การจัดการระหว่างประเทศ

International Management

1. เข้าใจเกี่ยวกับระบบการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
2. เข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมและการเมืองซึ่งมีผลต่อการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
3. เข้าใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ทางการจัดการสมัยใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดการของบริษัทข้ามชาติ
4. มีเจตคติที่ดีต่อการจัดการระหว่างประเทศ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานด้านการจัดการระหว่างประเทศ เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจในด้านการจัดการระหว่างประเทศ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในรายวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ยังได้มีการปรับปรุงเนื้อหา กรณีศึกษา และตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับการจัดการสมัยใหม่ และสถานการณ์ทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานของการขยายตัวของธุรกิจระหว่างประเทศ ทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยเกื้อหนุน การขยายตัวของธุรกิจระหว่างประเทศ สภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ กระบวนการทางการจัดการในองค์การระหว่างประเทศ วิธีการลงทุนในต่างประเทศ ผลกระทบจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่มีต่อการจัดการระหว่างประเทศ กลยุทธ์ทางการจัดการสมัยใหม่ กลยุทธ์ในการจัดการสาขาของบริษัทข้ามชาติ
ให้คำปรึกษา 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) ณ ห้องพักอาจารย์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ พิษณุโลก
˜ (1) มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น  
˜ (2) มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
™ (3) มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
™ (4) มีภาวะความเป็นผู้นำ และผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถ แก้ไขข้อขัดแย้ง และลำดับความสำคัญ
™ (5) มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- สอดแทรก อธิบาย และปลูกฝังการมีวินัยต่อตนเอง โดยเน้นให้นักศึกษาเข้าเรียนให้ตรงเวลา การ ส่งงานมอบหมายตามเวลาที่กำหนด การแต่งกายที่ถูกต้องตามกฎระเบียบ
- ปลูกฝังให้นักศึกษามีความเมตตาช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชั้นเรียน มีความเสียสละ และทำคุณประโยชน์ให้กับส่วนรวม
- จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชา
- เรียนรู้จากสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติตามสถานการณ์ควบคู่กับทฤษฎี
- ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ
- ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
- ประเมินจากการเข้าเรียนตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
- สังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
- ปริมาณการทุจริตในการสอบ และการคัดลอกผลงานของผู้อื่น
˜ (1) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญใน เนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนา ความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
˜ (2) มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบาย ความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและ การดำรงชีวิตประจำวัน
˜ (3) มีความรู้และความเข้าในในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
˜ (4) มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน 
- บรรยายเนื้อหา และประเด็นสำคัญตามคำอธิบายรายวิชา ประกอบการยกตัวอย่าง และศึกษากรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับหน่วยเรียน
- จัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- มอบหมายงานตามลักษณะสำคัญของรายวิชา
- ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบทั้งการให้ความรู้ทางทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ การ ถาม-ตอบ และการบรรยายในชั้นเรียน
- สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
- การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
- รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ที่ได้ไปตอบในแบบทดสอบที่กำหนด
- ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนองาน
- ประเมินจากงานที่มอบหมาย
- ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาคเรียน เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้าหน้าชั้นเรียน
˜ (1) สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์ แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
™ (2) สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจาก ทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือก ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
˜ (3) คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
™ (4) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
- อธิบายหลักการ ยกตัวอย่างประกอบเพื่อฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ การวางแผนอย่างสร้างสรรค์ เป็นระบบ มีความเหมาะสม และสามารถประยุกต์ใช้ได้
- ศึกษาค้นคว้า กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย การจำลองสถานการณ์และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม 
- กิจกรรมส่งเสริมการค้นคว้า เอกสารรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- จัดให้ในรายวิชามีกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขา นอกสาขา และเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม
- ประเมินจากการนำเสนอรายงาน การแสดงความคิดเห็น การอภิปรายจากกรณีศึกษา และงานมอบหมาย
- การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิด และวิธีการแก้ปัญหาโดยประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา
- ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
˜ (1) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
™ (2) มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
˜ (3) มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ และในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
- ใช้การสอนโดยสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่าง ๆ 
- จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
- จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
- มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งภายในสถาบันการศึกษาและภายนอกสถาบันการศึกษา
- มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
- การทดสอบย่อย กลางภาค และปลายภาค
- ประเมินจากพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
- ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
- สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming)
- สังเกตการณ์ประเมินผลจากการฝึกงานและการทำสหกิจศึกษาร่วมด้วย
˜ (1) สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
™ (2) สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงาน
และการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
™ (3) สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้ อย่างมีประสิทธิภาพ  
™ (4) สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารในรายวิชา 
- มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่หลากหลาย 
- ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจโดยความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล 
- ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนฐานข้อมูลที่เชื่อถือได้
- บูรณาการการใชคอมพิวเตอร์ เครือข่าย และซอฟท์แวร์หรือสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในรายวิชา
- การทดสอบย่อย กลางภาค และปลายภาค
- ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายแต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
- ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติร่วมกัน
˜ (1) สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
™ (2) สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
™ (3) สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้าม วัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
™ (4) สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล  
- จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
- สร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
- ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลองในสถานการณ์ และความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
- พฤติกรรมที่แสดงออก ในการเข้าร่วมกิจกรรมที่กำหนด
- การนำเสนอผลงาน โดยใช้การสื่อสารในบริบทต่าง ๆ เพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยที่ 1-5 - แบบทดสอบกลางภาค 9 30%
2 หน่วยที่ 6-10 - แบบทดสอบปลายภาค 17 30%
3 ทุกหน่วยการเรียนรู้ - รายงาน และการนำเสนองาน - ประเมินจากงานที่มอบหมาย - การวิเคราะห์กรณีศึกษา - การอภิปรายผลในชั้นเรียน - การตอบคำถาม และความสนใจใฝ่รู้ ตลอดภาคการศึกษา 30%
4 ทุกหน่วยการเรียนรู้ - คุณธรรม จริยธรรม และการเคารพกฎระเบียบในชั้นเรียน - การแต่งกาย การเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลา การเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน - การมีส่วนร่วม ความสนใจ การตอบสนอง ในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
- ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2559). การจัดการระหว่างประเทศ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- วิโรจน์ เดชนำบัญชาชัย. (2548). การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ไม่มี
เว็บไซต์และแหล่งข้อมูลออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาการจัดการระหว่างประเทศ
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- การสะท้อนความคิดจากพฤติกรรมของผู้เรียน
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
- ผลการสอบของนักศึกษา
- ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษา
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
- การวิเคราะห์ข้อมูลแบบประเมินผู้สอน
- แลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอน
- ปรับปรุงเนื้อหาและกรณีศึกษาตัวอย่างบางส่วนให้ทันตามสถานการณ์ปัจจุบัน
- พัฒนาสื่อการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ซึ่งได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการสอบ มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
- การทวนสอบการให้คะแนน จากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่นหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
- มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบ ข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4  
- เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากอาจารย์ท่านอื่น ๆ