การสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่น

Auditing and Assurance

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและความสำคัญของการสอบบัญชีที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ
1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ วัตถุประสงค์ ขอบเขต ความรับผิดชอบของของผู้สอบบัญชี ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวกับการสอบบัญชี จรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชี
1.3 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนการสอบบัญชีและการจัดทำแนวการตรวจสอบบัญชี การปฏิบัติงานสอบบัญชี การสอบทานและการควบคุมงานสอบบัญชีตลอดจนเทคนิคและวิธีการตรวจสอบ
 1.4 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสรุปผลการตรวจสอบและการเขียนรายงานของผู้สอบบัญชี
 1.5  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าในเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากร
 1.6 เพื่อฝึกหัดให้นักศึกษานำแนวคิด หลักการและวิธีการสอบบัญชีไปใช้ในการปฏิบัติงาน ด้านการสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่น 
 
2.1 เพิ่มกิจกรรมในห้องเรียนเพื่อให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชีจากสถานการณ์ตัวอย่าง เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ทฤษฎีที่เรียนมาใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้
2.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน และแสดงความคิดเห็นต่อวิธีการสอนของอาจารย์เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาและปรับปรุงรายวิชา โดยผ่านทางเว็ปไซด์ของสาขาการบัญชี
ศีกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับแนวคิดความสำคัญของการสอบบัญชีที่มีต่อระบบเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน วิวัฒนาการและวัตถุประสงค์ของการสอบบัญชี ประเภทของการตรวจสอบ และบริการให้ความเชื่อมั่น กรอบแนวคิดสำหรับงานที่ให้ความเชื่อมั่น บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีในกรณีต่างๆ ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีต่อการทุจริตและข้อผิดพลาด จรรยาบรรณของผู้สอบบัญชี ความเสี่ยงในการสอบบัญชีและการประเมินความเสี่ยง ความมีสาระสำคัญ การวางแผนและการกำหนดแนวทางการตรวจสอบ หลักฐานการสอบบัญชี การเลือกตัวอย่างในการสอบบัญชี การบันทึกผลการตรวจสอบและการจัดทำเอกสารประกอบการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี วิธีการตรวจสอบรายการที่สำคัญในงบการเงินและการเปิดเผยข้อมูล การสรุปผลการตรวจสอบและการจัดทำรายงานการสอบบัญชี และการตรวจสอบและรับรองภาษีอากร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการให้บริการความเชื่อมั่น และการควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชี
อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษาผ่าน Facebook ได้ตลอดเวลา อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.1 คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา                       นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม        มีความระมัดระวังในการใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นักศึกษาควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้   1) มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ     2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม     3) สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม     4) มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม  
1) สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน 2) ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย 3) เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้กับชุมชน 4) การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา
1.ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม 2.ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ 3.ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 4.สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
1.มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี 2.มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม 3.มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ 4.สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
1.ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา 2.การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน 3.มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ 4.การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากการฝึกงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรมและการศึกษาดูงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรม
1) ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงานการค้นคว้า และการนำเสนอ 2) การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ 3) การประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้ประกอบการจากสถานการณ์จริง หรือ การฝึกงานในองค์กรธุรกิจ 4) การประเมินความรู้ของบัณฑิตโดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต
1) สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง 2) สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ 3) สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน วิธีการสอน 1) ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง 2) จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่างๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา 3) สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น วิธีการประเมิน 1) ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง ที่ได้รับมอบหมาย 2) ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา 3) ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
1) ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง 2) จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่างๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา 3) สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
1) ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง ที่ได้รับมอบหมาย 2) ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา 3) ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 2) มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี 3) มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน 4) มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1) มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน 2) มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น 3) ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่างๆ
1) ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน 2) ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน 3) สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
1) มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง 2) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน 3) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
1) มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข 2) มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ 3) ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบรายงาน 4) มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
1) ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องเชิงสถิติและคณิตศาสตร์ 2) ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม 3) ประเมินจากการสอบข้อเขียน 4) ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลนีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 3 1 2 1 2 3 4 1. 2. 3.
1 BACAC135 การสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 ทดสอบกลางภาคเรียน ทดสอบปลายภาคเรียน ทดสอบย่อย 9 18 70%
2 2,3,4,5 งานที่มอบหมายในระหว่างเรียน งานกลุ่ม ทุกสัปดาห์ 20%
3 1,2,3,4,5 การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามข้อตกลง ทุกสัปดาห์ 10%
จรัสศรี  โนมี.เอกสารประกอบการสอนรายวิชา การสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่น.2565
นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร, การสอบบัญชี, กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วน ที พี เอ็น เพรส , 2563.
สมพงษ์  พรอุปถัมภ์.การสอบบัญชี.กรุงเทพมหานคร.ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2558
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์
http://www.fap.or.th 
มาตรฐานการสอบบัญชี.
Working papers Template (ตัวอย่างกระดาษทำการของผู้สอบบัญชี)
ข่าวสารด้านการสอบบัญชี, การปฏิบัติงาน
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะช่องออนไลน์  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์และงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง