นวัตกรรมการจัดการฟาร์มอัจฉริยะ

Innovation for Smart Farming Management

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นทางไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และดิจิตอลเทคโนโลยีระบบฝังตัว
2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจหลักการเทคโนโลยีระบบฝังตัว อุปกรณ์รับรู้สภาพแวดล้อมทางการเกษตร และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีฟาร์มอัจฉริยะทางการผลิตพืช การผลิตสัตว์ การเพาะเลี้ยงน้ำ อุตสาหกรรมเกษตร
4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติการบริหารจัดการเทคโนโลยีฟาร์มที่เหมาะสม ยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม
5. มีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพเกษตร
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะในสาขาวิชาชีพที่ทันสมัยให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีสารสนเทศตามยุคสมัยและสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประยุกต์ใช้นวัตกรรมฟาร์มอัจฉริยะ ทั้งเทคโนโลยีระบบฝังตัว อุปกรณ์รับรู้สภาพแวดล้อมทางการเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อการผลิตพืช การผลิตสัตว์ การเพาะเลี้ยงน้ำ อุตสาหกรรมเกษตร และการบริหารจัดการเทคโนโลยีฟาร์มที่เหมาะสม ยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นทางไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และดิจิตอลเทคโนโลยีระบบฝังตัว อุปกรณ์รับรู้สภาพแวดล้อมทางการเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาและการประยุกต์ใช้นวัตกรรมฟาร์มอัจฉริยะทางการผลิตพืช การผลิตสัตว์ การเพาะเลี้ยงน้ำ อุตสาหกรรมเกษตร และการบริหารจัดการเทคโนโลยีฟาร์มที่เหมาะสม ยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม Study and practice of the basic knowledge of electricity, electronics, and digital. Embedded system technology, agricultural environment awareness device (sensors), relate information technology, development, and application of smart farm innovation in crop production, animal production, aquaculture/ agro-industry. And management of farm technology that is appropriate, sustainable, and environmentally friendly.
จัดให้นิสิตพบอาจารย์เพื่อขอคําปรึกษาและแนะนําสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง โดยอาจารย์จะแจ้งวันเวลาให้นิสิตทราบ
มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
กําหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงต่อเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ในการสอบ
ร้อยละ 80 ของนักศึกษา เข้าเรียนตรงต่อเวลา
ร้อยละ 80 ของนักศึกษา ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่อาจารย์ผู้สอนกําหนด
ไม่มีการฑุจริตในการสอบ
มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา และประยุกต์ใช้นวัตกรรมฟาร์มอัจฉริยะทางการผลิตพืช การผลิตสัตว์ การเพาะเลี้ยงน้ำ อุตสาหกรรมเกษตร ได้อย่างเหมาะสม ยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม
การบรรยายภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติตามเนื้อหา รวมทั้งการทำรายงานสรุปบทปฏิบัติการและจัดกลุ่มการทำฟาร์มอัจฉริยะ
ทดสอบความเข้าใจแต่ละบทเรียนโดยการสอบ ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และการจัดทำรายงานบทปฏิบัติการกลุ่ม
นักศึกษาต้องสามารถคิด วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา โดยอ้างอิงหลักการและทฤษฎีได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งสามารถสืบค้น วิเคราะห์ และประยุกต์ความรู้ให้สอดคล้องกับสภาพและเทคโนโลยีในปัจจุบันและอนาคต
- ในภาคบรรยายกําหนดหัวข้อให้นักศึกษา ฝึกวิเคราะห์ปัญหา โดยให้ไปค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ รวมทั้งการค้นคว้าจากฐาน ข้อมูล แล้วนํามาอภิปรายในห้องเรียน
- ส่วนภาคปฏิบัติ กําหนดหัวข้องานกลุ่ม กำหนดปัญหาและอุปสรรคจากแบบฝึกหัดโดยใช้ความรู้ในการปฏิบัติการมาแก้ปัญหา และนํามาเฉลยในห้องเรียนเพื่อชี้แนะความถูกต้องและเหมาะสม
ทดสอบโดยข้อเขียน และสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปรายปัญหาในชั้นเรียน
ดูจากรายงาน การนําเสนอรายงานและการมีส่วนร่วมในการเสนอข้อคิดในชั้นเรียน
มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
มีภาวะความเป็นผู้นํา และผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถทํางานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
ให้นักศึกษาทําปฏิบัติการกลุ่มในห้องปฏิบัติการ ทํางานที่ได้รับมอบหมาย นําเสนองานกลุ่ม
ประเมินตนเอง และเพื่อนในชั้นเรียน ด้วยแบบฟอร์มที่กําหนด
ประเมินจากกระบวนการทํางาน และผลงานที่ทําเป็นกลุ่มหรือโครงงาน
สังเกตจากพฤติกรรมนักศึกษารายบุคคล
สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเพิ่มเติม ทํารายงาน นําเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินจากผลงานที่ศึกษาค้นคว้า
ประเมินจากเทคโนโลยีที่เลือกใช้ในการนําเสนอในชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรม จริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 1 1 3 1 2
1 BSCAG012 นวัตกรรมการจัดการฟาร์มอัจฉริยะ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ สอบกลางภาคการศึกษา (ทฤษฎี) 10 20%
2 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ สอบปลายภาคการศึกษา (ทฤษฎี) 17 20%
3 มีความรับผิดชอบต่อบทบาททั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม การเข้าห้องเรียนและสังเกตการแสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 ให้ทดสอบย่อยและปฏิบัติในสถานการณ์จริง ปฏิบัติการและสอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา 40%
5 มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนอผลงานในชั้นเรียน 16 10%
ชัยธวัช จารุทรรศน์. 2565. ระบบการผลิตพืชอัจฉริยะ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง. 84 หน้า.
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
-
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ
-