สัมมนา 2

Seminar 2

1.1 เพื่อให้สามารถจัดเตรียมความพร้อมในการศึกษาผลงานทางวิชาการ 1.2 เพื่อให้ปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้นคว้าบทความ งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตวัตกรรม หรือ งานที่เกี่ยวกับวิศวกรรมไฟฟ้า 1.3 เพื่อให้สามารถอธิบาย วิธีการเขียน ความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขต ขั้นตอนการดำเนินงานของงานเขียนทางวิชาการได้ 1.4 เพื่อให้สามารถการทำปริทัศน์วรรณกรรม การอภิปรายและวิจารณ์งานเขียนทางวิชาการ การสรุปและ การย่อความ การเขียนงานทางวิชาการ การคัดลอกผลงานของผู้อื่น การนำเสนอปากเปล่า 1.5 เพื่อให้มีจริยธรรมในการนำเสนองานทางวิชาการ
เพื่อให้นักศึกษาปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้นคว้าการรายงานและนำเสนองานเขียนทางวิชาการที่ครอบคลุมด้านวิศวกรรมไฟฟ้าในปัจจุบันหรือกรณีศึกษาจากสถานประกอบการที่นักศึกษาสนใจโดยผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับการรายงานและนำเสนองานเขียนทางวิชาการที่ครอบคลุมด้านวิศวกรรมไฟฟ้าในปัจจุบันหรือกรณีศึกษาจากสถานประกอบการที่นักศึกษาสนใจโดยผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
- อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และหน้าห้องพัก - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
พัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้ดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม รวมทั้งอาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชา ต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้ 1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม 1.2.2 เน้นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และสังคม ทั้งในบทบาทของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม 1.2.3 ให้ความสำคัญในวินัย ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด 1.2.4 เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย 1.2.5 สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม 1.2.6 ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ 1.2.7 ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม 1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร 1.3.3 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ 1.3.4 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา 1.3.5 ประเมิณจากความสามารถในการศึกษางานที่ได้รับมอบหมายและการนำเสนอ 1.3.6 มีการอ้างอิงเอกสารหรือแหล่งที่มาของหลักการทฤษฎีและแนวคิดที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม
มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการทำปริทัศน์วรรณกรรม การอภิปรายและวิจารณ์งานเขียนทางวิชาการ การสรุปและการย่อความ การเขียนงานทางวิชาการ การคัดลอกผลงานของผู้อื่น การนำเสนอปากเปล่า จริยธรรมในการนำเสนองานทางวิชาการ
บรรยาย อภิปราย การทำรายงานและการนำเสนอรายงาน และมอบหมายให้ค้นหาข้อมูลและบทความที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ประเมินจากรายงานความก้าวหน้าโครงงานที่นำเสนอตามระยะเวลาที่กำหนด 2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้
2.3.3 เมื่อสิ้นสุด ต้องนำเสนอและอธิบายงานวิจัยที่ได้ศึกษามา โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสอบโครงงานและได้รับอนุมัติโดยหัวหน้าสาขาวิชาฯอมูลและกรณีศึกษา
พัฒนาความคิด วิเคราะห์ เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญญาและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างเรียนได้อย่างเป็นระบบ และสามารถบูรณาการองค์ความรู้ได้เป็นอย่างดี
3.2.1 การมอบหมายงาน/การบ้าน ที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และการแก้ไขปัญหา 3.2.2 การมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า และรายงาน ทางเอกสาร 3.2.3 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1 ประเมินผลจากการทำงาน/การบ้าน 3.3.2 ประเมินผลจากการนำเสนอรายงาน 3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา การเลือกใช้วิธีการในแก้ไขปัญหาในงาน/การบ้านที่ได้รับมอบหมาย
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 4.1.2 พัฒนาการให้ความร่วมมือในการทำงานทั้งความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานหรือข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา 4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1 มอบหมายงานรายกลุ่มหรือรายบุคคล เช่น การค้นคว้าเนื้อหาวิชาในส่วนของงานวิจัยหรือบทความที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ 4.2.2 การนำเสนอรายงานการศึกษาในชั้นเรียน
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด 4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข 5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในด้านการพูด การฟัง การแปล การเขียน จากการทำรายงานและนำเสนอในชั้นเรียน 5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ผลของรายงาน/การบ้านที่มอบหมายให้ 5.1.4 พัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตอย่างเป็นระบบ 5.1.5 พัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้ ข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาตนเองผู้เรียน และการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม 5.1.6 พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงานโดยสามารถเลือกรูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.1.7 พัฒนาทักษะในการใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษาได้
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลและนำเสนอรายงานได้อย่างเหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการนำเสนอรายงาน 5.3.3 ประเมินจากการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
IEEE Xplore
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม 4.2 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ 5.2 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4