กรรมวิธีการผลิต

Manufacturing Processes

1. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงหลักการพื้นฐานของกระบวนการผลิต 2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำหลักการนั้นไปออกแบบและเลือกใช้กรรมวิธีการผลิต เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ตาม ข้อกำหนดและคุณภาพที่ต้องการ 3. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต้อวิชากรรมวิธีการผลิต
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับกรรมวิธีการผลิตพื้นฐานในงานอุตสาหกรรม โดยปรับเน้นให้ผู้เรียนมี การพัฒนาการเรียนรู้ดังนี้ คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ
ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการผลิตขั้นพี้นฐาน การหล่อโลหะ การเชื่อมโลหะ การตัดขึ้นรูปด้วยเครื่องมือกลโรงงาน การขึ้นรูปโลหะโดยการเปลี่ยนรูป การขึ้นรูปโพลิเมอร์ การขึ้นรูปเซรามิก การขึ้นรูปวัสดุคอมโพสิต การออกแบบและวิเครื่องมือในกระบวนการผลิต การผลิตแบบรวดเร็ว ระบบการควบคุมอัติโนมัติในการผลิต และระบบการผลิตสมัยใหม่
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะ รายที่ต้องการ)
1  มีวินัย มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และต่อสังคม 2  ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า ประโยชน์ส่วนตน 3  มีภาวะความเป็นผู้นำ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น 4  รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในศักดิ์ศรี และคุณค่าของความเป็นมนุษย์ 5  มีจรรยาบรรณทางวิชาการ และวิชาชีพ
1  เช็คชื่อการเข้าชั้นเรียน 2  การแต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัยและการปฏิบัติงานตามกฎความปลอดภัย ในการปฏิบัติงาน 3  มอบหมายงานให้ทำการค้นคว้านอกชั้นเรียนและจัดทำเป็นรูปเล่ม
1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงต่อเวลา 2 ประเมินจากการแต่งกายและปฏิบัติงานของนักศึกษา 3 ประเมินผลการนำเสนอรายงานตามที่มอบหมาย
1 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ และทฤษฎีที่สำคัญในสาขาวิชา และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง 2 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชากับความรู้ในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง 3 สามารถประยุกต์ความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ 4 สามารถติดตามความเปลี่ยนแปลงทางวิชาการทั้งศาสตร์ในสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องรวมทั้งนำไปประยุกต์ใช้ได้
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การสาธิต การลงมือปฏิบัติงาน การศึกษาดู งาน โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นหลักการและทฤษฎี 2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือชุดฝึกปฏิบัติ
1 มีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีวิจารณญาณหรือดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ 2 มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ ความเข้าใจในแนวคิด หลักการ และทฤษฎีต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานและการแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 3 สามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสถานการณ์
1 การมอบหมายให้นักศึกษาวางแผนการปฏิบัติงาน และการนำเสนอผลงาน 2 อาจารย์และนักศึกษาร่วมอภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้
1 ประเมินจากการตอบปัญหา และการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 2 ประเมินจากการสอบย่อยและการสอบข้อเขียน
1 มีความสามารถในการทำงานเป็นทีมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ 2 มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 3 มีความสามารถในการปรับตัว ร่วมกิจกรรม และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ 4 สามารถให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
1 จัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน 2 มอบหมายรายงานกลุ่ม และรายบุคคล และการนำเสนอรายงาน
1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด 2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
1 สามารถสื่อสารภาษาไทย ทั้งการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน การสรุปประเด็น และการนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2 สามารถเลือก และใช้รูปแบบการนำเสนอสารสนเทศ ตลอดจนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสถานการณ์ 3 สามารถเลือก และประยุกต์ใช้เทคนิคทางสถิติ หรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
1 การคำนวณหาความเร็วรอบ ความเร็วตัด เวลาในการทำงานเจาะ งานกลึง งานกัด 2 มอบหมายงาน โดยให้ส่งงานทางอีเมล์ล
1 ประเมินผลจากาการทำแบบทดสอบ 2 ประเมินจากการส่งงานทางอีเมล
-
-
-
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 เนื้อหารายวิชาตามแผนการสอน สัปดาห์ที่ 1-3 เนื้อหารายวิชาตามแผนการสอน สัปดาห์ที่ 1-8 เนื้อหารายวิชาตามแผนการสอน สัปดาห์ที่ 10-12 เนื้อหารายวิชาตามแผนการสอน สัปดาห์ที่ 10-16 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 9 13 17 10% 20% 10% 25%
2 คลอบคลุมเนื้อหารายวิชาทั้งหมดตามแผนการสอน วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 - การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นใน ชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 15%
ชาตรี หลักทอง และคณะ . วัสดุวิศวกรรมเบื้องต้น. บริษัทแมคกรอฮิลอินเตอร์เนชั่นแนล ทศพล สังข์อยุทธ์ . ทฤษฎีเครื่องมือกล 1.สระบุรี:โรงพิมพ์เจริญธรรม,2544. ทศพล สังข์อยุทธ์ . ทฤษฎีเครื่องมือกล 2.สระบุรี:โรงพิมพ์เจริญธรรม,2544. บรรเลง ศรนิลและสมนึก วัฒนศรียกุล. ตารางคู่มืองานโลหะ.ศูนย์ผลิตตำราสถาบันเทคโนโลยีพระจอม เกล้าพระนครเหนือ.2549. บุญศักดิ์ ใจจงกิจ . ทฤษฎีงานเครื่องมือกล.กรุงเทพฯ:มปท,มปป. พิชิต เลี่ยมพิพัฒน์.พลาสติก.มปท. 2545. ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์ . เนื้อดินเซรามิก . โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์ : กรุงเทพ ฯ. 2541. มณฑล ฉายอรุณ. วัสดุอุตสาหกรรม. โรงพิมพ์เจริญธรรม : กรุงเทพ ฯ. มปป. มานพ ตันตระบัณฑิตย์. วัสดุวิศวกรรม. ประชาชน : กรุงเทพ ฯ. 2545. วรวิทย์ จันทวรรณโณและคณะ. งานหล่อโลหะ.สกายบุ๊คส์ : กรุงเทพ. 2540. ดร.วัสสนัย วรรธนัจฉริยา. เอกสารประกอบการสอนวิชา กระบวนการผลิต.คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2548. อำพล ซื่อตรงและอนงค์ ที่สงัด .วัสดุช่าง. มปท : กรุงเทพ ฯ. มปป.
-
-
1. จำนวนหรือร้อยละ ของผู้เข้าเรียนในแต่ละครั้ง 2. การสนใจเรียน และการทำกิจกรรมของนักศึกษา 3. การประเมินผู้สอน และประเมินรายวิชา โดยใช้แบบประเมิน
1 ประเมินจากผลการประเมินผู้สอน และผลการเรียนของนักศึกษา 2 การทดสอบความรู้ของผู้เรียน โดยเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน 3 ทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อประเมินการสอน
1 ปรับปรุงการสอน โดยพิจารณาจากผลการประเมินรายวิชาโดยผู้เรียนการสอน นอกจากนี้ 2 หาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อการปรับปรุงการสอน เช่น สำรวจความต้องการในกิจกรรมในการระดมสมอง พัฒนาวิธีการสอนโดยการจัดกิจกรรมประกอบ
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ใน รายวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบ ย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้      - การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำ    หลักสูตร      - มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
1 ปรับปรุงรายวิชาทุกภาคเรียน ตามข้อเสนอแนะ ความต้องการของนักศึกษา จากผลการประเมิน และตามวิวัฒนาการโลกปัจจุบัน 2 ทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา ในระดับหลักสูตร คณะฯ และระกับมหาวิทยาลัยเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย ปรัชญา วิสัยทัศน์พันธกิจ และการประกันคุณภาพการศึกษา