราภรณ์  ตั้งกิตติภาภรณ์. (2557). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. - ชนาธิป  พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด ทฤษฎีและการนำไปใช้.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัท วีพริ้นท์ (1991) จำกัด. - ช่อลดา  ติยะบุตร. (2556). จิตวิทยาธุรกิจ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. - ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ .(2558). ศิลปะการสอนเพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บริษัท วีพริ้นท์ (1991) จำกัด. - ณัฐภร  อินทุยศ. (2556). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. - เติมศักดิ์  คทวณิช. (2546). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. - นวลศิริ  เปาโรหิตย์. (2542). จิตวิทยาสังคมเบื้องต้น Introduction to Social Psychology PC 263. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. - นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2558). การแนะแนวเพื่อพัฒนาผู้เรียน. สงขลา: บริษัท นำศิลป์โฆษณาจำกัด.