การจัดการธุรกิจเพื่อสังคม

Social Business Management

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด รูปแบบ วิธีการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประยุกต์หลักการบริหารธุรกิจที่สามารถนำไปใช้ในธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ ปัญหา อุปสรรค และใช้นวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างความยั่งยืนของธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์และเขียนแผนธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ เพื่อดำเนินงานเพื่อสังคมได้อย่างเหมาะสม  
บูรณาการความรู้และทักษะด้านบริหารธุรกิจร่วมกับศาสตร์อื่น ๆ ในการทํางานผ่านการคิดเชิงสร้างสรรค์ตามคุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการที่ดี
แนวคิดพื้นฐาน รูปแบบ และวิธีการดําเนินงานของธุรกิจเพื่อสังคม การประยุกต์หลักการจัดการธุรกิจที่นําไปใช้ในธุรกิจและกิจการเพื่อสังคม การวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคโดยเน้นการใช้นวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างความยั่งยืน การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม การฝึกเขียนโมเดลทางธุรกิจเพื่อสังคม กรณีศึกษา จากธุรกิจและกิจการเพื่อสังคมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
โดยการแสดงความรับผิดชอบหลัก  (●) และความรับผิดชอบรอง (○)
○ 1.มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสํานึก สาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริต ต่อตนเองและผู้อื่น ● 2. มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสํานึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม ○ 3. มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม ○ 4. มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทํางานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลําดับความสําคัญ   5. มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
อาจารย์ผู้สอนจะบรรยายพร้อมสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ให้ความสำคัญในด้านระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา และการส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่ได้รับมอบหมาย 2.เข้าเรียนให้ตรงต่อเวลาตามเวลานัดหมาย
โดยการแสดงความรับผิดชอบหลัก  (●) และความรับผิดชอบรอง (○)
● 1.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สําคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง ○ 2. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสําคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดํารงชีวิตประจําวัน ○ 3. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสําคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผนการจัดโครงสร้างองค้การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดําเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ   4. มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
1. จัดรูปแบบการสอนที่หลากหลายโดนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ 2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน มอบหมายงานให้ 3. ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก้เพื่อนร่วมชั้นเรียน
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 2. ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย และ การเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมายรายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้าในชั้นเรียน
โดยการแสดงความรับผิดชอบหลัก  (●) และความรับผิดชอบรอง (○)
( ● 1.สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง ○ 2. สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทําให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ ○ 3. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป ○ 4. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
1. กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน  และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงาน 2. การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนรวมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความเห็น
ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
โดยการแสดงความรับผิดชอบหลัก  (●) และความรับผิดชอบรอง (○)
○ 1.มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทํางานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้ ● 2. มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง ○ 3. มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆทั้งในบทบาทของผู้นําและในบทบาทของผู้ร่วมทีมทํางาน
1.สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง 2.จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา 2.สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากรายงานหน้าชั้นเรียน
โดยการแสดงความรับผิดชอบหลัก  (●) และความรับผิดชอบรอง (○)
○ 1.สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจําวัน ● 2. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือ สื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงาน และการนําเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค ○ 3. สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จําเป็นต่อการทําธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ   4. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนําเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุน การดําเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถใช้สารสนเทศ
1. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆจากกรณีศึกษา 2. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรมจริธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ึความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์ตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4
1 BBABA252 การจัดการธุรกิจเพื่อสังคม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1,2.1.2,2.1.3,3.1.1,3.1.2 - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค 8,17 25% 25%
2 1.1.1, 1.1.2, 1.1.3, 1.1.4, 3.1.2, 3.1.3, 3.1.4, 5.1.1, 5.1.2, 5.1.3 - จัดทำโครงงานและการนำเสนอ - การทำงานกลุ่มและผลงาน - การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 4.1.1, 4.1.2, 4.1.3 -สังเกตการณ์เข้าชั้นเรียน - สังเกตการณ์ร่วมกินกรรม ตลอดภาคการศึกษา 10%
- คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ - กิจการเพื่อแก้ปัญหาสังคม www.tseo.or.th สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ - SE Catalog รวมกิจกรรมเพื่อสังคมในไทย สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชาที่กำหนด
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 2. แบบประเมินผู้สอน 3. ข้อเสนอแนะจากนักศึกษาระหว่างเรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
1. การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2. ผลการเรียนของนักศึกษา
3. การทดสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในรายวิชา
ให้นักศึกษาค้นคว้าหา case study ของธุรกิจเพื่อสังคมที่มีรูปแบบที่แตกต่างเพื่อทำการเปรียบเทียบและวิเคราะห์รูปแบบการดำเนินงานและการจัดการ
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการ เรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบกลางภาคและปลายภาค และหลังจากการตัดเกรดผลการเรียนในรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในรายวิชาดังนี้
4.1 การทวนสอบจากการออกข้อสอบ การให้คะแนนสอบ หรืองานที่มอบหมาย และรวมถึงการให้คะแนนพฤติกรรมโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรมระหว่างการเข้าเรียนและการร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการ สอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะผละผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน หรือปรับปรุงกิจกรรม/โครงการ/โครงการที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในการประยุกต์ความรู้นี้กับสถานการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง