ภาษาจีนในชีวิตประจำวัน

Chinese for Everyday Use

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1. เพื่อฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน และการออกเสียงในระบบสัทอักษรภาษาจีน 2. เพื่อฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน และการออกเสียงคำศัพท์ 3 เพื่อฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน และการออกเสียงประโยคพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
 
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนาปรับปรุงรายวิชา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาจีนในชีวิตประจำวัน และเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาเพื่อเรียนภาษาจีนในระดับสูงต่อไป โดยจะเน้นทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทต่างๆ ในสังคม
1. คำอธิบายรายวิชา
ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน และการออกเสียงในระบบสัทอักษรภาษาจีน คำศัพท์และประโยคพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน Listening, speaking, reading, writing skills, and pronunciation of Chinese phonetics system; Chinese vocabulary and basic sentence for everyday use
3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
อาจารย์ประจำรายวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการทุกวันพุธ เวลา 15.00 – 17.00 น. ห้องพักอาจารย์สาขาศิลปศาสตร์ หรือ จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1. คุณธรรม จริยธรรม 1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม นักศึกษาเข้าใจและสามารถแสดงออกซึ่งพฤติกรรมทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม อาทิความมีวินัย มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ เป็นแบบอย่างที่ดี และสามารถจัดการปัญหาโดยมีพื้นฐานทางคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาวิชาชีพ โดยนักศึกษาจะมีคุณสมบัติดังนี้ 1.1.1 มีทัศนคติที่ดี เคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ 1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และปฎิบัติตามวัฒนธรรมองค์กรที่ดี  1.13 มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.1.4 มีจิตสาธารณะในการทำคุณประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม 1.1.5 มีความซื่อสัตย์ สุจริต และมีจรรยาวิชาการและวิชาชีพ
1.2 วิธีการสอน
1.2.1 สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา    1.2.2 จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม   1.2.3 สร้างวัฒนธรรมองค์กร โดยมีผู้สอนเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีจรรยาวิชาการและวิชาชีพ  1.2.4 ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในมหสวิทยาลัยและชุมชน เพื่อเรียนรู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกของกลุ่มเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1 สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธ่ารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.3.2 บันทึกและติดตามการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด ระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรม 1.3.3 การประเมินตนเอง และการประเมินโดยเพื่อนร่วมชั้นเรียน 1.3.4 ประเมินผลงานโดยตรวจสอบการคัดลอกผลงานการเขียนทางวิชาการ
2. ความรู้ 2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
2.1.1 จดจำและออกเสียงภาษาอังกฤษและ/หรือภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน) ได้อย่างถูกต้อง  2.1.2 วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของคำ วลี และประโยคได้ 2.1.3 เปรียบเทียบการใช้ภาษาอังกฤษในวัฒนธรรมที่หลากหลายได้ 2.1.4 แปลความภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ 2.1.5 สรุปใจความและประเด็นสำคัญจากสิ่งที่ฟังและอ่านได้ถูกต้อง 2.1.6 ตีความ วิเคราะห์ วิจารณ์ และแสดงความคิดเห็นด้านภาษาและวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ 2.1.7 ประเมินความเหมาะสมของการใช้วัจนภาษา และอวัจนภาษาเพื่อการสื่อสารในบริบทวัฒนธรรมข้ามชาติได้
2.2 วิธีการสอน
2.2.1 จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ 2.2.2 จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและสถานการณ์จำลอง 2.2.3 จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยการศึกษาดูงาน หรือการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเป็นวิทยากรให้ความรู้ 2.2.4 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป 2.2.5 ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า หาความรู้ และการเรียนรู้ออนไลน์ในแบบต่าง ๆ 2.2.6 สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันด้านทักษะและความสามารถภาษาอังกฤษ ตลอดจนกิจกรรมการแลกเปลี่ยนนักศึกษานานาชาติ
2.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยใช้การสอยข้อเขียน และการสอบปากเปล่า 2.3.2 ทดสอบย่อยและการสอบปฎิบัติตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในรายวิชา 2.3.3 สังเกตจากการอภิปรายกลุ่มและแสดงความคิดเห็น
3.1. ทักษะทางปัญญา 3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.1.1 มีทักษะในการปฎิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ 3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนตามวัฒนธรรมสากล 3.1.3 มีทักษะในการประยุกต์ใช้ภาษามาวิเคราะห์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล และสามารถแก้ปัญหาอย่างมีระบบ
3.2 วิธีการสอน
3.2.1 จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ฝึกปฎิบัติผ่านทางบทบาทสมมุติในสถานการณ์จำลอง 3.2.2 การระดมสมองและอภิปรายโต้แย้งในหัวข้อที่กำหนด 3.2.3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาตามแนว Constructivism (การสร้างความรู้ด้วยตนเอง) เช่น การเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน และกรบวนการคิดเชิงออกแบบ 3.2.4 จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและผลการปฎิบัติของนักศึกษา 3.3.2 ประเมินและติดตามกระบวนการปฎิบัติงาน 3.3.3 จัดการสัมมนา การอภิปรายกลุ่มและแสดงความคิดเห็น 3.3.4 การประเมินตนเอง และการประเมินโดยเพื่อนร่วมชั้นเรียน 3.3.5 การประเมินตนเองโดยการสะท้อนคิดของผู้เรียน เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือคณาจารย์
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1 มีความสามารถเป็นทีม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม  4.1.2 ประมวลทักษะและองค์ความรู้ด้านภาษาอังกฤษเพื่อนำมาใช้ในการทำงานของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ 4.1.3 ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสังคมข้ามวัฒนธรรม 
4.2 วิธีการสอน
4.2.1 สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่าง ๆ ในเนื้อหารายวิชา 4.2.2 จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มในรายวิชา มุ่งเน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือกันโดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม 4.2.3 ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆทั้งภายในมหาวิทยาลัยและบริการชุมชน เพื่อเรียนรู้กระบวนการกลุ่ม ทักษะสัมพันธ์ ภสวะผู้นำ ให้เกียรติ ตระหนักถึงหน้าที่และสิทธิของมนุษย์   4.2.4 ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติ 
4.3 วิธีการประเมินผล
4.3.1 สังเกตพฤติกรรมและบทบาทของนักศึกษาในกระบวนการกลุ่ม 4.3.2 ประเมินและติดตามกระบวนการเรียนรู้ 4.3.3 การสะท้อนคิดต่อกระบวนการกลุ่ม 4.3.4 การประเมินตนเอง และการประเมินโดยเพื่อน
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และคุณภาพอย่างถูกต้อง 5.1.2 นำเสนอข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.1.3 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้านภาษาอังกฤษอย่างเหมาะสม  5.1.4 ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมตามกาลเทศะของบริบทวัฒนธรรมข้ามชาติ และวัฒนธรรมนานาชาติ
5.2 วิธีการสอน
5.2.1 สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงาน 5.2.2 มอบหมายงานให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้น ศึกษารวบรวม วิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูล ตลอดจนการนำเสนองานและการทำรายงาน 5.2.3 ประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และทำงานด้านภาษาอังกฤษอย่างเหมาะสม 5.2.4 แนะนำแหล่งเรียนรู้ออนไลน์และนอกห้องเรียนเพื่อเสริมทักษะภาาา ตัวเลข และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามความสนใจและความต้องการของนักศึกษา 5.2.5 จัดการเรียนการสอน และกิจกรรมออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ
5.3 วิธีการประเมินผล
5.3.1 การประเมินผลงาน รายงาน และการนำเสนองาน 5.3.2 สอบย่อยตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา 5.3.3 กลางภาคและปลายภาค โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสอบปากเปล่า 5.3.4 มีเกณฑ์การประเมินผลการเรียนในรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์
6. ด้านทักษะในการปฎิบัติงาน 6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
6.1.1 ปรับตัวเข้าสู่สังคมการทำงานในบริบทข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม 6.1.2 ปฎิบัติงานโดยยึดจรรยาบรรณวิชาชีพ 6.1.3 ประยุกต์ความรู้และประสบการณ์มาใช้ในการปฎิบัติงานในระดับสากล 
6.2 วิธีการสอน
6.2.1 สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มในการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้อง หน้าที่ ความรับผิดชอบ คุณสมบัติและแนวปฎิบัติที่ดีในจรรยาบรรณวิชาชีพ ในรายวิชา 6.2.2 จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้นักศึกษาได้ฝึกปฎิบัติงานจริง 6.2.3 จัดอบรม สัมมนา และกิจกรรมเตรียมความพร้อมในการทำงาน ก่อนนักศึกษาเข้าร่วมสหกิจศึกษาและฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพ 6.2.4 แนะนำแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองออนไลน์
6.3 วิธีการประเมินผล
6.3.1 ประเมินและติดตามกระบวนการปฎิบัติงาน 6.3.2 ประเมินผลงานโดยอาจารย์นิเทศ  6.3.3 ประเมินการปฎิบัติงานจากสถานประกอบการ   6.3.4 การสะท้อนคิดและการประเมินตนเอง 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา
1 BOAEC167 ภาษาจีนในชีวิตประจำวัน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้ กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล 1 2.1.1/ 2.1.2/ 2.1.5 - ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 - ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 - สอบกลางภาค - ทดสอบย่อยครั้งที่ 3 - สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 5 สัปดาห์ที่ 7 สัปดาห์ที่ 9 สัปดาห์ที่ 12 สัปดาห์ที่ 17 10% 10% 15% 10% 15% 2 1.1.2/ 1.1.5 สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม การตรงต่อเวลา การส่งงานตามกำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10% 3 4.1.3/ 5.1.4 งานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก
荣继华.  发展汉语初级综合(I). 北京语言大学出版社(第2版).  
2. เอกสาร และข้อมูลสำคัญ
3. เอกสาร และข้อมูลแนะนำ
 
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินผลของรายวิชาโดยนักศึกษากระทำโดย - การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินอาจารย์ และแบบประเมินรายวิชา - การสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา - การสนทนากลุ่ม - ข้อเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษาเพื่อนำไปปรับปรุงรายวิชาต่อไป
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้ - สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน - สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน - ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจในเนื้อหา - ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
3. การปรับปรุงการสอน
การปรับปรุงการสอนในรายวิชา กระทำโดย - ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับกับระดับของผู้เรียน - สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียน และปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม (โดยเน้นกิจกรรมในลักษณะของงานกลุ่ม) - สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้ง เพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป - การทำวิจัยในชั้นเรียน
4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดในลักษณะของงานกลุ่ม การสอบพูดรายบุคล โดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้า หรือไม่มีการพัฒนา จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้น หรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
5. การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
- ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน ตามที่ได้ทดสอบไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก - มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ และความน่าสนใจ - ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลาย และสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียน ตามที่ได้สำรวจไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก - ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษา และของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาในการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี