ปัญหาพิเศษในการสอบบัญชี

Special Problem in Auditing

1.1 เพื่อให้นักศึกษาเข้าหลักการและวิธีการสอบบัญชีในสถานการณ์ต่าง ๆ ผ่านการฝึกปฏิบัติหรือมาตรฐานการสอบบัญชี
        1.2 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจประเด็นที่น่าสนใจทางการสอบบัญชีที่อยู่ในความสนใจในปัจจุบัน โดยใช้กรณีศึกษา บทความและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ
        1.3 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการตรวจสอบทุจริต
        1.4 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและตระหนักถึงการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาการใช้หลักการและวิธีการสอบบัญชีในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยเน้นด้านปฏิบัติหรือมาตรฐานการสอบบัญชี ประเด็นที่น่าสนใจทางการสอบบัญชี เช่น การให้ความเชื่อมั่นต่อรายงานความยั่งยืน ปัญหาในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีในธุรกิจประเภทต่าง ๆ และแนวทางการแก้ไข โดยใช้กรณีศึกษา บทความและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ การตรวจสอบทุจริตและจรรยาบรรณวิชาชีพ
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 7 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
1.1 มีความรู้ และความเข้าใจในหลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพบัญชี
1.2 สามารถประยุกต์หลักจริยธรรมพื้นฐานทางวิชาชีพในการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
1.3 แสดงออกถึงความเป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ระมัดระวังรอบคอบในการทำงานและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
บรรยายพร้อมสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน สอดแทรกกรณีศึกษาด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย โดยเช็คชื่อ สังเกตการปฏิบัติตามข้อตกลงในการศึกษารายวิชานี้ เช่นการส่งงาน การเข้าเรียน ความรับผิดชอบในการทำงานที่มอบหมายให้ สังเกตพฤติกรรมในการทำงานที่มอบหมาย ว่าไม่มีการลอกงานเพื่อน
ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม ประเมินจากกรณีศึกษาที่มอบหมายให้จัดทำ และเปรียบเทียบพัฒนาการด้านความเข้าใจในข้อกำหนดจรรยาบรรณ (ก่อนและหลังเรียน) ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมและการเช็คชื่อเข้าเรียน ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมความมีวินัยและความซื่อสัตย์รายบุคคล บันทึกการจัดส่งงานและ ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
1. มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการปฏิบัติงานด้านบัญชี เพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
2. มีความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพียงพอที่จะประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
3. มีความรู้และความเข้สใจในการจัดทำและนำเสนอสารสนเทศทางบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
4. มีความสามารถในการประยุกต์หลักคณิตศาสตร์และสถิติในการประกอบวิชาชีพบัญชี
1. ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา
2. มอบหมายกรณีศึกษา บทความวิชาการ และงานวิจัย เพื่อศึกษาล่วงหน้าก่อนเข้าเรียน และกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการนำการอภิปรายการถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน
3. มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ
4. การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากการฝึกปฏิบัติงานจริงโดยการฝึกตรวจสอบมูลนิธิตามที่ได้รับมอบหมาย
5. มอบหมายหัวข้อให้นักศึกษาไปค้นคว้าเพื่อนำเสนอและอภิปรายในชั้นเรียน
1. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงานการค้นคว้า และการนำเสนอ
2. ประเมินจากกรณีศึกษาที่มอบหมายให้ เช่น Big Data, Financial Model
3) การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ
4)    การประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้ประกอบการจากสถานการณ์จริง และเก็บข้อมูลพฤติกรรมโดยแบบสังเกตและแบบสอบถาม
5) ประเมินโดยการทดสอบย่อยและการสอบถามในห้องเรียน
6) ประเมินตนเองของนักศึกษาโดยใช้แบบสอบถาม
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ การประยุกต์ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาด้วย วิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม 3.1.2มีความสามารถในการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม
3.1.3 มีความสามารถในการเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก 3.1.4 มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงานทางบัญชีในเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์กร และสามารถแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
1.ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
2.สอนโดยใช้กรณีศึกษาและสถานการณ์จริง (มูลนิธิ สมาคม หน่วยธุรกิจ ให้ลองวิเคราะห์ความเสี่ยง
3.สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
1. ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย
2. ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา
3. ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.1.1 มีความอดทน ความรับผิดชอบ ทักษะทางสังคม และจิตสาธารณะ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ วัฒนธรรมองค์กร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น 4.1.2 มีหลักคิดและวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ สามารถทำงานให้สำเร็จ ตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ 4.1.3 มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพการบัญชี
1. มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
2. มอบหมายงาน ข่าว บทความที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3. ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่าง ๆ และให้นำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
4. การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากการฝึกปฏิบัติงานจริงโดยการฝึกตรวจสอบมูลนิธิตามที่ได้รับมอบหมาย
5. มอบหมายหัวข้อให้นักศึกษาไปค้นคว้าเพื่อนำเสนอและอภิปรายในชั้นเรียน
ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
1. ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
2. สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
3. ประเมินโดยการทดสอบย่อยและการสอบถามในห้องเรียน
4. ประเมินตนเองของนักศึกษาโดยใช้แบบสอบถาม
5.1.1 มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพความสามารถเชิงเทคนิคในการวางแผนงานรวมทั้งการใช้ความรู้การควบคุม การประเมินผล และการรายงานผล ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจ เกิดขึ้นจากการตัดสินใจ 5.1.2 มีความสามารถในการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีโดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีในปัจจุบัน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านวิชาชีพบัญชีให้มีประสิทธิภาพ 5.1.3 มีความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน โดยเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับสถานการณ์
1. มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
2. มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3. ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบรายงาน
4. มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
1. ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องเชิงสถิติและคณิตศาสตร์
2. ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
3. ประเมินจากการสอบข้อเขียน
4. ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 3.4 4.1 4.2 4.3 5.1 5.2 5.3
1 BACAC148 ปัญหาพิเศษในการสอบบัญชี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 3.2, 3.3, 4.1, 5.2, 5.3 สอบกลางภาค 9 20%
2 1.1, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 3.2, 3.3, 4.1, 5.2, 5.3 สอบปลายภาค 17 30%
3 1.1, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 3.2, 3.3, 4.1, 5.2, 5.3 มอบหมายกรณีศึกษา และประเมินจากงานที่มอบหมาย 1-17 20%
4 1.1, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 3.2, 3.3, 4.1, 5.2, 5.3 มอบหมาย Special Selected Topic ให้ค้นคว้า 12 20%
5 1.1, 1.4, 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 3.2, 3.3, 4.1, 5.2, 5.3 ประเมินการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน 1-17 10%
1. นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร, การสอบบัญชี, กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วน ที พี เอ็น เพรส , 2566
2.   มาตรฐานการสอบบัญชี ของสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมป์
3.   Auditing : An Integrated Approach ของ Arens A.Alvin and Loebbecke K.Jammes พิมพ์โดย Prentice Hall International, Inc.
บทความในวารสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการตรวจสอบและการบริการให้ความเชื่อมั่น
   ใช้การทดสอบปฏิบัติ  ในแต่ละบท
   ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยในระบบออนไลน์
เน้นให้นักศึกษาเข้าใจถึงหลักปัญหาพิเศษในการสอบบัญชีโดยให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากกระบวนทำงานจริงของสำนักงานสาขาการบัญชี
ให้กรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ เป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบ และ การตัดเกรด
นำผลการประเมินมาประกอบการพิจารณาข้อบกพร่องของวิธีการสอน วิธีการประเมิน และเนื้อหารายวิชา