โครงงานนักศึกษา 2

Student Project 2

1.เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการบูรณาการการเรียนรู้โดยใช้องค์ความรู้ที่เรียนมามาประยุกต์ใช้ในการทำโครงงาน 2. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสื่อสาร การใช้ภาษา ผ่านการนำเสนอผลงาน
ปฏิบัติโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานภายใต้การให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ที่ปรึกษา การสร้างกระบวนการเรียนรู้จากครูเกื้อหนุน โดยผู้เรียนต้องจัดทำรายงานความก้าวหน้าและสอบโดยคณะกรรมการ การวัดผลและประเมินผลต้องประเมินจาก อาจารย์ที่ปรึกษา ครูเกื้อหนุน และคณะกรรมการตามสัดส่วนที่เหมาะสม  
ปฏิบัติโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานภายใต้การให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ที่ปรึกษา การสร้างกระบวนการเรียนรู้จากครูเกื้อหนุน โดยผู้เรียนต้องจัดทำรายงานความก้าวหน้าและสอบโดยคณะกรรมการ การวัดผลและประเมินผลต้องประเมินจาก อาจารย์ที่ปรึกษา ครูเกื้อหนุน และคณะกรรมการตามสัดส่วนที่เหมาะสม
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 5 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อย 5 ข้อตามที่ระบุไว้ 1.1.1  มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.3  สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นในการสอนรายวิชาของสาขาวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพยังได้สอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวกับจริยธรรม กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับวิชาชีพวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ และจรรยาบรรณวิศวกรในการสอนด้วย อาจารย์ผู้สอนจะต้องจัดให้มีการวัดมาตรฐานในด้านคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นข้อสอบ อาจจะวัดพฤติกรรมระหว่างทำกิจกรรมที่กำหนดมีการกำหนดคะแนนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนความประพฤติของนักศึกษา
1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรู้จากวิชาการเรียนรู้ปัญหาในงานวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ เช่น การทำการเกษตรในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นต้น 1.2.2 ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดในห้องเรียนและให้การบ้านหลังจากจบคาบเรียน กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง  แก้ไข
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2   ประเมินจากผลการทำแบบทดสอบในห้องเรียน  แก้ไข
นักศึกษาด้องมีความรู้เกี่ยวกับสาขาวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษานั้นต้องเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้ 2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 
บรรยาย  อภิปราย ทำแบบทดสอบฝึกปฏิบัติ และมอบหมายให้ค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยนำมาสรุป จัดทำรายงานและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ให้นักศึกษานำเสนอโครงร่างวิศวกรรมที่ตนสนใจ 
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้ว ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้ในสาขาวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ ในการสอนอาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้ 3.1.1 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.2 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ 
3.2.1 ให้นักศึกษาลงมือทำแบบทดสอบในห้องเรียนและทำการเฉลยแบบทดสอบท้ายคาบเรียนเพื่อให้เกิดแนวคิดในการแก้ปัญหา 3.2.2บรรยายเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงและทำการอภิปรายปัญหาเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกคิดวิธีแก้ปัญหา
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์ที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 3.3.2 วัดผลจากการประเมินแบบทดสอบในคาบเรียน 3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา 3.3.4 โครงงานประจำวิชา
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่นๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่างๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างสอน หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ 
4.2.1  จัดกิจกรรมกลุ่มในการทำแบบทดสอบในชั้นเรียน 4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น ให้นักศึกษาร่วมกันแก้ปัญหาที่ได้จากการบ้าน  
4.3.1   สังเกตการทำงานเป็นกลุ่มของนักศึกษา 4.3.2  ประเมินจากแบบทดสอบในคาบเรียน  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.2.1   บรรยายปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนรู้ปัญหาในงานวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพจากชีวิตประจำวันสอดแทรกระหว่างคาบเรียนเพื่อให้นักศึกษาคุ้นเคยมากขึ้น 5.2.2   ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบ แบบฝึกหัด รวมไปถึงการบ้านซึ่งเกี่ยวข้องกับปัญหาการเรียนรู้ปัญหาในงานวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพจากชีวิตประจำวัน
5.3.1   ประเมินจากการสังเกตนักศึกษาในคาบเรียนว่ามีการตอบสนองกับคำถามอย่างไร 5.3.2   ประเมินจากแบบทดสอบ แบบฝึกหัด รวมไปถึงการบ้านที่นักศึกษาทำ
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญในการทำงาน อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเองและความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิต ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรม ดังข้อต่อไปนี้ (1) มีทักษะในการบริหารจัดกสรด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
บรรยายและยกตัวอย่างประกอบ (ด้านการหางานวิจัยที่เกี่ยว การอ่านสรุปจับใจความ วิธีการวางแผนการทดลองเป็นต้น)
ประเมินจากการรายงานความก้าวหน้า การนำเสนอ และรูปเล่มรายงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGAG126 โครงงานนักศึกษา 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 2.1, 3.1, 4.1, 5.1, 6.1 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 60%
2 1.1, 2.1, 3.1, 4.1, 5.1, 6.1 การสอบหัวข้อโครงงานวิศวกรรมกับกรรมการสอบ ตลอดภาคการศึกษา 40%
คู่มือการทำปริญญานิพนธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
เอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิ์ผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ