การจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อการแข่งขัน

Strategic Management for Competition

1. เพื่อให้รู้กระบวนการวางแผนกลยุทธ์เพื่อการแข่งขัน 2. เพื่อเข้าใจการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ทันสมัยในยุคโลกาภิวัฒน์ 3. เพื่อเข้าใจวิธีการกำหนดกลยุทธ์ระดับต่าง ๆ 4.เพื่อให้รู้กระบวนการควบคุมและการประเมินผลกลยุทธ์ 5. เพื่อประยุกต์ความรู้กับกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลองได้  6. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในการที่จะนำไปประกอบอาชีพ และนำไปใช้ในชีวิตประจำได้
เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้เนื้อหาในรายวิชาที่มีความเหมาะสม ทันสมัย และสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
แนวคิดในการจัดการเชิงกลยุทธ์ กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ การกำหนดกลยุทธ์ในระดับต่าง ๆ ขององค์การ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และการควบคุมกลยุทธ์ แนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ทันสมัยในยุคโลกาภิวัฒน์  โดยใช้กรณีศึกษาประกอบการศึกษา
อาจารย์ประจำรายวิชา กำหนดและประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ, Facebook, E-mail, และในชั้นเรียน เป็นต้น
นักศึกษามีภาวะผูู้นํา มีความพอเพียงในการดําเนินชีวิต มีทักษะในการทํางานเป็นทีม สามารถ ปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผูู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของ ผูู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ดํารงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสํานึก สาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรมดังนั้น อาจารย์ที่สอนใน แต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมตามที่ ระบุไว้ดังนี้ (1) มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มี จิตสํานึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อ ตนเองและผู้อื่น (2) มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม้ไขข้อขัดแย้ง และลําดับความสําคัญ (5) มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพใน คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
มีการจัดกิจกรรมในรายวิชา เพื่อส่งเสริมใหนั้กศึกษามีจิตสาธารณะ บําเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม มีการสอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา รวมทั้งปลูกฝงัให้นักศึกษามี วินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงเวลา ส่งงานภายในเวลาที่กําหนด ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตาม ระเบียบของมหาวิทยาลัย และอธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน มี การมอบหมายงานกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นําและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วมและแสดงความ คิดเห็น รวมถึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทํา ประโยชน์ให้แก่ชุมชน
(1) ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ (2)ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม (3) ประเมินจากการเข้าเรียนตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย (4)สังเกตพฤติกรรมในการทํางานเป็นกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนําเสนอผลงาน (5) ปริมาณการกระทําทุจริตในการสอบ
1) ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ มีองค์ความรู้ในสาขาวิชาอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ ตระหนัก รู้หลักการและทฤษฎีใน องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องสําหรับหลักสูตรวิชาชีพ มีความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าของความรู้เฉพาะด้านใน สาขาวิชา และตระหนักถึงงานวิจัยในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและการต่อยอดองค์ความรู้ ส่วน หลักสูตรวิชาชีพที่เน้นการปฏิบัติ จะต้องตระหนักในธรรมเนียมปฏิบัติ กฎระเบียบ ข้อบังคับ ที่เปลี่ยนแปลง ตามสถานการณ์ นอกจากนี้ นักศึกษาต้องมีความรู้ในสาระสําคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญใน วิชาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่ เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข้งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดําเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการ นําเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชนมีทักษะในการทํางานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิง วิชาชีพ ตามที่ระบุไว้ดังนี้   (1) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สําคัญในเนื้อหาของ สาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง (2) มีความรู้และความเข้าใจในสาระสําคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช์ความรู์ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดํารงชีวิตประจําวัน (3) มีความรู้และความเข้าใจในสาระสําคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการ วางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดําเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุง แผนงาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ (4) มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมี ความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ และเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยมอบหมายให้ทํารายงาน โครงงาน และนําเสนอหน้าชั้นเรียน รวมถึงการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช์ความรู์ในการฝึกปฏิบัติใน สภาพแวดล้อมจริง นอกจากนั้นยังใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎี ควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง และการบรรยายในชั้นเรียน ถาม-ตอบ
(1) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน (2) รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนําความรู้ไปตอบ ในแบบทดสอบ (3) ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงหรือสถานการณ์จริง (4) ผลงานจากการค้นคว้าและการนําเสนอ (5) ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา (6) ประเมินจากการนําเสนอผลงาน (7) ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้านงานที่มอบหมายรายงานการทดสอบ ย่อยการนําเสนอรายงานการค้นคว้าหน้าชั้นเรียน 
1) ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา นักศึกษา ต้องสามารถค้นหาข้อเท็จจริง ทําความเข้าใจและสามารถประเมินข้อมูลแนวคิด และหลักฐานใหม่ ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อมูลที่ได้ในการแก้ไขปัญหาและงานอื่นๆ ด้วย ตนเอง สามารถศึกษาปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์โดย คํานึงถึงความรู้ทางทฤษฎี ประสบการณ์ทางภาคปฏิบัติ และผลกระทบจากการตัดสินใจ สามารถใช้ทักษะ และความเข้าใจอันถ่องแท้ในเนื้อหาสาระทางวิชาการและวิชาชีพ สําหรับหลักสูตรวิชาชีพ นักศึกษา สามารถใช้วิธีการปฏิบัติงานประจํา และหาแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ นักศึกษาต้องมีความรอบรู้ สามารถสืบค้นข้อมูล และข้อเท็จจริง ทําความ เข้าใจและสามารถประเมินข้อมูล แนวคิด และหลักฐานใหม่ ๆ ที่เป้นประโยชน์ต่อการใช้งานตาม สถานการณ์จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย สามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากทฤษฎีและประสบการณ์เพื่อคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ แก้ไขปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างมี เหตุผลตามที่ระบุไว้ดังนี้ (1) สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่งเพื่อ ใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วย ตนเอง (2) สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทําให้เกิดการได้เปรียบทางการ แข่งขันทางธุรกิจ (3) คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการ ความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป (4) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
(1) จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการ การเรียน การสอนกับการทํางาน (2) กรณีศึกษาทางการจัดการโครงงานงานวิจัยและกําหนดให้นักศึกษาวางแผนการ ทํางานเป็นทีม (3) การศึกษาค้นคว้าและรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน (4) การมอบหมายงานการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จําลอง  (5) จัดให้ในรายวิชามีกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
ประเมินจากการนําเสนอโครงงานรายงานผลการวิจัยอภิปรายกรณีศึกษาและประเมินจาก การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบโดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหาอธิบายแนวคิดการแก้ปัญหาและ วิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมา คําตอบเดียวจากกลุ่มคําตอบที่ให้มา รวมถึงประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
มีส่วนช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญหาในกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นผู้นําหรือสมาชิก ของกลุ่ม สามารถแสดงออกซึ่งภาวะผู้นําในสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจน และต้องใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ ในการ แก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม รับผิดชอบในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาตนเองและอาชีพ นอกจากนี้ นักศึกษาต้องมีความใฝ่รู้ มีความสามารถในการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาตนเองและอาชีพ สามารถ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ สามารถสรุปประเด็นปัญหา และบูรณา การความรู้สู่การปฏิบัติ สามารถช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและ ของกลุ่ม เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของเทคโนโลยีดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่ เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่าง ๆ ต่อไปนี้ในระหว่างการสอน (1) มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทํางานเป็ทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิง วิชาชีพได้ (2) มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็น ใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมใน ประเด็นที่เหมาะสม และพร้อมพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง (3) มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้ง ในบทบาทของผู้นําและในบทบาทของผู้ร่วมทีมทํางาน 
(1) ใช้การสอนโดยสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดี ของวัฒนธรรมต่าง ๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง (2) จัดให้นักศึกษาได้ทํากิจกรรมเป็นกลุ่มโดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นําและผู้ ตาม (3) จัดให้นักศึกษาได้ทํากิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการ อภิปรายเพื่อหาข้อสรุป (4) มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งภายใน สถาบันการศึกษาและภายนอกสถาบันการศึกษา (5) มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทํางาน
(1) การทดสอบย่อยกลางภาคและปลายภาค (2) ประเมินจากพฤติกรรมการทํากิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา (3) ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา (4) สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง (Brainstorming) (5) ใช้ผลการประเมินจากการฝึกงานและการทําสหกิจศึกษา
สามารถศึกษาและทําความเข้าใจในประเด็นปัญหา สามารถเลือกและประยุกต์ใช้เทคนิค ทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการศึกษาค้นคว้า และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไข ปัญหา ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล แปลความหมาย และนําเสนอข้อมูล สารสนเทศอย่างสมํ่าเสมอ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในการพูด การเขียน สามารถเลือกใช้ รูปแบบของการนําเสนอที่เหมาะสมสําหรับกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกันได้ นอกจากนี้ นักศึกษาต้องมีความรู้ในสาระสําคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญใน วิชาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่ เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดําเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการ นําเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน (1) สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการ วิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจําวัน (2) สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนําเสนอด้วยวาจาที่ เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ (3) สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จําเป็นต่อการทําธุรกิจได้อย่างมี ประสิทธิภาพ (4) สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนําเทคโนโลยีไปใช้ สนับสนุนการดําเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(1) สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร (2) มีการนําเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) ส่งเสริมการค้นคว้าเรียบเรียงข้อมูลและนําเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ ความสําคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล (4) ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข (5) บูรณาการการใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่าย และซอฟท์แวร์หรือสื่อต่าง ๆ ในทุกรายวิชาที่ สามารถทําได
(1) การทดสอบย่อยกลางภาคและปลายภาค (2) ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนําเสนอด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม (3) ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (4) ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน 
1) ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on) บัณฑิตแสดงออกถึงทักษะในการนําความรู้มาบูรณาการกับการปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องและ เที่ยงตรง มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้มาแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาตนเอง องค์กร ชุมชนและสังคม สามารถปรับตัวให้เข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทํางาน และสังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่าง เหมาะสม (1) สามารถปฏิบัติงานโดยนําองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม (2) สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็น แนวทางในการดําเนินงานเพื่อสนับสนุนการดําเนินงานของธุรกิจ นํามาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจน พัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง (3) สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทํางาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่าง เหมาะสม และมีความพอเพียงในการดําเนินชีวิต (4) สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อยาางเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณา การได้ด้วยการคิด
2) กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมือ อาชีพ (Hands-on) (1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จําลอง หรือ สถานการณ์เสมือนจริง และนําเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม (2) จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ บําเพ็ญประโยชน์ต่อ สังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม (3) จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการ วางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดําเนินงาน รวมทั้งการ ปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ (4) จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการการเรียน การสอนกับการทํางาน (5) จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคม ร่วมกับอาจารย์และ ผู้เกี่ยวข้อง  (6) จัดกิจกรรมที่ให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารใน สถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
(1) ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจําลอง หรือสถานการณ์จริง และ ความสามารถในการนําเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม (2) พฤติกรรมที่แสดงออก ในการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม (3) พฤติกรรมที่แสดงออกจากการเข้าฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการ ตามหลัก บูรณาการ การเรียนการสอนกับการทํางาน (4) การนําเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆ เพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม (5) นักศึกษาสามารถใช้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจใน สถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงจตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการปฺบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4
1 BBABA251 การจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อการแข่งขัน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3.1,3.3.1, 4.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 17 25% 25%
2 1.3.2,2.3.2, 3.3.2,4.3.2, 4.3.3,5.3.1, 5.3.2 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้าแล้วนำเสนอการทำงานเป็นกลุ่ม การอภิปรายกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.2, 2.2, 3.2, 4.2, 5.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน และแบบฝึกหัด ตลอดภาคการศึกษา 10% 10%
อําพล นววงศ์เสถียร. (2562). การจัดการเชิงกลยุทธ์ การแสวงหาความได้เปรียบในการแข่งขัน. วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก, กรุงเทพมหานคร.จัดพิมพ์ครั ้งที่ 5 (ปรับปรุงใหม่) มิถุนายน 2562
ไพโรจน์ ปิยะวงศ์วัฒนา. (2561). การจัดการเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร. จัดพิมพ์ครั้งที่ 6. องค์การและการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Organization and management and strategic management). 2553. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (พิมพ์ครั้งที่ 1) ตระกูล จิตวัฒนากร. 2550. เอกสารประกอบการสอนวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic management). กรุงเทพมหานคร พิบูล ทีปะปาล และ ธนวัฒน์ ทีปะปาล. 2559. การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic management. อมรการพิมพ์. กรุงเทพมหานคร. วิเชียร วิทยอุดม. การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : ธนธัชการพิมพ์, 2553.    
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : อัมรินทร์บุค์เซ็นเตอร์, 2551.    
เสนาะ ติเยาว์. การบริหารกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2546.    
ณัฐยา สินตระการผล. การจัดการเชิงกลยุทธ์ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : ธรรกมลการพิมพ์, 2553.    
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : วีพริ้นท์(1991), 2552.
 - 
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา ตัวอย่างกรณีศึกษา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา  3. ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด, ออนไลน์ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
 
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา  2.3  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ 2.4 รายงานผลการค้นคว้าจากงานที่ได้รับมอบหมาย 2.5 การนำเสนอผลงานของนักศึกษา การให้ข้อเสนอแนะและการตอบคำถามของนักศึกษา 2.6 การประเมินผลการอภิปรายกลุ่ม 2.7 การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1 การประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา การประเมินการสอนของตนเองและสรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดการสอน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป 3.2 การปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชา เพื่อพัฒนารูปแบบ วิธีการเรียนการสอน และวิธีการฝึกการวิเคราะห์ 3.3 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะ นำข้อคิดเห็นของนักศึกษามาประมวล เพื่อปรับปรุงเนื้อหาและการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป นำผลการประเมินการสอนของตนเองมาจัดเทียบเคียงกับข้อคิดเห็นของนักศึกษา เพื่อพัฒนาเนื้อหาสาระให้ทันสมัย ปรับวิธีการเรียนการสอน และวิธีการประเมินผลให้ตรงกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง