องค์ประกอบศิลป์ร่วมสมัย

Contemporary Composition

1. มีความรู้ทางทฤษฎี เรียนรู้หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ในลักษณะต่างๆเพื่อสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติได้ 

2. มีความเข้าใจกระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย ผ่านการใช้หลักการทางองค์ประกอบศิลป์

3. สามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย ผ่านรูปแบบ เทคนิค การใช้สัญลักษณ์ และสื่อความคิดส่วนตนโดยอาศัยความรู้ทางองค์ประกอบทางศิลปะ

4. เห็นคุณค่าและความสำคัญของการสร้างสรรค์ โดยใช้หลักการทางองค์ประกอบศิลป์และรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
เพื่อให้นักศึกษาใช้ความรู้ในการเรียนวิชาองค์ประกอบศิลป์นำมาสร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัยได้ พร้อมทั้งศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ปฏิบัติงานศิลปะอันมีรูปแบบและลักษณะเฉพาะวิธีการลักษณะต่างๆ รวมถึงการฝึกการคิดวิเคราะห์ การสร้างสรรค์ศิลปะที่มีเนื้อหา และรูปแบบการสร้างสรรค์ ผ่านสัญลักษณ์ใหม่ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาการในการนำเสนอผลงานที่มีลักษณะเฉพาะตน รวมทั้งสามารถกระตุ้นให้นักศึกษานำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนในรูปแบบที่หลากหลคายได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้จึงมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงรายวิชาให้สอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบันมากขึ้น
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับองค์ประกอบศิลป์ในศิลปะร่วมสมัย โดยมีความรู้เรื่อง การแทนค่าทางทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบลักษณะต่างๆ การใช้ สัญลักษณ์ใหม่ๆเพื่อให้การสร้างสรรค์ศิลปะมีความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิค รูปแบบ และเนื้อหาแนวคิด สามารถน าไปสู่การสร้างงานศิลปะที่มีความงาม ความลงตัวได้
     1. ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม
         (1) ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
         (2) มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
         (3) มีจิตอาสา จิตส านึกสาธารณะ
      2. กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
             สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรม ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา สอนให้มี ระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
      3. กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
              ประเมินจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ใน ทุกวิชา ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และ ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
1. ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
    (1) รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตรอื่นที่เกี่ยวข้อง
    (2) มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรม ศาสตร์อย่างเป็นระบบ
    (4) มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบ วิชาชีพด้านศิลปกรรม ศาสตรในสาขาวิชาที่ศึกษา
          2. กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้ ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและ การประยุกต์ใช้ในการปฎิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของ รายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดย การศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึก ประสบการณ์หรือฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
        3. กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้
                    ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ
                            (1) การทดสอบย่อย
                            (2) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
                            (4) ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
                            (5) ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
                          
       1.ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
             (1) สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน
             (2) สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่าง สร้างสรรค์
             (4) มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
          2. กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
                    ใช้กรณีศึกษา การจัดทำโครงงาน หรือการจัดทำศิลปนิพนธ์ การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล การนำเสนองาน โดยอภิปราย เดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
         3. กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
                ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน การปฏิบัติงานของนักศึกษา และการ นำเสนองาน
       1. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ
              (1) มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และ มนุษยสัมพันธ์ที่ดี                  (2) มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
        2. กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ             
                สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม การเคารพสิทธิและการยอมรับ ความคิดเห็นของผู้อื่น การประสานงานกับบุคคลภายนอก การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
        3. กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ
                ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียนและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
       1. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 
              (1) สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              (2) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการ สร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       2. กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิง ตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยี สารสนเทศ ให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูล การนำเสนอที่เหมาะสมกับสภาพของผู้สื่อสาร
         3. กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การ สื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                  ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข การเลือกใช้เครื่องมือ ทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม ประเมินจากการอธิบาย การนำเสนอ
     1. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
             สามารถใช้ทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ในการสร้างสรรค์ผลงานของตน
        2. กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
               ใช้วิธีการสอนด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษา โครงงานและศิลปนิพนธ์ สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
        3. กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
                ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา (1) ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม (2) มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น (3) มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ (4) มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบ วิชาชีพด้านศิลปกรรม ศาสตรในสาขาวิชาที่ศึกษา (1) รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตรอื่นที่เกี่ยวข้อง (2) มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ (1) สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน (2) สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่าง สร้างสรรค์ (4) มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน (1) มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และ มนุษยสัมพันธ์ที่ดี (2) มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น อย่างมีประสิทธิภาพ (1) สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ (2) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (1) สามารถใช้ทักษะปฏิบัติทางศิลปกรรมศาสตร์ในการสร้างสรรค์ผลงานของตน
1 BFAVA176 องค์ประกอบศิลป์ร่วมสมัย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล